พระพิราพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิราพ - พระ (อสูรเทพบุตร)
[แก้] ลักษณะและสี
พระพิราพ ลักษณะคือ หน้ากางคางออก เรียกว่าหน้าจาวตาล สีม่วงแก่ หรือสีน้ำรัก หรือสีทอง ปากแสยะ ตาจระเข้ เขี้ยวทู่หรือเขี้ยวตัด หัวโล้น สวมกะบังหน้า ตอนทรงเครื่องสวมมงกุฎยอดเดินหน กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มีกายเป็นวงทักขิณาวัฎ
พระพิราพ เป็นครูสูงสุดทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์
โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้น เป็นภาคหนึ่งของพระอิศวร ซึ่งในคติดั่งเดิมเรียกพระองค์ว่าพระไภรวะ หรือไภราวะ หรือพระไภราพ
เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยเรานับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลายรวมไปถึงพระไภรวะจึงติดตามมาด้วย
แต่เมื่อเข้ามาในไทยเราแล้วมีการเรียกนามพระองค์เพี้ยนไปจากเดิมเป็นพระพิราพ
คติการนับถือพระพิราพกับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาแต่สมัยกรุศรีอยุธยา
และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในราวรัชกาลที่ ๒
พระพิราพถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร และเป็นมหาเทพ(ศิวะอวตาร)
แต่เนื่องจากนามของพระองค์คล้ายคลึงกับตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่มมีลักษณะเป็นยักษ์เช่นกันคือยักษ์วิราธ และนิยมเรียกเพี้ยนเป็นยักษ์พิราพ ทำให้บรมครูสูงสุดกับตัวละครตัวนี้เกิดความสับสนปนเปกัน
ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของพระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ในปัจจุบันนี้คติการนับถือพระพิราพแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์หลายสำนักนิยมนำพระองค์มาสร้างเป็นวัตถุมงคล ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเผยแพร่ครูบาอาจารย์ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ผู้บูชาจึงควรศึกษาประวัติของท่านให้ถ่องแท้ด้วย
ศึกษาเพิ่มเติมและรูปต่างๆ ได้ที่ http://www.monnut.com
|
|
---|---|
ฉบับ | ฉบับบทละครพระราชนิพนธ์ • ฉบับบทพากย์กรุงเก่า • จิตรกรรมฝาผนัง • ฉบับการ์ตูน |
ตัวละครฝ่ายมนุษย์ | พระราม • พระลักษมณ์ • พระพรต • พระสัตรุด • นางสีดา • พระมงกุฎ พระลบ • ท้าวอโนมาตัน |
ตัวละครฝ่ายยักษ์ | ทศกัณฐ์ • กุมภกรรณ • ไมยราพณ์ • อินทรชิต • สหัสเดชะ • ท้าวลัสเตียน • มังกรกัณฐ์ • พิเภก • รามสูร • นางสำมะนักขา • นางเบญกาย • นางมณโฑ |
ตัวละครฝ่ายลิง | พาลี • สุครีพ • หนุมาน • องคต • ชมพูพาน • นิลนนท์ • นิลพัท |
พระพิราพ เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณคดี วรรณกรรม หรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระพิราพ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ |