See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
กระบี่-กระบอง - วิกิพีเดีย

กระบี่-กระบอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบี่ - กระบอง - หมายถึง การแสดง การเล่น การฝึก การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธโบราณของไทยเราที่ใช้ต่อสู้ป้องกันตัว ป้องกันประเทศในสมัยก่อน โดยทำเลียนแบบอาวุธจริง เป็นไม้ โลหะ หนังสัตว์ เช่น ดาบ หอก ง้าว ดั้ง เขน โล่ เป็นต้น

เนื้อหา

[แก้] ความเป็นมาของ กระบี่ - กระบอง

ชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการต่อสู้ ศึกสงครามเพื่อป้องกันประเทศ รักษาความเป็นเอกราชของแผ่นดินที่ยาวนานชนชาติหนึ่ง คนไทยในยุคแรก ๆ ที่เริ่มก่อตั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิแหลมทองมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษในยุคดังกล่าวได้อาศัยสติปัญญา ความกล้าหาญ และใช้อาวุธนานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นและกองทัพเข้าต่อสู้ป้องกันมาโดยตลอด เริ่มจากกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ ชาติไทยเป็นชาติที่รักสงบมากกว่าที่จะคิดเบียดเบียนใคร ความที่เป็นชาติที่รักสงบจึงมักถูกรังแกอยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้คนในชาติสมัยก่อนต้องดิ้นรนช่วยตัวเองทั้งชายและหญิง บรรดาทหารกล้าตลอดจนชาวบ้านต่างฝึกฝน เสาะหาเรียนวิชาฟันดาบ และการต่อสู้ด้วยอาวุธนานาชนิด จึงเกิดมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ จนถึงขั้นประลองฝีมือ

ในสมัยก่อน การประลองแบบแรกเป็นเรื่องจริงจังอาศัยหลักวิชาการต่อสู้เป็นหลัก จึงมีคนนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าประลองกับชาวต่างชาติ หรือชาวตะวันตกที่ใช้อาวุธของเขาเป็นหลักก็ยิ่งทำให้เป็นที่สนใจมากขึ้น (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังมีการประลองมวย และการต่อสู้ด้วยอาวุธหน้าพระที่นั่งเหมือนกัน)

ผู้เรียบเรียงคิดว่าการประลองทั้งสองแบบส่วนใหญ่คงจะมีปะปนกัน เพราะแบบที่สองให้ความสนุกสนานในการชมควบคู่กันไป และแบบที่สอง นี้คงจะพัฒนาการเล่นการแสดง ทำเลียนแบบ นัดแนะลูกไม้ แต่ไม่มีอันตรายใด ๆ นอกจากบาดเจ็บเมื่อพลาดพลั้งบางครั้ง และมีคนนิยมดูมากขึ้น เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 - 2 มักจะเรียกว่า การประลองดาบ การประลองหอก การประลองยิงธนู เป็นต้น และเรียกบรรดาผู้คนที่มีวิชาความรู้เรื่องฟันดาบว่า นักดาบ นำหน้าสำนักหรือหมู่บ้านชุมชนนั้น ๆ เช่น นักดาบจากบ้านบางระจัน นักดาบจากกรุงศรีอยุธยา นักดาบจากพุกาม ทหารจากพม่า ลาว เขมร แต่จะไม่มีใคร เรียกว่า นักกระบี่กระบอง เพราะคำว่า กระบี่ – กระบอง เกิดหลังรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์คำว่า กระบี่ – กระบอง มีคำกล่าวถึงที่มาของคำนี้อยู่หลายประการ แต่ยังมีเหตุผลที่น่าคิดและน่าเชื่อถือได้อีก ประการหนึ่ง กล่าวคือ

เรื่องรามเกียรติ์ กระบี่ หมายถึง หัวหน้าฝ่ายลิง(หนุมาน) ถือตรีหรือสามง่ามสั้น ๆ เป็นอาวุธ ลิงรูปร่างเล็กเคลื่อนไหวเร็ว แคล่วคล่องว่องไว ลูกน้องพลลิงทั้งหลายบางตัวก็ใช้พระขรรค์เป็นอาวุธ

กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น

ฉะนั้นคำว่า "กระบี่" จึงถูกนำมาเป็นคำเรียกแยกให้รู้ว่าอาวุธสั้นทั้ง หลายจะรวมเรียกว่า กระบี่ ซึ่งมี ดาบ โล่ ดั้ง เขน ไม้ศอกสั้น มีดสั้น พระขรรค์ เคียว ขวาน ตรี สามง่ามสั้น และ สีโหล่

“กระบอง" มาจาก ยักษ์ ที่ถือกระบองเป็นอาวุธยักษ์รูปร่างใหญ่โตและ การเคลื่อนไหวไม่ไวเท่าลิง อาวุธนี้จึงถูกจัดเรียกว่า กระบอง ไม่ว่าสั้นหรือยาวเป็นหัวหน้า ให้ความหมายรวมเป็นของยาวทั้งมวล ถ้าพูดตามความ จริงแล้วการเคลื่อนไหวการต่อสู้จะทำได้ดีซึ่งส่วนมากจะเป็นวงนอก ส่วนของสั้นจะทำได้ทั้งวงนอกและวงใน

ฉะนั้นคำว่า “กระบอง“ จึงถูกแยกเรียกเป็นที่รวมของอาวุธยาวที่ใช้แสดงทั้งหมด เช่น พลอง กระบอง ง้าวทุกชนิด โตมร ทวน หอก เป็นต้น

การเรียกกระบี่กระบองยังมีหลักฐานให้เห็นชัดในเรื่องอาวุธที่นิยมใช้แสดงและเล่นกัน คือ คู่ของไม้ศอกสั้นกับพลอง นั่นคือความหมายที่ถูกจัดให้เห็นว่า อาวุธสั้นคือลิง ผู้แสดงจะแสดงถึงหลักวิชาความคล่องแคล่วว่องไว ส่วนพลองหรือกระบองคือตัวแทนของยักษ์เป็นประเภทอาวุธยาว

[แก้] ประโยชน์ของการฝึก

  • เพื่อให้จิตใจฮึกเหิม มีความกล้า
  • เพื่อให้ได้ความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
  • เพื่อให้จิตใจแข็งแกร่ง กล้าตัดสินใจ
  • เพื่อทดสอบฝีมือเข้าอาสารับใช้ประเทศชาติ โดยการประลองฝีมือกัน

[แก้] การแสดงกระบี่กระบอง

การแสดงกระบี่กระบอง มักจะแสดงแบบชายต่อสู้กับชาย หรือ ชายต่อสู้กับหญิง โดยใช้อาวุธหลายประเภทเช่น กระบี่ กระบอง ดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบโล่ห์ แต่เท่าที่นิยมคือ การแสดงแบบนักดาบชายต่อสู้กับนักดาบหญิง อย่างเช่น การแสดงของนักศึกษาภาควิชาพละศึกษา ฝ่ายชาย เปลือยท่อนบน สวมกางเกงสามส่วนผูกผ้าที่เอว รัดผ้าประเจียดที่โคนแขน ใช้ง้าว แสดงว่านักรบระดับขุนศึก ฝ่ายหญิง สวมชุดตะเบ็งมาล โพกศีรษะด้วยผ้าสามเหลี่ยม ใช้กระบี่

...........ทั้งสองฝ่ายจะลดล่อเพื่อดูท่าทีชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฝ่ายชายนักรบไทย ซึ่งมีนิสัยใจร้อนกว่าเป็นผู้เริ่มรุก ฝ่ายหญิงคู่อริไทยเป็นฝ่ายรับ ซึ่งด้วยชั้นเชิงและพละกำลังของฝ่ายชายไทย ทำให้ฝ่ายหญิงตั้งรับได้อย่างเดียว จนในที่สุดฝ่ายหญิงก็เพลี่ยงพล้ำ ถูกฟาดอาวุธตก ฝ่ายชายหนุ่มแสดงความเป็นลูกผู้ชาย เขี่ยกระบี่กลับคืนให้ ฝ่ายหญิงแสร้งก้มลงเก็บ แต่กลับพุ่งเข้าหาฝ่ายชาย เพราะง้าวเป็นอาวุธยาว จะแข็งแกร่งเมื่ออยู่วงนอก ได้เปรียบกระบี่ของฝ่ายหญิง แต่เกิดจุดอ่อนเมื่อถูกรุกวงใน พอเข้าคลุกวงใน ฝ่ายชายไทยไม่ทันระวังตัวจึงถูกสาวอริตีที่ชายโครง สลับกับต่อยท้องนักดาบไทย พอเห็นนักรบไทยเริ่มอ่อนแรง ฝ่ายหญิงจึงตรงเข้าแย่งอาวุธง้าวแต่ฝ่ายชายยังขัดขืนและเหวี่ยงเธอลงไปกับพื้น ชายไทยง้างง้าวจะจ้วงคู่ต่อสู้ แต่แม่หญิงลุกนั่งกอดโคนขาขุนศึกหนุ่ม เขาจะจ้วงก็ไม่ถนัด ฝ่ายหญิงเล็งเป้าง่ามขาคู่ต่อสู้หนุ่มอยู่แล้ว เห็นเขาคาดผ้ารัดกระจับ จึงรัดโคนขานักรบไทยให้แน่นพลางสอดมือเข้าไปในผ้ารัดกระจับ ฝ่ายชายเกร็งตัวตามสัญชาตญาณรั้งง้าวมาที่โคน หมายเสือกลงใส่อริ แต่หญิงสาวเมื่อคลำเจอถุงตะเคียวชายไทย ก็ออกแรงบีบลูกตะเคียวทั้งสองลูก นักดาบไทยงอตัวตามแรงบีบ หมดแรงที่แทงง้าว ฝ่ายหญิงบีบกษัยชายไทยเพียงครู่เดียว เขาก็สิ้นเรี่ยวแรงอาวุธตก เธอจึงคลายมือ แล้วยืนขึ้นกวักไกว่ฝ่ายชายเป็นเชิงเยาะ ฝ่ายชายเลือดร้อน ถูกหญิงคู่อริหยามศักดิ์ศรี ก็ตรงเข้าวางมวยไทยใส่ ฝ่ายหญิงก็ตั้งรับอย่างใจเย็น เพราะฝ่ายชายยังไม่หายจากอาการบาดเจ็บ เพียงครู่เดียวก็หมดแรง เธอจึงตรงเข้าตบหน้าชายไทย สะบัดไปมาจนเข้ามึน แล้วต่อยท้องซ้ำ ฝ่ายหญิงถอยไปหญิงกระบี่หมายเผด็จศึก ฝ่ายชายกัดฟันคว้าง้าวตรงเข้าจ้วง ฝ่ายหญิงเพียงเบี่ยงหลบแล้วตวัดฟาดกระบี่ฟันสะพายแล่งนักรบไทย อนิจจา...เลือดวีรบุรุษหลั่งออกเป็นสาย แต่แม่หญิงคู่อริยังไม่วายลอบเข้าด้านหลังเขา จิกผมด้วยมือซ้าย ใช้กระบี่ปาดกระเดือกนักรบไทยขาดสะบั้น ชายหนุ่มแอ่นร่าง แล้วกระตุกสองสามครั้งก็ขาดใจตาย... นักดาบหญิงผลักร่างไร้วิญญาณของคู่ต่อสู้ลงไปนอนทอดกาย

[แก้] อ้างอิง

เรียบเรียงจาก บทความแสดงในงานนิทรรศการกีฬาไทย ท้องสนามหลวง เดือนมีนาคม 2545 โดย อ.นิพนธ์ ศรีวิจิตร

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -