ทองหลางลาย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ | 'Erythrina variegata Linn.' |
ทองหลางลาย เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 ซ.ม.
- ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata Linn.
- วงศ์ LEGUMINOSAE
- ชื่ออื่น ทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ) , ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย, ปาริชาต (กรุงเทพฯ)
- ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อนและอบอุ่น
- สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง
- การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด และปักชำ
[แก้] เกร็ด
- ทองหลางลาย เป็นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและมหาวิทยาลัยทักษิณ
[แก้] อ้างอิง
บทความนี้ นำข้อความบางส่วนมาจากเว็บไซต์หรือสื่ออื่น ทองหลางลาย ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์หรือสื่อดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์
ทองหลางลาย เป็นบทความเกี่ยวกับ พืช ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ทองหลางลาย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พรรณพฤกษา |