ปิยะสกล สกลสัตยาทร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์คลินิก นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร (9 กรกฎาคม 2491 -) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์และอุบัติเหตุ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล คนปัจจุบัน โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2550 ในปีแรกที่มหาวิทยาลัยมหิดลออกนอกระบบ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการนำมหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งสู่การติดอันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยโลก เป็นคณบดีคนที่ 15 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อเนื่อง 2 สมัย (พ.ศ. 2543-2550) ได้ถวายงานเป็นแพทย์อาสา ตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 26 ปี
ศ.คลินิก นพ. ปิยะสกล เป็นบุตรของหลวงสกลสัตยาทร สมรสกับ พญ. สมสิริ สกลสัตยาทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช มีบุตรธิดาจำนวน 3 คน คือ นายสืบสกล นางสาวสรัลธร และ พญ. ณัฎฐา สกลสัตยาทร
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
[แก้] การศึกษา
- จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2514
- ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ จากแพทยสภา เมื่อปี พ.ศ. 2518
- ผ่านการอบรม Fellowship Training สาขา Critical Care Medicine จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 และสาขา Injury Epidemiology เมื่อปี พ.ศ. 2531 จาก Centers for Disease Control, เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
- สำเร็จหลักสูตร วปอ. จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2538
[แก้] ประวัติการทำงาน
ตำแหน่งวิชาการ
- เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518
- ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งบริหาร
- พ.ศ. 2543-2550 - คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน - อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งบริหารในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน - รองประธานมูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการมูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - รองประธานกรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ คนที่ 2
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต
- พ.ศ. 2532 - เลขาธิการสมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2532-2534 - รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2534-2538 - เลขานุการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534-2538 - รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534-2540 - อนุกรรมการสอบเพื่อวุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทั่วไป ของแพทยสภา
- พ.ศ. 2539-2541 - รองคณบดีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพงานและทรัพย์สิน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2539-2541 - อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช
- พ.ศ. 2541 - เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548-2549 - คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
- พ.ศ. 2548-2549 - ประธานคณะกรรมการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2524 - ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ตช.)
- พ.ศ. 2526 - ทวีติยาภรณ์มุงกุฎไทย (ทม.)
- พ.ศ. 2531 - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ทช.)
- พ.ศ. 2534 - ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ตจว.)
- พ.ศ. 2534 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ปม.)
- พ.ศ. 2537 - ทุติยจุลจอมเกล้า (ทจ.)
- พ.ศ. 2537 - ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ปช.)
- พ.ศ. 2542 - ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ทจว.)
- พ.ศ. 2542 - มหาวชิรมงกุฎ (มวม.)
- พ.ศ. 2543 - เหรียญจักรพรรดิมาลา (รจพ.)
[แก้] หลักในการบริหารและการทำงาน
- ในการทำงาน ควร "Think big, but start small" หมายความว่า มีจุดมุ่งหวังที่ยิ่งใหญ่ แต่ควรค่อยๆ ทำไปทีละน้อย โดยสร้างความสำเร็จไปในระหว่างทางให้เห็นชัดเจน ซึ่งจะทำให้เพื่อนร่วมงานมีกำลังใจ
- "คนนั้นคือทุกสิ่ง" หมายความว่า บุคคลคือปัจจัยสูงสุดที่จะมีผลต่อความสำเร็จขององค์กร สนับสนุนบุคลากรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าควบคุม แต่นำไป ประคับประคองกันไปตามทางสู่ความสำเร็จ ทุกคนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของทีม และต้องมั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
- เป็นผู้ฟังที่ดี เพราะการเป็นผู้ฟังที่ดี จะได้ยินเสียงแห่งความจริงจากผู้ร่วมงานและจากภายนอก
- "แสงเทียนที่ส่องสว่างในมือของเรานั้น ได้มาจากคบไฟในมือของผู้อื่น"
- เคารพในคุณค่าของกันและกัน
- เป็นผู้ให้
- กล้าตัดสินใจ ปัญหาไม่ควรปล่อยให้ค้างคา "There is a solution for every problem" ส่วนใหญ่แล้วกาลเวลาไม่สามารถแก้ปัญหาได้
- "ดำเนินการให้สำเร็จ" เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของผู้นำ วิธีการที่จะดำเนินการให้สำเร็จคือ หยุดพูดและเริ่มลงมือทำ
- การบริหารคน ต้องบริหารใจตนเองก่อน
- รักความดี แต่อย่ารักคนทำความดี แกลียดความชั่ว แต่อย่าเกลียดคนทำความชั่ว
[แก้] อ้างอิง
- สรนิต ศิลธรรม และคณะ. ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร 2543-2550 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คือความภาคภูมิใจของชาวศิริราช. [กรุงเทพฯ] : แปลนพริ้นติ้ง, 2550.