ตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลภาษาแอฟโร-เอเชียติกเป็นตระกูลภาษาที่มีสมาชิก 375 ภาษาและมีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคน แพร่กระจายในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันออก แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (รวมผู้พูดภาษาอาหรับ 200 ล้านคน)ชื่อของภาษาตระกูลนี้ตั้งโดย Joseph Greenberg เพื่อใช้แทนชื่อเดิม ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติก กลุ่มย่อยของภาษาตระกูลนี้ได้แก่
- ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์
- ภาษากลุ่มชาด
- ภาษาอียิปต์
- ภาษากลุ่มเซมิติก
- ภาษากลุ่มคูชิติก
- ภาษากลุ่มโอโมติก (บางครั้งจัดให้อยู่ในภาษากลุ่มคูชิติก)
- ภาษากลุ่มเบยา (บางครั้งจัดให้อยู่ในภาษากลถุ่มคูชิติก)
ส่วนใหญ่ยอมรับให้ภาษาออนโกตาอยู่ในภาษากลุ่มโอโมติก แต่การแบ่งภายในตระกูลยังขาดข้อมูล Harold Fleming จัดให้เป็นสาขาเอกเทศของภาษากลุ่มแอฟโฟรเอเชียติกที่ไม่ใช่กลุ่มโอโมติก[1]
เนื้อหา |
[แก้] ถิ่นกำเนิด
ไม่มีข้อตกลงที่ตายตัวว่าภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกดั้งเดิมอยู่ที่ใด เชื่อกันว่าภาษานี้มีจุดกำเนิดในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ[2][3] นักวิชาการบางคนเสนอว่าอยู่ที่เอธิโอเปียเพราะบริเวณดังกล่าวมีภาษาในกลุ่มนี้หลากหลายมากในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน นักวิชาการกลุ่มอื่นเสนอว่าอยู่ตามชายฝั่งตะวันตกของทะเลแดง และในสะฮารา มีผู้เสนอว่าน่าจะมีจุดกำเนิดที่บริเวณเลอวานต์ซึ่งเป็นบริเวณที่พบภาษากลุ่มเซมิติกแพร่กระจายอยู่มาก
ภาษากลุ่มเซมิติกเป็นภาษาตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติกเพียงกลุ่มเดียวที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ในยุคประวัติศาสตร์หรือใกล้เคียง ผู้พูดภาษาเซมิติกข้ามจากอาระเบียใต้กลับสู่เอธิโอเปียและเอริเทรีย ในขณะที่อีกมุมมองหนึ่งเห็นว่าภาษากลุ่มเซมิติกมีจุดกำเนิดในเอธิโอเปีย [4]มุมมองที่สามอาศัยความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกกับภาษาอียิปต์โบราณ สันนิษฐานว่าภาษาทั้งสองนี้อาจมีบรรพบุรุษร่วมกัน โดยมีผู้พูดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ข้ามสู่คาบสมุทรไซนายเมื่อประมาณ 5,457 - 5,257 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนที่เป็นนักล่าในวัฒนธรรมเอล-ฮารีฟและดำรงชีวิตด้วยการร่อนเร่เลี้ยงสัตว์ กระจายตามชายฝั่งทะเลแดงและบริเวณเลอวานต์ทางชายขอบของดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันสมบูรณ์ได้พัฒนาวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มขึ้นมา
ภาษาที่มีวรรณยุกต์พบในภาษากลุ่มโอโตก ชาด และคูชิติก และจาก Ehret (1996) ระบุว่าภาษากลุ่มเซมิติก เบอร์เบอร์ และภาษาอียิปต์ไม่ใช้ความแตกต่างของระดับเสียงในการแยกหน่วยเสียง
ความหลากหลายที่พบภายในตระกูลภาษานี้ และการที่ไม่มีคำศัพท์ใช้ร่วมกันในหัวข้อทางเกษตรกรรม จึงเป็นไปได้ว่าผู้พูดภาษาตระกูลนี้แยกจากกันก่อนการเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม มีคำศัพท์ใช้ร่วมกันบ้าง เช่นคำศัพท์เกี่ยวกับภาชนะ Ehret [5]อธิบายว่าภาษาตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติกพัฒนาขึ้นมาจากชีวิตประจำวันในการทำมาหากินในเอธิโอเปีย แต่ก็มีผู้เสนอว่าคำเหล่านี้พบเฉพาะในภาษากลุ่มคูชิติกและโอโมติก และไม่พบคำที่มีต้นกำเนิดร่วมกันทางเกษตรกรรม ถ้าให้มีวิถีชีวิตแบบช่างปั้นหม้อกว้างขวางในสะฮาราเมื่อ 7,457 ปีก่อนพุทธศักราช ref>Barnett, William & Hoopes, John (Eds.) (1995). The Emergence of Pottery. Washington: Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-517-8</ref>และเกษตรกรรมในช่วงท้ายของยุคหินเกิดขึ้นเมื่อ 4,547 ปีก่อนพุทธศักราช [6]ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่ภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกดั้งเดิมเกิดการกระจายตัว เป็นที่รู้กันว่าเกษตรกรในเอธิโอเปียเคลื่อนย้ายเข้าสู่แผ่นดินที่สูงกว่าของนูเบีย ซูดาน และจากความพยายามถอดความจารึกอักษรเมรอยติกพบว่ามีลักษณะของสำคัญของภาษาตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติกอยู่ด้วย นักภาษาศาสตร์ Lionel Bender เสนอว่ารอบนอกของดินแดนนี้ทางตอนใต้ของลุ่มน้ำไนล์เป็นศูนย์กลางของการแพร่กระจายของภาษาตระกูลนี้ จุดวิกฤติของยุคนี้คือสะฮาราที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำและทะเลสาบ การแพร่กระจายตัวออกไปอาจมีสาเหตุมาจากความแห้งแล้งของสะฮารา]]"[7][8]
[แก้] ประวัติการจัดจำแนก
นักวิชาการในยุคกลาง เช่นราวพุทธศตวรรษที่ 14 มักเชื่อมโยงสาขาต่างๆของตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกเข้าด้วยกัน นักไวยากรณ์ภาษาฮีบรู ยูดะห์ อิบน์ กูรอยศ์ แห่งติอาเรตในแอลจีเรียเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างภาษากลุ่มเบอร์เบอร์และภาษากลุ่มเซมิติก (ซึ่งใช้ภาษาฮีบรู ภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิกเป็นตัวแทน)
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 นักวิชาการจากยุโรปเริ่มพบความสัมพันธ์มากขึ้น เช่นใน พ.ศ. 2387 Th. Benfey เสนอว่าภาษาในตระกูลนี้ประกอบด้วยภาษากลุ่มเซมิติก ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ และภาษากลุ่มคูชิติก (ภายหลังเรียกว่าภาษากลุ่มเอธิโอปิก) ในปีเดียวกัน T.N. Newman เสนอความสัมพันธระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกกับภาษาฮัวซา แต่ยังเป็นข้อโต้แย้งเรื่อยมา จนกระทั่ง Friedrich Muller ตั้งชื่อภาษาตระกูลนี้ว่า ตระกูลภาษาฮามิโต-เซมิติกเมื่อ พ.ศ. 2419 โดยระบุว่าภาษาตระกูลนี้ประกอบด้วยภาษากลุ่มเซมิติกและภาษากลุ่มฮามิติก (ประกอบด้วยภาษาอียิปต์ ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ และภาษากลุ่มคูชิติก โดยตัดภาษากลุ่มชาดออกไป)
Leo Reinisch (1909) เสนอให้เชื่อมโยงภาษากลุ่มชาดกับภาษากลุ่มคูชิติกในขณะที่ให้ภาษาอียิปต์กับภาษากลุ่มเซมิติกมีความห่างไกลกันมากขึ้น Marcel Cohen (1924) ปฏิเสธแนวคิดการแยกกลุ่มย่อยฮามิติก เพิ่มภาษากลุ่มชาดและเสนอชื่อภาษาตระกูลนี้ว่าตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับการแบ่งนี้ ใน พ.ศ. 2512 Harold Fleming เสนอให้รวมภาษากลุ่มโอโมติกเป็นอีกสาขาหนึ่ง นอกจากนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการรวมภาษาเบยาเข้าในภาษากลุ่มคูชิติก
โดยสรุป การแบ่งสาขาย่อยของภาษาตระกูลนี้ เป็นดังนี้
- การจัดของ Ehret มี ภาษาอียิปต์ ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ และภาษากลุ่มเซมิติกรวมอยู่ในกลุ่มย่อยแอฟโฟร-เอเชียติกเหนือ
- Paul Newman (1980) จัดให้ภาษากลุ่มเบอร์เบอร์อยู่กับภาษากลุ่มชาดและภาษาอียิปต์อยู่กับภาษากลุ่มเซมิติก และมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการรวมภาษากลุ่มโอโมติก
- Fleming (1981) แบ่งกลุ่มแอฟโฟร-เอเชียติกที่ไม่ใช่โอโมติกหรืออิริเทรีย เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มคูชิติก กลุ่มเซมิติกและกลุ่มชาด-เบอร์เบอร์-อียิปต์ รวมทั้งเสนอว่าภาษาออนโกตาอาจจะเป็นสาขาของภาษากลุ่มอิริเทรียด้วย
- Lionel Bender (1997)เสอนภาษากลุ่มคูชิติกใหญ่ประกอบด้วยภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ ภาษากลุ่มคูชิติก และภาษากลุ่มเซมิติก ยอมรับภาษากลุ่มชาดและภาษากลุ่มโอโมติกเป็นอีกสาขาหนึ่ง
- Vladmir Orel และ Olga Stolbova (1995) รวมภาษากลุ่มเบอร์เบอร์เข้ากับภาษากลุ่มเซมิติก รวมภาษากลุ่มชาดเข้ากับภาษากลุ่มอียิปต์ และแยกกลุ่มคูชิติกออกมาต่างหาก
- Alexander Militarev (2000) จากพื้นฐานทางรากศัพท์ รวมกลุ่มภาษาเบอร์เบอร์ไว้กับภาษากลุ่มชาด ซึ่งมีความห่างไกลจากภาษากลุ่มเซมิติก ไม่ยอมรับภาษากลุ่มคูชิติกและโอโมติก
[แก้] อ้างอิง
- ^ http://www.jstor.org/view/00113204/dm991524/99p0046v/0
- ^ http://www.sciencemag.org/cgi/content/citation/306/5702/1680c
- ^ http://links.jstor.org/sici?sici=0011-3204%28199802%2939%3A1%3C139%3ATALPAI%3E2.0.CO%3B2-J&size=LARGE
- ^ Fleming, Harold C. (1968), "Ethiopic Language History: Testing Linguistic Hypotheses in an Archaeological and Documentary Context" in Ethnohistory, Vol. 15, No. 4 (Autumn), pp. 353-388
- ^ Ehret, Christopher (1982), "On the antiquity of agriculture in Ethiopia" Journal of African History (Uni of Calif. Berkeley Press)
- ^ Midant-Reynes, Beatrix (2000), The Prehistory of Egypt: from the first Egyptians to the first Pharaohs (Blackwell)
- ^ Fagan, Brian (2004), The Long Hot Summer: how climate changed civilisation (London: Grant Books)
- ^ Burroughs, William J. (2005), Climate Change in Prehistory:the end of the reign of Chaos (Cambridge University Press)
- Marcel Cohen, Essai comparatif sur la vocabulaire et la phonétique du chamito-sémitique, Champion, Paris 1947.
- Igor M. Diakonoff et al., "Historical-Comparative Vocabulary of Afrasian", St. Petersburg Journal of African Studies Nos. 2-6, 1993-7.
- Christopher Ehret. Reconstructing Proto-Afroasiatic (Proto-Afrasian): Vowels, Tone, Consonants, and Vocabulary (University of California Publications in Linguistics 126), California, Berkeley 1996.
- Vladimir E. Orel and Olga V. Stolbova, Hamito-Semitic Etymological Dictionary: Materials for a Reconstruction, Brill, Leiden 1995. ISBN 90-04-10051-2. [1]
- Barnett, William & Hoopes, John (Eds.) (1995). The Emergence of Pottery. Washington: Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-517-8
- Bernd Heine and Derek Nurse, African Languages, Cambridge University Press, 2000 - Chapter 4
- Huehnergard, John (2004)“Afro-Asiatic,” in Woodard R. D. (ed.), The Cambridge Encyclopedia of the World’s Ancient Languages, Cambridge-New York, 138-159
- Merritt Ruhlen, A Guide to the World's Languages, Stanford University Press, Stanford 1991.
- Lionel Bender et al., Selected Comparative-Historical Afro-Asiatic Studies in Memory of Igor M. Diakonoff, LINCOM 2003.
- Ethnologue entry for Afro-Asiatic
- Russell G. Schuh, Chadic Overview.
- African Language History (pdf), Roger Blench
- Carleton T. Hodge (ed.), Afroasiatic: a survey. The Hague - Paris: Mouton 1971.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- NACAL The North American Conference on Afroasiatic Linguistics, now in its 35th year.
- A comparison of Orel-Stolbova's and Ehret's Afro-Asiatic reconstructions
- Afro-Asiatic and Semitic genealogical trees, presented by Alexander Militarev at his talk “Genealogical classification of Afro-Asiatic languages according to the latest data” (at the conference on the 70th anniversary of V.M. Illich-Svitych, Moscow, 2004; short annotations of the talks given there(รัสเซีย))
- family tree at ethnologue.com