การคมนาคม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจราจร (Transportation) คือ การเปลี่ยนหรือย้ายในทางพื้นที่ ของ คน สินค้า ข้อมูล และพลังงาน
การขนส่ง (Transport) คือ การกระทำเพื่อทำให้เกิดการจราจร นั่นคือ คน สินค้า ข้อมูล และพลังงาน เปลี่ยนหรือย้ายในทางพื้นที่ด้วยการขนส่ง
การสัญจร (Mobility) คือ การเปลี่ยนพื้นที่ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งระหว่างหน่วยใดหน่วยหนึ่งในระบบการจราจร (Position Mobility, Circulation Mobility, and Social Mobility) ในการเดินทางหนึ่งครั้งมีการสัญจรมากกว่าหนึ่งประเภท การสัญจรประกอบไปด้วยผู้เดินทาง และองค์ประกอบในการเดินทาง ได้แก่ ความถี่ ระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนพื้นที่
ระบบการจราจร (Transportation System) ประกอบด้วยยานพาหนะและโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจร ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนหรือย้ายในทางพื้นที่
การจราจรแบบสัมบูรณ์ (Absolute Transportation) คือ ประเภทของการเดินทางซึ่งจัดแบ่งตามเป้าหมายของการเดินทาง ตัวอย่างเช่น การเดินทางไปทำงาน การเดินทางเพื่อจับจ่ายใช้สอย เป็นต้น
การจราจรแบบเกี่ยวเนื่อง (Relative Transportation) คือ ประเภทของการเดินทางซึ่งจัดแบ่งตามสถานที่ (การเดินทางเข้า หรือ เดินทางออกจากสถานที่) ตัวอย่างเช่น การเดินทางเข้าสู่สถานที่ (In-Bound Trip) การเดินทางออกจากสถานที่ (Out-Bound Trip) การเดินทางผ่านสถานที่ (Through Trip) การเดินทางภายในสถานที่ (Within-the-Cell Trip)
กระแสการจราจร (Transportation Flow) คือ การเคลื่อนที่ของยานพาหนะบนโครงสร้างพื้นฐานการจราจรไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ความหนาแน่นการจราจร (Transportation Density) คือ จำนวนยานพาหนะที่เกิดจากกระแสการจราจรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง บนเส้นทางหรือส่วนของเส้นทางเส้นใดเส้นหนึ่ง
พนิต ภู่จินดา, การวางแผนระบบจราจร, เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.