จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ |
Faculty of Economics Chulalongkorn University |
คณบดี |
ศ.ดร. ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ |
วารสาร |
วารสารเศรษฐศาสตร์
(J. of Economics) |
สีประจำคณะ |
สีทอง |
สัญลักษณ์คณะ |
เฟือง รวงข้าว และคันไถ |
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะลำดับที่ 12 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมี 10 หลักสูตร ซึ่ง 7ใน 10 หลักสูตร เป็นหลักสูตรนานาชาติ และมีการแลกเปลี่ยนนิสิตและคณาจารย์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 19 แห่งทั่วโลก
[แก้] ประวัติ
ศาสตราจารย์อาภรณ์ กฤษณามระ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในสมัยนั้น ใน พ.ศ. 2510 ได้ริเริ่มและเสนอโครงการยกฐานะแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ขึ้นเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสภาการศึกษาแห่งชาติ แต่สภาการศึกษาแห่งชาติได้พิจารณาหลักสูตรการศึกษาของโครงการดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า หลักสูตรนั้น มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรการศึกษาของแผนกวิชาการคลัง คณะรัฐศาสตร์ อยู่มาก น่าที่จะพิจารณารวมการดำเนินงานเข้าด้วยกัน จึงส่งเรื่องมาให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาอีกครั้ง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2513 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว เนื่องจากวิชาเศรษฐศาสตร เป็นวิชาที่สำคัญและจำเป็นในการวางแผนพัฒนาประเทศประกอบกับขณะนั้น ในประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จำนวนมาก การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขณะนั้นได้แยกกันจัดดำเนินการโดยสองแผนกวิชา คือ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และแผนกวิชาการคลัง คณะรัฐศาสตร์ ให้ยุบแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์และแผนกวิชาการคลัง แล้วจัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโอนอาจารย์ของทั้ง 2 แผนกมาสังกัดคณะใหม่ โดยในขั้นแรกเปิดสอน 4 แผนกวิชา คือ เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี เศรษฐศาสตร์พัฒนาการ เศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
[แก้] สัญลักษณ์ประจำคณะ
[แก้] หลักสูตร
บริเวณด้านหน้าของคณะเศรษฐศาสตร์
- ระดับปริญญาบัณฑิต
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) (หลักสูตรนานาชาติ)
- ระดับปริญญามหาบัณฑิต
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขา เศรษฐศาสตร์การเมือง
- สาขา Business and Managerial Economics (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขา International Economics and Finance (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขา Labor Economics and Human Resource Management (หลักสูตรนานาชาติ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขา Health Economics (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขา Environmental and Natural Resource Economics (หลักสูตรนานาชาติ)
- ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
[แก้] อ้างอิง
- หนังสือเปิดรั้วจามจุรี : สาราณียากร องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น