จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
ความรู้คู่คุณธรรม |
|
|
ที่อยู่
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 |
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ |
Chulalongkorn University Demonstration School |
ผู้อำนวยการ |
รองศาสตราจารย์ลัดดา ภู่เกียรติ (ฝ่ายประถม), รองศาสตราจารย์วีระชาติ สวนไพรินทร์ (ฝ่ายมัธยม) |
สีประจำสถาบัน |
ชมพู |
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีประวัติการก่อตั้งโรงเรียนสืบเนื่องมาจากโรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดแผนกวิชาครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อการฝึกหัดครู ชั้นประโยคครูมัธยม ครั้นต่อมาโรงเรียนมัธยมหอวัง ได้เปลี่ยนรูปงานเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกวิชาครุศาสตร์จึงไม่มีโรงเรียนสำหรับฝึกหัดครูเป็นระยะเวลานานประมาณ 15 ปี
เมื่อแผนกวิชาครุศาสตร์ขยายงานเป็น คณะครุศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดี ท่านได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต เพื่อการฝึกหัดครูขั้นปริญญาขึ้นแทนโรงเรียนมัธยมหอวัง จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายประถม และ ฝ่ายมัธยม
โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ในอดีต
[แก้] ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2501 โดยศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อให้เป็นสถานฝึกปฏิบัติ การทางการศึกษาและเป็นสถานที่ฝึกการปฏิบัติงานครูของคณะครุศาสตร์ก่อนที่นิสิตจะจบการศึกษาและไป ทำหน้าที่ครูต่อไปโดยมีวัตถุประสงค ์ในการก่อตั้งโรงเรียน ดังนี้
- เพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติงานในด้านวิชาการของคณะครุศาสตร์
- เพื่อเป็นสถานศึกษา วิจัย ทดลอง ค้นคว้าหาความรู้ และแนวปฏิบัติที่จะปรับปรุงวิชาครุศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
- เพื่อเป็นแหล่งวิทยาการทางการจัดและดำเนินการศึกษา การเรียนการสอนในระดับ ต่าง ๆ ที่เน้นทั้งวิชาการและคุณธรรม
- ปีการศึกษา 2501 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนเป็นปีแรก โดยรับนักเรียนเข้าเรียนสองระดับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งโรงเรียนมีปัญหาเรื่องสถานที่เรียนเป็นอันมาก แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัย ให้ใช้สถานที่ ที่สร้างเป็นที่ประกอบอาหารของหอพักนิสิต(ตอนนั้นหอพักยังไม่ได้สร้างแต่ได้สร้างส่วนที่เป็นครัวขึ้นก่อน)เป็นสถานที่เรียนทั้ง 2 ระดับติดต่อกัน ตลอดปีการศึกษา 2501
- ปีการศึกษา 2502 มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องต่อเติมอาคารหอพัก ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จรวมทั้งส่วนที่เป็นครัว ซึ่งใช้เป็นที่เรียนขณะนั้นด้วย โรงเรียนจึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ใหม่ โดยไปเรียนที่ คณะครุศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นกำลังก่อสร้างอาคารสถานที่เช่นเดียวกัน คณะเห็นว่าการดำเนินงานของโรงเรียนมีปัญหาและอุปสรรคมาก จึงขอให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ ในที่สุดก็ได้บ้านพักอาจารย์หลังหนึ่ง ซึ่งเดิม เป็นที่พักของอาจารย์ชาวต่างประเทศที่รับราชการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนั้นอาคารชำรุดมากต้องซ่อมแซม เมื่อแล้วเสร็จจึงเปิดเป็นอาคารเรียนขึ้น จากนั้นบ้านหลังนี้ก็กลายสภาพเป็นโรงเรียนเรื่อยมา (ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบูรณะและอนุรักษ์ไว้ ตั้งชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” )
- ปี พ.ศ. 2512 คณะครุศาสตร์ ได้ปรับปรุงระบบงานใหม่ เพื่อให้โรงเรียนสาธิตทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติงานแก่อาจารย์ และนิสิตคณะครุศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น จึงได้แยก หน่วยงาน ออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายประถม และ ฝ่ายมัธยม มีอาจารย์ใหญ่ ทำหน้าที่ บริหารโรงเรียนแต่ละฝ่าย โดยมีแผนกวิชาประถมศึกษา และ แผนกวิชามัธยมศึกษา ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการ ภายหลังที่ได้แยกงานบริหารโรงเรียนออกเป็น 2 ฝ่ายแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวาระของการบริหารงานในโรงเรียน
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 2
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 3
- นายแพทย์ทนงสรรค์ สุธาธรรม
- นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์
- นายอนุชา โมกขะเวส
- พล.ต.ท.กฤษฎา พันธ์คงชื่น
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 6
- ดร.จิรนิติ หะวานนท์
- นายพิจิต เหล่าสุนทร
- นายพันธ์เลิศ ใบหยก
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 7
- นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 8
- ดร.สรจักร์ เกษมสุวรรณ
- ดร.เกรียงไกร เลิศทัศนีย์
- ภานุ อิงคะวัต
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 9
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 10
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 11
- ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ศัลย์แพทย หัวใจ
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 15
- นายสุทธิศักดิ์ สุจริตตานนท์
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 17
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 19
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 21
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 22
- รัดเกล้า อามระดิษฐ์ ศิลปิน นักร้อง
- สิรคุปต์ เมทะนี ศิลปิน นักแสดง นักขับรถแข่ง
- ทญ.อตินุช มาลากุล ณ อยุธยา (ลัดพลี) ทันตแพทย์ ศิลปิน นักดนตรี พิธีกรรายการโทรทัศน์
- ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ แพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- สาระ ล่ำซำ นักธุรกิจกรรมการผู้จัดการบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
- สาธิตจุฬาฯรุ่น 30
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น