น้อยหน่า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักร | Plantae |
ส่วน | Magnoliophyta |
ชั้น | Magnoliopsida |
อันดับ | Magnoliales |
วงศ์ | Annonaceae |
สกุล | Annona |
สปีชีส์ | A. squamosa |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | 'Annona squamosa' L. |
น้อยหน่า (อังกฤษ:Sugar apple ;ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa Linn.) ชื่ออื่น ๆ หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ลาหนัง(ปัตตานี), มะนอแน่, มะแน่(เหนือ), หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ), เตียบ(เขมร) เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ
[แก้] สรรพคุณ
ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าสามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
- นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
- นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และ แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม
ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
ผล ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู [1]
[แก้] อ้างอิง
น้อยหน่า เป็นบทความเกี่ยวกับ พืช ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ น้อยหน่า ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พรรณพฤกษา |