โรคไข้เลือดออก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไข้เลือดออก (Dengue fever) |
|
---|---|
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด แสดงเชื้อไข้เลือดออก | |
การจำแนกประเภทโรค และแหล่งข้อมูลอื่น | |
ICD-10 | A90. |
ICD-9 | 061 |
DiseasesDB | 3564 |
MedlinePlus | 001374 |
eMedicine | med/528 |
MeSH | C02.782.417.214 |
โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งและมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในเด็กอายุ 5-10 ปี
เนื้อหา |
[แก้] สาเหตุ
โรคไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ไวรัสเดงกีเป็น RNA virus อยู่ใน Family Flavividae, Genus Flavivirus มี 4 ซีโรทัยป์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4
[แก้] อาการ
[แก้] ระยะไข้สูง
มีอาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 °c ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต การตรวจ Tourigust test ให้ผลบวก
[แก้] ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)
ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง บางรายซึมมากขึ้น ปัสสาวะน้อย อาจมีเลือดออกในกระเพาะ ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนและได้รับการรักษาทันและถูกต้องระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชัวโมง แล้วเข้าสู่ระยะฟื้น
[แก้] ระยะฟื้น
อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน
[แก้] การรักษา
- ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำ/น้ำเกลือแร่มากๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ปัสสาวะควรมีสีใส
- ควรพบแพทย์เป็นระยะๆ ตามนัดเพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
- ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อคและมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงทีหรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล
- ให้ยาแก้ไข้ พาราเซตามอลแต่ห้ามใช้ยาแอสไพรินเพราะทำให้ระคายกระเพาะโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกร็ดเลือดผิดปกติ
- วัคซีน ยังไม่มีให้ฉีด อยู่ในขั้นทดลองเท่านั้น
[แก้] วิธีป้องกัน
- พยายามไม่ให้ยุงกัด
- ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
- ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
- รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้นและควบคุมโรคก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่ม
[แก้] หมายเหตุ
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข