คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อภาษาอังกฤษ | Faculty of Commerce and Accountancy Chulalongkorn University |
วันจัดตั้ง | พ.ศ. 2486 |
คณบดี | รศ. ดร. อรรณพ ตันละมัย |
วารสาร | จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ |
สีประจำคณะ | สีฟ้า |
สัญลักษณ์คณะ | เรือสำเภา |
อาคารมหิตลาธิเบศร ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเปิด "แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์" สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้สถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ผลิตบุคคลากรเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจของประเทศซึ่งมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2481 เริ่มเปิดแผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาพาณิชยศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2483 ศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกวิชาการบัญชีและพาณิชยศาสตร์ และคณะกรรมการวิชาการได้พิจารณาจัดหลักสูตรให้มีลักษณะอิสระ แตกต่างจากหลักสูตรของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2486 หลังจากแผนกวิชาอิสระได้ดำเนินการสอนมาเกือบ 5 ปี ก็ได้รับการสถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 และศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรกของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- พ.ศ. 2494 คณะฯ ได้เปิดแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์หลักสูตร 4 ปี ผู้ที่เรียนสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต
- พ.ศ. 2500 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาสถิติ หลักสูตร 4 ปี โดยผู้ที่เรียนสำเร็จการศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2500 - 2513 จะได้รับปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต (สถิติ) ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 เป็นต้นมาจะได้รับปริญญาสถิติศาสตรบัณฑิต
- พ.ศ. 2513 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตร 4 ปี (ปริญญาบัญชีบัณฑิต)
- พ.ศ. 2520 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาการตลาด หลักสูตร 4 ปี (ปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต)
- พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ใช้คำว่า "ภาควิชา" แทน "แผนกวิชา" ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
- พ.ศ. 2526 คณะฯ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน และภาควิชาการตลาด
- พ.ศ. 2539 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งนับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีปริญญาแรกในจุฬาฯ
- พ.ศ. 2543 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ) ขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี
- พ.ศ. 2544 หลักสูตรปริญญาสถิติศาสตรบัณฑิตได้เปิดสาขาวิชาสถิติเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
ปัจจุบัน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท (ตรงข้ามพื้นที่ชุมชนตลาดสามย่าน) มีอาคารทำการของคณะ 6 อาคาร ได้แก่ อาคารไชยยศสมบัติ 1 อาคารไชยยศสมบัติ 2 อาคารไชยยศสมบัติ 3 อาคารอนุสรณ์ 50 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อาคารศูนย์คำนวณสถิติ บัณฑิต กันตะบุตร และอาคารมหิตลาธิเบศร เป็นอาคารเรียนส่วนกลางของทางมหาวิทยาลัยใช้ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์และ สถาบันภาษา ซึ่งทางคณะฯ เอง ได้รับการจัดสรรพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของอาคารบริเวณชั้น 8 9 และ 10 ให้เป็นพื้นที่ของทางคณะฯ
[แก้] หน่วยงาน
[แก้] หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
หลักสูตรสถิติศาสรบัณฑิต
|
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(MBA) หลักสูตรสถิติศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรบัญชีดุษฏีบัณฑิต |
[แก้] การแบ่งกลุ่มกิจกรรมของนิสิต
- เนื่องจากเป็นคณะใหญ่ มีจำนวนนักศึกษาเยอะ นิสิตคณะพาณชยศาสตร์และการบัญชี จึงแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็น 12 กลุ่ม ดังนี้
- ก.1 ก.2 ก.3 ก.4 ก.5 ข.1 ข.2 ข.3 ข.4 ข.5 สมทบ และ stat
- โดยคณะจะทำการ random รายชื่อนิสิตในการจัดกลุ่ม อย่างไรก็ตามนิสิตสามารถเปลี่ยนกลุ่มได้ตามที่ตนเองต้องการ ส่วนใหญ่นิสิตจะเลือกกลุ่มที่มีรุ่นพี่ที่รู้จัก หรือมาจากโรงเรียนเดียวกัน การแบ่งกลุ่มนี้ไม่เกี่ยวกับการศึกษา แต่เป็นการแยกทำกิจกรรม เช่น รับน้อง ซ้อมเชียร์ และเป็นการแบ่งโต๊ะนั่งในระหว่างที่ไม่ต้องเข้าเรียน
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- ดร. อำนวย วีรวรรณ
ศ.ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ ดร.ธาริสา วัฒนเกส นางภัทรียา เบญจพลชัย นางดารุณี กฤตบุญญาลัย
- คุณหญิงสมศรี กันธมาลา
- คุณหญิงจินดา จรุงเจริญเวช
- นายเกษม ณรงค์เดช
- นายบดี จุณณานนท์
- ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน
- รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ
- นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ
- พรศรี ชุตินทรานนท์
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นักการเมือง รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ
- นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
- ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ร้านภูฟ้า
- นายนครินทร์ กิ่งศักดิ์
ดูเพิ่ม รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
||
---|---|---|
คณะ | ครุศาสตร์ • จิตวิทยา • ทันตแพทยศาสตร์ • นิติศาสตร์ • นิเทศศาสตร์ • พยาบาลศาสตร์ • พาณิชยศาสตร์และการบัญชี • แพทยศาสตร์ • เภสัชศาสตร์ • รัฐศาสตร์ • วิทยาศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตร์ • สถาปัตยกรรมศาสตร์ • สหเวชศาสตร์ • สัตวแพทยศาสตร์ • ศิลปกรรมศาสตร์ • เศรษฐศาสตร์ • อักษรศาสตร์ • บัณฑิตวิทยาลัย | |
สำนักวิชา | วิทยาศาสตร์การกีฬา | |
วิทยาลัย | วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข • วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี • วิทยาลัยประชากรศาสตร์ • สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ | |
สถาบันวิจัย | สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ • สถาบันวิจัยพลังงาน • สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ • สถาบันวิจัยสังคม • สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม | |
สถาบันสมทบ | วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย • วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ • สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ | |
อื่นๆ | โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ • ศูนย์หนังสือจุฬาฯ • สนามกีฬา • พิพิธภัณฑ์ • สภามหาวิทยาลัย • สภาคณาจารย์ • สโมสรอาจารย์ | |
หมวดหมู่ • โครงการ • สถานีย่อย |