See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
กรมสอบสวนคดีพิเศษ - วิกิพีเดีย

กรมสอบสวนคดีพิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ
การจัดลิงก์ภายใน และหรือการจัดระเบียบอื่น ๆ

คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้! โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นจัดรูปแบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ ทำลิงก์ภายในสำหรับคำสำคัญ หรือจัดระเบียบอื่น ๆ ให้เหมาะสม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การแก้ไขหน้า การแก้ไขหน้าพื้นฐาน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (อังกฤษ: Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้] แนวคิดของการจัดตั้ง กรมสอบสวนคดีพิเศษ

สถานภาพอาชญากรรมในสังคมปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงและมีความสลับซับซ้อนของการกระทำความผิดขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอาชญากรรมพิเศษ อันได้แก่

  1. อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำต่อระบบการเงินการธนาคาร การค้าการพาณิชย์ การหลีกเลี่ยงภาษีอากร การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  2. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์หรืออาชญากรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระทำการลักลอบ แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือทำลายข้อมูลหรือระบบปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ
  3. อาชญากรรมที่มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง องค์กรอาชญากรรม และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นการกระทำผิดที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เป็นองค์กร มีเครือข่ายทั้งภายในและระหว่างประเทศรวมทั้งผู้กระทำผิดมักได้แก่ ผู้มีอิทธิพลหรือมีผู้มีอิทธิพลให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เช่น ขบวนการค้าโสเภณีข้ามชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ และการค้ายาเสพติด เป็นต้น

อาชญากรรมพิเศษดังกล่าวนี้มีการพัฒนารูปแบบวิธีการของการกระทำความผิดอย่าง ต่อเนื่องและตลอดเวลา ทั้งในด้านกรรมวิธีการกระทำความผิด การนำเทคนิควิธีการสมัยใหม่เข้ามาเป็นเครื่องมือประกอบการกระทำความผิด ลักษณะการกระทำความผิดที่มีดำเนินการอย่างเป็นระบบและขบวนการ รวมทั้งการกระทำความผิดมีความเกี่ยวเนื่องและมีเครือข่ายโยงใยระหว่างประเทศ ซึ่งการกระทำความผิดต่างๆ นี้ มีความสลับซับซ้อน แยบยลและละเอียดอ่อน เนื่องจากผู้กระทำผิดเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นอย่างดี ทำให้สร้างความเสียหายและก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความ มั่นคงของประเทศอย่างมากมาย กล่าวคือ นอกจากจะสร้างความเสียหายโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศนับหมื่นล้านบาทต่อปี ในขณะที่ยังมีการกระทำความผิดอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถดำเนินการสืบสวนสอบสวนหรือจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้ ยังส่งผลต่อเนื่องถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของชาวต่างประเทศ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง สังคม และความมั่นคงของประเทศชาติในที่สุด นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ไม่อาจประเมินความเสียหายได้คือความสูญเสียของชีวิตร่างกายและที่สำคัญที่สุดคือ ความสงบสุขของคนในสังคม

การป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมพิเศษซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าใดนัก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัญหาอุปสรรคหลายประการ กล่าวคือ

  1. การกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนให้เป็นผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และผู้มีวุฒิการศึกษาสาขานิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์เท่านั้น ดังนี้ทำให้ขาดผู้ที่มีความรู้ ทักษะความชำนาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เช่น เศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร การบัญชี คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. การขาดพนักงานสอบสวนที่มีความรู้ความชำนาญในการสอบสวนอย่างแท้จริงเนื่องจาก
    1. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่ด้านการสอบสวน ได้แก่ พนักงานสอบสวน (สบ.1) และพนักงานสอบสวน (สบ.2) ซึ่งมียศระหว่างร้อยตำรวจตรีถึงพันตำรวจโทเท่านั้น เมื่อพนักงานสอบสวนเหล่านี้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นระดับรองผู้กำกับการขึ้นไปแล้วก็จะต้องทำหน้าที่ด้านการบริหาร มิได้ทำหน้าที่ด้านการสอบสวนแต่อย่างใด
    2. การที่พนักงานสอบสวนสามารถโยกย้ายสลับไปมาระหว่างหน่วยงานใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ทำให้ขาดการเชื่อมต่อในการทำงานด้านการสอบสวนคดีเศรษฐกิจ และขาดพนักงานสอบสวนที่มีความรู้ความชำนาญและทักษะเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
  3. ภารกิจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของเจ้าน้าที่ตำรวจเป็นภารกิจที่กว้างขวางและหลากหลาย ลำพังเพียงการควบคุมปัญหาอาชญากรรมพื้นฐาน ซึ่งได้แก่อาชญากรรมที่เกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อทรัพย์ ชีวิตและร่างกาย และคดีเล็กน้อยอื่นๆ ก็มิอาจปฏิบัติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควรทำให้ต้องทุ่มเททรัพยากรไปกับการดำเนินการดังกล่าวส่วนการดำเนินการกับอาชญากรรมพิเศษมิอาจกระทำได้เต็มที่
  4. การที่อาชญากรรมพิเศษเป็นอาชญากรรมที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากมายมหาศาล ประกอบกับผู้กระทำผิดเป็นผู้มีอิทธิพลหรือมีผู้มีอิทธิพลสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง จึงทำให้มีการใช้อิทธิพลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลทางการเงินหรืออิทธิพลทางการเมืองเข้าแทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนถูก บิดเบือนไป

ดังนั้น การจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจในการป้องกันปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมพิเศษอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน ย่อมส่งผลต่อการลดและป้องกัน ความเสียหายที่จะเกิดต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ทำให้สังคมได้รับการป้องกันให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาชญากรรมที่มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้ององค์กรอาชญากรรมและอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งนี้โดยการปฏิบัติงานทั้งในเชิงรุกและเชิงรับด้วยการสืบสวนทั้งก่อนและหลังการกระทำความผิด และการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมพิเศษ โดยที่

  1. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ประกอบด้วยผู้ซึ่งมีความรู้ความชำนาญที่เกี่ยวข้องหลากหลายสาขาอาชีพ ได้แก่ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชี คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ทำให้สามารถมีความรู้เท่าทันผู้กระทำความผิด สถานภาพและแนวโน้มของอาชญากรรมพิเศษ
  2. การสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการสอบสวน ทั้งนี้โดยการที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษสามารถปฏิบัติหน้าที่การสอบสวนได้อย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้าในสายงานโดยไม่มีการโยกย้ายข้ามสายงาน
  3. การมีคณะกรรมการที่ปรึกษาบริหารงานบุคคลพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ การมีหลักประกันความมั่นคงและความเป็นอิสระในวิชาชีพ ทั้งนี้โดยเพื่อมิให้มีการโยกย้ายพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้โดยมิชอบ
  4. การมีเงินเดือนและค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ใน ความยุติธรรมได้อย่างมีเกียรติ เพื่อจะได้มิต้องใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ใน ทางไม่สุจริต

บทบาทภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทภารกิจดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมพิเศษ
  2. พัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการและมาตรการในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรม
  3. พัฒนาบุคลากรในการเสริมสร้างศักยภาพในด้านความรู้ ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และขวัญกำลังใจ
  4. ประสานความร่วมมือในการป้องกันปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมพิเศษจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ

ขอบเขตการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

  1. การป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมพิเศษ ซึ่งได้แก่ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมที่มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง อาชญากรรมข้ามชาติ องค์การอาชญากรรมรวมทั้งอาชญากรรมอื่นที่สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้โดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในสังคมได้ทราบ ตระหนักและไม่หลงผิดไปกระทำความผิด การสืบสวนทั้งก่อนและหลังการกระทำความผิดเพื่อเป็นการป้องกันและป้องปรามการกระทำความผิด และการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดคดีพิเศษเพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษอันเป็นการปราบปรามการกระทำความผิด
  2. พัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการและมาตรการในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมพิเศษ โดยการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบและวิธีการปฏิบัติงานให้เท่าทันกับสถานภาพและแนวโน้มของอาชญากรรมพิเศษ ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการป้องกันตรวจสอบและตรวจพิสูจน์การกระทำความผิด มีการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เช่น ข้อมูลบุคคล แผนประทุษกรรม สถิติคดีและมูลค่าความเสียหาย หมายอาญา สำนวนการสอบสวน เป็นต้น
  3. พัฒนาบุคลากรในการเสริมสร้างศักยภาพในด้านความรู้ ความสามารถ และขวัญกำลังใจ โดยการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ของบุคลากรให้เท่าทันกับสถานภาพและ แนวโน้มของการกระทำความผิดที่มีการพัฒนารูปแบบวิธีการอยู่ตลอดเวลา ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานและขวัญกำลังใจในการทำงาน ด้วยการฝึกอบรมในด้านการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ จรรยาบรรณในวิชาชีพ การส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัย การให้ค่าตอบแทนและการจัดสวัสดิการในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม
  4. ประสานความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมพิศษจากหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ โดยการประสานความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องข้อมูลข่าวสารและการช่วยติดตาม จับกุมตัวผู้กระทำผิดการประสานความร่วมมือตำรวจสากล FBI และหน่วยงานต่างประเทศที่ เกี่ยวข้องในเรื่องข้อมูลข่าวสาร การช่วยติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิด การโอนตัวนักโทษและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การประชาสัมพันธ์ ภารกิจและผลการปฏิบัติงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแสดงความคิดเห็นจากประชาชน และการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือในการแจ้งข่าวคดีพิเศษจากประชาชนบทบาทภารกิจที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานเดิม

กองบังคับคดีการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติภารกิจเพียงการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชญากรรมพิเศษเท่านั้น นอกจากนี้ในการดำเนินคดีความผิดบางประเภทยังรับผิดชอบเฉพาะคดีที่เกิดใน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น หากแต่บทบาทภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้น นอกจากจะต้องดำเนินการป้องกัน ปรามปราบ และควบคุมอาชญากรรมพิเศษอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และคดีความผิดทางอาญาอื่นที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของ ประเทศหรือที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -