See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ฉลอง ภักดีวิจิตร - วิกิพีเดีย

ฉลอง ภักดีวิจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฉลอง ภักดีวิจิตร

เกิด พ.ศ. 2475 (อายุ 76 ปี)
คู่สมรส บุญศรี ภักดีวิจิตร (มาลี ภักดีวิจิตร)
ชื่ออื่น ดรรชนี
ฟิลิป ฉลอง
อาชีพ ผู้กำกับภาพยนตร์ ตากล้อง
ปีที่แสดง พ.ศ. 2493 - ปัจจุบัน
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี
กำกับภาพยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2506 - ผู้พิชิตมัจจุราช
พ.ศ. 2507 - ละอองดาว
ข้อมูลบนเว็บ IMDb
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย (ThaiFilmDb)

ฉลอง ภักดีวิจิตร เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย มีฉายาที่วงการภาพยนตร์ขนานนามให้คือ "เจ้าพ่อหนังแอ็คชั่น" มีผลงานกำกับภาพยนตร์ไทยอย่าง เรื่อง “ทอง 1” และ “ทอง 2” ฉลองได้นำเอา “ดาราฝรั่ง-ต่างชาติ” มาร่วมงาน เช่น เกรก มอริส-คริส ท็อฟ (ชายงาม ออสเตรีย) นางเอกเวียดนาม เถิ่ม ถุย หั่ง-กรุง ศรีวิไล-อโนมา

ทางด้านงานละคร ฉลองเป็นผู้บุกเบิก ละครแนวแอ็คชั่นทางช่อง 7 สี ของ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ คือ “อังกอร์ 1” นำแสดงโดย พีท ทองเจือ กับ เอ็มม่า-วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ และยังมีผลงานกำกับละคร อย่าง เหล็กไหล

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ฉลอง ภักดีวิจิตร เป็นบุตรชายคนที่สอง ในจำนวน 4 คน ของ พุธ ภักดีวิจิตร พี่น้องทุกคนล้วนอยู่ในวงการสร้างภาพยนตร์ทุกคน ได้แก่ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ฉลอง ภักดีวิจิตร เขียวหวาน ภักดีวิจิตร และวินิจ ภักดีวิจิตร นอกจากนี้ยังมีน้องชายของพุธ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของสี่พี่น้อง คือ สด ภักดีวิจิตร (สดศรี บูรพารมย์) ก็เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ [1]

ฉลอง ภักดีวิจิตรเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเป็นตากล้องมาก่อน โดยทำหน้าที่เป็นตากล้องถ่ายทำภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 ม.ม. จนถึง 35 ม.ม. ให้กับผู้สร้างภาพยนตร์หลายราย เช่น วัชรภาพยนตร์ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ธาดาภาพยนตร์ นพรัตน์ภาพยนตร นันทนาครภาพยนตร์ บูรพาศิลปะภาพยนตร์ รามาภาพยนตร์ ลดาพรรณภาพยนตร์ พิษณุภาพยนตร์ เป็นต้น ภาพยนตร์เรื่องแรก คือเรื่อง แสนแสบ ในปี พ.ศ. 2493 [2] และยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 2 ตัว สาขารางวัลผู้ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประจำปี 2507 จากเรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช ของ วัชรภาพยนตร์ นำแสดงโดย อดุลย์ - อาคม – วิไลวรรณ และในปี 2510 จากเรื่อง ละอองดาว ของภาพยนตร์สหะนาวีไทย นำแสดงโดย สมบัติ – พิศมัย - อดุลย์

ฉลองได้เป็นตากล้องถ่ายภาพหลายปี มีผลงานภาพยนตร์อย่างเช่น สิงห์เดี่ยว (2505) 7 ประจัญบาน (2506) เขี้ยวพิษ (2506) เก้ามหากาฬ (2507) อินทรีมหากาฬ (2508) มงกุฎเพชร (2508) เทพบุตรนักเลง (2508) น้ำเพชร (2508) นกขมิ้น (2508) หยกแก้ว (2508) เสือเหลือง (2509) ลมหนาว (2509) นกแก้ว (2509 สายเปล (2510) จ้าวอินทรี (2511) แท็กซี่ (2511) แมวไทย (2511) สมิงเจ้าท่า (2512) เป็นต้น หลังจากนั้นฉลองได้เป็นผู้อำนวยการสร้างและถ่ายภาพให้ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. เรื่อง น้ำเพชร นำแสดงโดย มิตร – เพชรา สร้างขึ้นในนามบางกอกการภาพยนตร์ มี ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์และกำกับการแสดง ออกฉายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508

ส่วนภาพยนตร์ที่ฉลอง ภักดีวิจิตร แสดงฝีมือ กำกับการแสดงเป็นเรื่องแรกก็คือ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. เรื่อง จ้าวอินทรี นำแสดงโดย มิตร – พิสมัย สร้างโดย รามาภาพยนตร์ของ สุมน ภักดีวิจิตร โดยใช้นามว่า ดรรชนี ในการกำกับการแสดง ออกฉายเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2511 ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้สร้าง-ถ่ายภาพ และกำกับเอง จากนั้น ฉลองมีงานกำกับภาพยนตร์ 16 ม.ม.ให้กับ บูรพาศิลปะภาพยนตร์อีก 2 เรื่อง คือเรื่อง ลูกปลา นำแสดงโดย มิตร – เพชรา และเรื่อง สอยดาวสาวเดือน นำแสดงโดย มิตร – เพชรา- โสภา (เรื่องร่วมกันสร้างกับบางกอกการภาพยนตร์) จากนั้นเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง ฝนใต้ ที่ฉลองสร้างและกำกับการแสดงออกฉายในปี 2513 เป็นภาพยนตร์ เป็นบทประพันธ์ของ เทิด ธรนินทร์ สร้างบทภาพยนตร์ไทย ส.อาสนจินดา นำแสดงโดย สมบัติ – เพชรา พร้อมด้วยนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เพลิน พรหมแดน, กังวานไพร ลูกเพชร, นวลละออง รุ้งเพชร ร่วมแสดง และยังต่อด้วยภาพยนตร์เรื่อง ฝนเหนือ

กระแสภาพยนตร์เพลงในช่วงนั้นแรงมาก จนฉลองต้องสร้าง ระเริงชล ออกมาฉายอีกในปี 2515 นำแสดงโดย สมบัติ - เพชรา นักร้องลูกทุ่งก็มี เพลิน พรหมแดน สังข์ทอง สีใส ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 3 ล้านบาท หลังจากนั้นฉลองทำภาพยนตร์สู่ตลาดนอก โดยเริ่มจากเรื่อง 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน (The Brothers) ที่ออกฉายในปี 2515 ซึ่งฉลองร่วมมือกับ ฉั่นทงหมั่น อดีตหัวหน้าฝ่ายโฆษณาของชอร์แห่งฮ่องกง ดารานำฝ่ายไทยมี สมบัติ เมทะนี แสดงร่วมกับนางเอกใหม่ลูกครึ่งไทย เยอรมันที่เพิ่งแสดงเป็นเรื่องแรก อโนมา ผลารักษ์ ส่วนดาราฮ่องกงก็มีเกาหย่วน พระเอกเงินล้านของชอร์และ มิสหยีห้วย อดีตนางงามไซโก้ พร้อมด้วยดาวร้ายอย่าง เฉินซิง และ เถียนฟง มาร่วมแสดง [3] ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายทั่วเอเชีย โดยฝ่ายฮ่องกงจะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะชำนาญกว่า นอกจากนี้จะส่งไปฉายที่นิวยอร์ก, ซานฟรานซิสโก, ชิคาโก้ และลอสแอนเจลิส ด้วย

และภาพยนตร์ที่ถือว่าสู่ตลาดต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จคือเรื่อง ทอง (GOLD หรือ S.T.A.B.) นำแสดงโดย เกร็ก มอร์ริส (Greg Morris) พระเอกผิวหมึกของอเมริกา โด่งดังมาจากภาพยนตร์ซีรีส์ีเรื่อง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย (Mission Impossible) โดยการติดต่อของ ดร.ดำริ โรจนเสถียร ฝ่ายจัดการต่างประเทศ และยังมีนางเอกชาวเวียดนามคือ เถิ่ม ถุย หั่ง ส่วนดาราไทยคือ สมบัติ เมทะนี, กรุง ศรีวิไล, อโนมา ผลารักษ์, ดามพ์ ดัสกร, ดลนภา โสภี, กฤษณะ อำนวยพร เป็นต้น [4] ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบกว่า 10 ล้านบาท สามารถทำรายได้ทั้งในประเทศ ฉลองขายให้ฮ่องกงและไต้หวัน และโดยเฉพาะที่อเมริกา ขายให้หนึ่งล้านเหรียญ (20 ล้านบาท) นอกจากนี้ ในการประกาศ รางวัลตุ๊กตาทองประจำปี 2517 โดยสมาคมหอการค้าไทย ทองก็ได้รับ รางวัล 3 ตุ๊กตาทอง คือ รางวัลยอดเยี่ยมลำดับภาพและตัดต่อ รางวัลยอดเยี่ยมถ่ายภาพ และรางวัลยอดเยี่ยมบันทึกเสียง[5]

ภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (H-Bomb) ในปี พ.ศ. 2518 นำดาราต่างประเทศ คือ โอลิเวีย ฮัสซีย์ ที่โด่งดังจากจากภาพยนตร์เ่รื่อง โรมิโอกับจูเลียต และคริสโตเฟอร์ มิทซัม (บุตรชายของ โรเบิร์ต มิทซัม) มาแสดงคู่กับ กรุง ศรีวิไล และภาวนา ชนะจิต [6] ร่วมแสดงโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, กฤษณะ อำนวยพร, เกชา เปลี่ยนวิถี

ผลงานในยุคปัจจุบัน ทางด้านงานละคร ฉลองเป็นผู้บุกเบิก ละครแนวแอ็คชั่นทางช่อง 7 สี ของ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ คือ “อังกอร์ 1” นำแสดงโดย พีท ทองเจือ กับ เอ็มม่า-วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ และยังมีผลงานกำกับละคร อย่าง เหล็กไหล[7]

ในปี 2551 ฉลองได้รับรางวัลเกียรติยศ ปูชนียบุคคลแห่งวงการบันเทิง จากสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2007[8]

[แก้] ผลงานกำกับ

  • จ้าวอินทรีย์ (2511)
  • ลูกปลา (2512)
  • สอยดาวสาวเดือน (2512)
  • ฝนใต้ (2513)
  • ฝนเหนือ (2513)
  • ระเริงชล (2515)
  • 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน (2515) - The Brothers
  • ทอง (2516) - S.T.A.B.
  • ตัดเหลี่ยมเพชร (2518) - H-Bomb
  • ใต้ฟ้าสีคราม (2521)
  • รักข้ามโลก (2521)
  • ทอง 2 (2525) - Gold Raiders
  • ล่าข้ามโลก (2526)
  • สงครามเพลง (2526)
  • ซากุระ (2527)
  • ปล้นลอยฟ้า (2528)
  • ปิดโลกมหาสนุก (2528)
  • ร้อยป่า (2529)
  • เพชรเสี้ยนทอง (2530)
  • ทอง 3 (2531) - The Lost Idol
  • ทอง 4 (2533) - In Gold We Trust
  • มังกรเจ้าพระยา (2537)
  • สุดขีดมังกรเจ้าพระยา 2 (2539)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ภราดร ศักดา. เปิดม่านคนดังหลังวัง ตำนานเก่าเล่าเรื่องดารายุคภาพยนตร์ไทยเฟื่อง -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก, พ.ศ. 2551. (ISBN 978-974-13-8887-5)
  2. ^ ฉลอง ภักดีวิจิตร ตำนานหนังบู๊ "โกอินเตอร์"
  3. ^ 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน - The Brothers (a.k.a. Da di shuang ying) ที่เว็บไซต์ IMDb
  4. ^ ทอง - S.T.A.B. ที่เว็บไซต์ IMDb
  5. ^ กระทู้จากเว็บ thaifilm.com
  6. ^ ตัดเหลี่ยมเพชร - H-Bomb ที่เว็บไซต์ IMDb
  7. ^ 'เมื่อ-ผีเดินตาม'ฉลอง ภักดีวิจิตร thaifilmdirector.com
  8. ^ “เคน” ควง “หน่อย” พร้อมลูก รับรางวัลสมาคมนักข่าวฯ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 เมษายน 2551 22:05 น.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -