วิกิพีเดีย:กฎง่ายๆ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกิพีเดียอาจจะอยู่ไปอีกหลายศตวรรษ อะไรก็ตามที่คุณทำไว้ที่นี่จะยังคงปรากฏให้เห็นในวิกิพีเดียตลอดไป เนื่องจากทุกการแก้ไขในทุกบทความถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลของเรา และนั่นก็รวมถึงทุกอย่างที่คุณทำผิดพลาดด้วย
แต่ไม่ต้องห่วง! แค่จำสิ่งเหล่านี้ไว้ในใจระหว่างแก้ไข และจริง ๆ แล้วมันก็มีแค่ไม่กี่อย่างที่ สามารถ ผิดได้. แม้ว่ามันจะมีกฎและขั้นตอนเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าเพียงคุณทำตามสิ่งเหล่านี้ คุณก็จะได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างดี
เมื่อคุณมีประสบการณ์มากขึ้น คุณอาจจะเรียนรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติเรื่องรูปแบบ วิธีลัด ฯลฯ แต่ไม่ต้องห่วงจนเกินไป ถ้าคุณไม่เข้าใจอะไรในตอนแรก เดี๋ยวก็จะมีใครสักคนมาเก็บกวาดให้คุณเอง
[แก้] กฎ
- กล้าแก้! เอาเลย มันเป็นวิกิ!
ส่งเสริมคนอื่น, รวมถึงคนที่ไม่เห็นด้วยกับคุณ ให้ทุกคน กล้าแก้! - พึงประพฤติเยี่ยงอารยชน ต่อสมาชิกท่านอื่นเสมอ
- ปล่อยวางกฎทั้งหมด. ถ้ากฎปิดกั้นไม่ให้คุณปรับปรุงหรือดูแลวิกิพีเดียให้มีคุณภาพ จงลืมมันเสีย
- มุมมองที่เป็นกลาง (Neutral point of view, NPOV). เขียนจากมุมมองที่เป็นกลาง นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีการเจรจาต่อรองกันได้และเป็นหลักการพื้นฐานของวิกิพีเดีย ทำให้เราสามารถบรรยายโลกของเราอย่างยุติธรรม
- การพิสูจน์ยืนยันได้. บทความควรจะมีเฉพาะสาระที่เคยตีพิมพ์มาแล้วในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ. ผู้แก้ไขที่จะเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ลงในบทความ ควรจะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับข้อมูลชิ้นนั้น มิฉะนั้นมันจะถูกลบออกไปโดยผู้แก้คนใดก็ได้. การจัดหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่ต้องการจะเพิ่มข้อมูลเข้า ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ที่ต้องการจะลบข้อมูลออก.
- (แต่) เมื่อสงสัย, ไปที่ หน้าอภิปราย. เรามีเวลาเหลือเฟือที่จะหามติร่วมกัน.
- เคารพลิขสิทธิ์. วิกิพีเดียใช้สัญญาอนุญาต GNU Free Documentation License. ทุกอย่างที่คุณใส่เข้ามา จะต้องเข้ากันได้กับสัญญานั้น.
- คำอธิบายย่อการแก้ไขที่สามารถเข้าใจได้ และมีการอธิบายที่ชัดเจนนั้นเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เนื่องจากจะช่วยให้สมาชิกท่านอื่นรับรู้ และเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้แก้ไขต้องการกระทำแล้ว ยังเป็นรายการช่วยจำหากผู้แก้ไขห่างหายจากการแก้ไขบทความหนึ่ง ๆ ที่อาจทำค้างไว้เป็นเวลานาน สิ่งที่ควรระบุไว้คือ สิ่งที่แก้ไข และ เหตุผลของการแก้ไข หากคำอธิบายนั้นมีความยาวมาก สามารถนำไปบันทึกไว้ในหน้าอภิปรายได้ เนื่องจากหลักพื้นฐานสำคัญ (Foundation issues) ของวิกิพีเดียนั้น คือให้ทุกคนสามารถแก้ไขบทความได้ โดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน ด้งนั้นจึงมีการแก้ไขบทความเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และคำอธิบายอย่างย่อนี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจถึงการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ง่าย
- เชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี; หรือในนัยหนึ่งคือ พยายามคิดว่าคนที่เราสนทนาด้วยนั้น ก็เป็นคนมีความคิด มีเหตุผล ซึ่งพยายามที่จะทำสิ่งดี ๆ ให้กับวิกิพีเดีย — นอกเสียจากว่า, ย้ำว่า นอกเสียจากว่า, คุณมีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัด แน่นหนา และไม่ลำเอียงเท่านั้น. เพียงแค่การไม่เห็นด้วยกับคุณนั้น ไม่นับเป็นข้อพิสูจน์ได้
- โดยเฉพาะ, ไม่ย้อนการแก้ไขที่มีเจตนาดี. การย้อนการแก้ไขนั้นทรงพลังเกินไปหน่อยในบางครั้ง เราจึงมี กฎย้อนกลับสามข้อ.
- อย่าว่าร้ายผู้อื่น. อย่าเขียนว่าผู้ใช้คนนั้นคนนี้เป็นพวกโง่เง่า หรือแดกดันเขา/เธอ (แม้ว่าเขา/เธอจะเป็นจริง ๆ). แทนที่จะทำอย่างนั้น อธิบายว่าเขาทำอะไรผิด ทำไมมันถึงผิด และจะแก้ไขอย่างไร. ถ้าเป็นไปได้, แก้ไขมันด้วยตัวคุณเอง (แต่ดูข้างบนก่อน).
- นุ่มนวล: ใจกว้างกับสิ่งที่คุณได้รับ, ระมัดระวังกับสิ่งที่คุณทำ. พยายามอย่างเต็มที่ ยอมรับคำพูดเล่นสำนวนของผู้อื่น ในขณะเดียวกัน ก็พยายามพูดอย่างสุภาพ ชัดเจน ตรงไปตรงมา ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
- งดงานค้นคว้าต้นฉบับ, ขอความกรุณา. (เมื่อใดที่อ้างถึงแหล่งอ้างอิงเดียวบ่อยครั้ง เขียนมันลงด้วยคำพูดของคุณเอง) ดู อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย.
- ลงชื่อ. ลงชื่อในหน้าอภิปราย (พิมพ์ ~~~~ ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วย ชื่อผู้ใช้ของคุณ และวันเวลาที่คุณส่ง), แต่ไม่ต้องลงชื่อในหน้าบทความ
- ใช้ปุ่ม ดูตัวอย่าง เพื่อลดการแก้ซ้อนกัน
- Foundation issues: There are only 5 actual rules on Wikipedia: NPOV, a free license, the wiki process, the ability of anyone to edit, and the ultimate authority of Jimbo and the board on process matters. If you disagree strongly with them, you may want to consider whether Wikipedia is the right place for you at all. While anything can theoretically be changed on a wiki, the community up to this point has been built on these principles and is highly unlikely to move away from them in the future. A lot of thought has been put into them and they've worked for us so far; do give them a fair shake before attempting to radically change them or leaving the project.
[แก้] ดูเพิ่ม
- วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ (อธิบายโดยสรุป)
- วิกิพีเดีย:สามสามัญ (นโยบายง่าย ๆ 3 ข้อ)
- วิกิพีเดีย:ห้าเสาหลัก (นโยบายง่าย ๆ 5 ข้อ)
- วิกิพีเดีย:แนวปฏิบัติสำหรับหน้าอภิปราย
- en:User:Jimbo Wales/Statement of principles
- วิกิพีเดีย:อภิธานศัพท์
- Template:Associations/Wikipedia Bad Things
กฎง่ายๆ เป็นหน้านโยบาย หน้าความช่วยเหลือ หรือหน้าโครงการของวิกิพีเดียที่ยังไม่สมบูรณ์ หน้าความช่วยเหลือ และหน้าโครงการของวิกิพีเดียภาษาไทย อาจต่างกับวิกิพีเดียในภาษาอื่น ทั้งนี้ยืนอยู่บนนโยบายเดียวกัน |