See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ทหารรักษาพระองค์ - วิกิพีเดีย

ทหารรักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ร.1 รอ. ขณะตั้งแถวกองรักษาการณ์เฉพาะกิจเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง
ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ร.1 รอ. ขณะตั้งแถวกองรักษาการณ์เฉพาะกิจเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง

ทหารรักษาพระองค์ คือ หน่วยทหารที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์โดยใกล้ชิด เฉพาะกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เนื่องด้วยเป็นหน่วยที่ถวายการรับใช้ต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดที่สุด (คำว่า "ราชวัลลภ" นี้ แปลได้ว่า ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

การแต่งกายของทหารรักษาพระองค์เมื่อแรกตั้ง
การแต่งกายของทหารรักษาพระองค์เมื่อแรกตั้ง

กิจการทหารรักษาพระองค์และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับกรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี 12 คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า มหาดเล็กเหล่านี้เอง (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”) คือจุดเริ่มต้นของกิจการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของไทย

ปลายปี พ.ศ. 2411 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกผ่านพ้นไปแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิมจำนวน 24 คน ตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารอีกหน่วยหนึ่ง เรียกว่า “ทหารสองโหล ถือปืนชไนเดอร์” มีหน้าที่เฝ้าพระฉากตามเดิมแต่ในตอนเช้าและตอนเย็น ต้องมารับการฝึกทหาร

พ.ศ. 2413 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็ก ทำการคัดเลือกบรรดาบุตรในราชตระกูล และบุตรข้าราชการที่เป็นทหารมหาดเล็ก เพื่อจัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด และตามเสด็จในเวลาเสด็จประพาสหัวเมือง ในชั้นนี้คัดเลือกไว้ 48 คน เมื่อรวมทหารมหาดเล็ก 2 โหลเดิมด้วยแล้ว จึงมีทหารมหาดเล็กทั้งหมด 72 คน

เมื่อการปฏิบัติหน้าที่กว้างขวางขึ้น จำนวนทหารที่มีอยู่เดิมจึงมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทหารเพิ่มขึ้น ในการนี้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี(แสง ชูโต) ได้นำบุตรชาย คือ นายเจิม ชูโต (ต่อมาคือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจิม แสง-ชูโต) เข้าถวายตัวเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยสมัครเป็นตัวอย่างคนแรก (เนื่องจากสมัยนั้นคนไทยไม่นิยมเป็นทหาร) ทำให้มีจำนวนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และที่เป็นเด็ก เพราะทุกคนต่างก็เห็นและรู้สึกเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลในการที่บุตรหลานของตนได้เข้ารับราชการใกล้ชิดพระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เด็มยศกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามเหล่าทหารรักษาพระองค์ เนื่องในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เด็มยศกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามเหล่าทหารรักษาพระองค์ เนื่องในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารดังกล่าวขึ้นเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมด้วยพระองค์เอง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนมั่นคงดีขึ้น และได้ทรงขนานนามหน่วยนี้เสียใหม่ว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2414 (ปัจจุบันหน่วยทหารนี้คือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์)

หน่วยทหารรักษาพระองค์ได้มีวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับจากต้นกำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาจึงมีการก่อตั้งหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่เป็นหน่วยรบจากเหล่าต่างๆ เช่น ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกองพัน และหน่วยบังคับบัญชาของหน่วยนั้นในระดับกรมมักจะตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง แต่ก็มีบางหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่นอกกรุงเทพมหานคร เช่น กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

[แก้] ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธงชัยเฉลิมพล

ปกติหน่วยทหารรักษาพระองค์จะมีธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยเป็นพื้นสีธงชาติ ตรงกลางมีรูปตราประจำเหล่าทัพของตนเองเหมือนกับหน่วยทหารทั่วไป แต่สำหรับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์บางหน่วยจะมีธงชัยเฉลิมพลพิเศษสำหรับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์โดยเฉพาะ ธงนี้มีลักษณะคล้ายกับธงชัยเฉลิมพลปกติ เว้นแต่ว่าตรงกลางธงเป็นรูปช้างเผือกในกรอบสีเหลี่ยมสีแดง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี พ.ศ. 2496 และพระราชทานแก่หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 โดยหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานธงหน่วยแรกคือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

[แก้] หน่วยทหารรักษาพระองค์ในประเทศไทย

ปัจจุบันกองทัพไทยมีหน่วยทหารรักษาพระองค์ทั้งสิ้น 69 หน่วย (พ.ศ. 2550) ส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดกองทัพบกและเป็นเหล่าทหารราบ

[แก้] กองทัพบก

หน่วยทหารรักษาพระองค์ของกองทัพบกมีดังนี้

เหล่าทหาร/ระดับ กองพล กรม กองพัน รวม
ราบ 2 6 19 27
ม้า 1 3 11 15
ปืนใหญ่ (รวม ปตอ.) - 2 8 10
ช่าง - 1 2 3
สื่อสาร - - 2 2
ขนส่ง - 1 - 1
นักเรียนนายร้อย - 1 - 1
รวม 3 14 42 59

[แก้] เหล่านักเรียนนายร้อย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเครื่องในฉลองพระองค์ทหารรักษาพระองค์ สังกัด กรม นนร.รอ. รร.จปร.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเครื่องในฉลองพระองค์ทหารรักษาพระองค์ สังกัด กรม นนร.รอ. รร.จปร.

[แก้] เหล่าทหารราบ

[แก้] เหล่าทหารม้า

การสวนสนามของ ม.พัน.29 รอ. ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี พ.ศ. 2549
การสวนสนามของ ม.พัน.29 รอ. ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี พ.ศ. 2549

[แก้] เหล่าทหารปืนใหญ่

ทหารปืนใหญ่สังกัดป.พัน 1 รอ. ปฏิบัติหน้าที่ยิงสลุตถวายพระพร 21 นัด ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549
ทหารปืนใหญ่สังกัดป.พัน 1 รอ. ปฏิบัติหน้าที่ยิงสลุตถวายพระพร 21 นัด ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์
    • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์
  • กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

[แก้] เหล่าทหารช่าง

[แก้] เหล่าทหารสื่อสาร

[แก้] เหล่าทหารขนส่ง

  • กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์

[แก้] กองทัพเรือ

ทหารรักษาพระองค์สังกัด กรม นนร.รอ. รร.นร.
ทหารรักษาพระองค์สังกัด กรม นนร.รอ. รร.นร.

กองทัพเรือมีหน่วยทหารรักษาพระองค์รวม 3 หน่วย คือ

[แก้] กองทัพอากาศ

ทหารรักษาพระองค์ นรอ.รอ. รร.นอ. ในพิธีถวายสัตย์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2549
ทหารรักษาพระองค์ นรอ.รอ. รร.นอ. ในพิธีถวายสัตย์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2549

กองทัพอากาศมีหน่วยทหารรักษาพระองค์รวม 7 หน่วย ดังนี้

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -