กระท่อม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักร | พืช (Plantae) |
ส่วน | Magnoliophyta |
ชั้น | Magnoliopsida |
อันดับ | Gentianales |
วงศ์ | Rubiaceae |
สกุล | Mitragyna |
สปีชีส์ | M. speciosa |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | 'Mitragyna speciosa' Korth. |
กระท่อม หรือ พืชกระท่อม เป็นที่รู้จักกันในแวดวงยาเสพย์ติดให้โทษว่าถูกจัดอยู่ในยาเสพย์ติดให้โทษประเภทที่ 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพย์ติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 โดยประเภท 5 นี้หมายถึง ยาเสพย์ติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
เนื้อหา |
[แก้] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระท่อม เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง โดยทั่วไปมีสูงประมาณ 10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa กระท่อมยังรู้จักในชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ท่อม อีถ่าง กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย (ทางภาคใต้) กระท่อมจัดเป็นพืชเฉพาะฉิ่น โดยจะพบมากในประเทศมาเลเซีย และไทย แต่พบว่าสามารถปลูกขึ้นได้ดีในประเทศเขตร้อนทั่วไป
[แก้] ผลของการเสพย์
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม คือ Mitragynine เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) คล้ายกับยาเสพย์ติดกลุ่ม psilocybin LSD และ ยาบ้า ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อมสามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น
ส่วนของกระท่อมที่นำมาใช้เป็นสารเสพย์ติด คือส่วนใบ โดยรูปแบบที่พบในการใช้เสพนั้น ประกอบด้วย การชงดื่ม (tea) การสูบ (smoking) และการเคี้ยว (chewing) กระท่อมจะออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาท และกดประสาท จึงถูกจัดให้เป็นยาเสพย์ติดให้โทษ
พบว่าการเสพย์ใบกระท่อมมากๆหรือเป็นระยะเวลานานนั้น มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนัง คือจะทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวที่มีสีคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าในผู้ที่รับประทานใบกระท่อมนั้น หากในขณะที่จะรับประทานไม่ได้มีการรูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" เกิดขึ้นในลำไส้ได้ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงเกิดขึ้นมาในลำไส้ขึ้น
[แก้] ดูเพิ่ม
ในสมัยก่อนนั้น กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ ยกตัวอย่างเช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น