แม็กนาวอกซ์โอดีสซี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม็กนาวอกซ์โอดีสซี Magnavox Odyssey |
|
---|---|
ผู้ผลิต | แม็กนาวอกซ์ |
ชนิด | เครื่องเล่นวีดีโอเกม |
ยุค | ยุคที่หนึ่ง |
ออกจำหน่าย | ฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2517 |
ซีพียู | ไม่มี |
สื่อที่ใช้ | ตลับเกม |
เกมยอดนิยม | Table Tennis |
รุ่นถัดไป | แม็กนาวอกซ์โอดีสซี² |
แม็กนาวอกซ์โอดีสซี (Magnavox Odyssey) เป็นเครื่องเล่นเกมเครื่องแรกขอกโลก โดยเริ่มนำมาแสดงสาธิตการใช้งานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เป็นเครื่องเล่นเกมที่ออกมาก่อน ป็อง ของอาตาริหลายปี เครื่องเล่นนี้ออกแบบโดย นายราล์ฟ แบร์ ซึ่งได้วางต้นแบบสำเร็จในปี พ.ศ. 2511 โดยมีต้นแบบชื่อว่า กล่องน้ำตาล (Brown Box"[1]) โดยเครื่องต้นแบบปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ในวอร์ชิงตัน ดีซี
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
แม็กนาวอกซ์โอดีสซีออกวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2515 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะการตลาดที่อ่อนแอของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายของแม็กนาวอกซ์ ในอีกไม่กี่เดือนถัดมา ผู้บริโภคหลายคนถูกทำให้เชื่อว่าเครื่องเล่นเกมนี้สามารถเล่นได้กับเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ของแม็กนาวอกซ์เท่านั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้เครื่องเล่น ป็อง ของอาตาริที่ออกตัวในภายหลังได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า "เครื่องเล่นเกม ป็อง สามารถเล่นได้กับเครื่องรับโทรทัศน์ทุกเครื่องไม่ว่าจะเป็นขาวดำ หรือสี" แม็กนาวอกซ์ได้ฟ้องศาลแก่ นายโนลัน บุชเนลล์ ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์การออกแบบของเครื่องเล่น ป็อง ที่มีเกมปิงปองเหมือนกันกับโอดีสซี ในช่วงทศวรรษหลังจากนั้น แม็กนาวอกซ์ได้ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท เช่น โคเลโก, แมทเทล, ซีเบิร์ก, แอคติวิชัน เป็นต้น ซึ่งผลก็มีทั้งชนะความ และชนะการบังคับคดีอีกด้วย.[2][3] ในปี พ.ศ. 2528 แม็กนาวอกซ์ถูกฟ้องร้องโดยนินเทนโดแทน และพยายามที่จะให้สิทธิบัตรของนายราล์ฟ แบร์ เป็นโมฆะ โดยนินเทนโดกล่าวว่าเครื่องเล่นวิดิโกมเครื่องแรกคือเกม Tennis For Two ของฮิกกินโบธแฮม (Higginbotham's Tennis For Two) ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2501 แต่ศาลตัดสินว่าเกมของฮิกกินโบธแฮม ไม่ได้ใช้ระบบส่งสัญญาณวิดิโอ จึงไม่เป็นเครื่องวิดิโอเกม ผลการตัดสินทำให้นินเทนโดพ่ายไปในที่สุด และจ่ายค่าเสียหายให้กับ Sanders Associates
นายราล์ฟ แบร์ ดำเนินการคิดค้นเครื่องเล่นเกมแบบคลาสสิก "ไซมอน" ให้กับแมทเทลใน พ.ศ. 2521 ในเวลาต่อมา แม็กนาวอกซ์ได้วางจำหน่ายเครื่องเล่นเกมที่มีลักษณะคล้ายเครื่องเล่น ป็อง ที่มีขนาดย่อส่วนลงมาภายใต้ชื่อเดิม "โอดีสซี" (เป็นรุ่นที่ไม่ใช้ตลับเกม) และอีกรุ่นหนึ่งถัดมา "โอดิสซี²" ที่ใช้ตลับเกมและสามารถตั้งโปรแกรมได้
การร่วมทุนครั้งแรกในวงการเกมอิเล็กทรอนิกส์ของนินเทนโด คือการกระจายสินค้าแม็กนาวอกซ์โอดีสซีในประเทศญี่ปุ่นใน 1975 ก่อนที่นินเทนโดจะผลิตเครื่องเล่นเกมเป็นของตนเอง
[แก้] รายชื่อเกม
- Analogic
- Baseball
- Basketball
- Brain Wave
- Cat & Mouse
- Dogfight
- Football
- Fun Zoo
- Handball
- Haunted House
- Hockey
- Invasion
- Interplanetary Voyage
- Percepts
- Prehistoric Safari
- Roulette
- Shooting Gallery
- Shootout
- Simon Says
- Ski
- Soccer
- States
- Submarine
- Table Tennis
- Tennis
- Volleyball
- Win
- Wipeout
[แก้] อ้างอิง
- ^ เกร็ก ออร์แลนโด (2007-05-15). Console Portraits: A 40-Year Pictorial History of Gaming. Wired News. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-09-08
- ^ Magnavox Patent. New York Times (1982-10-08). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-02-25
- ^ Magnavox Settles Its Mattel Suit. New York Times (1983-02-16). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-02-25
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Magnavox Odyssey พิพิธภัณฑ์โอดิสซีออนไลน์
- เรื่องของราล์ฟ แบร์ ในการพัฒนาเครื่องเล่น โอดีสซี
- The Dot Eaters entry ประวิติของโอดีสซี
เครื่องเล่นวิดีโอเกมที่นิยมในแต่ละยุค | |
ยุคหนึ่ง | โคเลโคเทลสตาร์ - ป็อง - แม็กนาวอกซ์โอดีสซี |
ยุคสอง | แฟร์ไชล์ แชนนอล เอฟ - อาตาริ 2600 - อินเทลลิวิชัน - อินเตอร์ตัน วีซี 4000 - โอดีสซี² - อาร์เคเดีย 2001 - อาตาริ 5200 - โคเลโกวิชัน - เว็คเทร็กซ์ - เอสจี-1000 |
ยุคสาม | แฟมิคอม - มาสเตอร์ซิสเตม - อาตาริ 7800 |
ยุคสี่ | ซูเปอร์แฟมิคอม - นีโอจีโอ - เซก้า เมก้าไดรฟ์ - เทอร์โบกราฟเอ็กซ์-16 |
ยุคห้า | 3DO - จากัวร์ - แซทเทิร์น - นินเทนโด 64 (ไอคิว) - เพลย์สเตชัน - เวอร์ชวลบอย - อะมีก้า ซีดี 32 |
ยุคหก | เกมคิวบ์ - ดรีมแคสต์ - เพลย์สเตชัน 2 - เอกซ์บอกซ์ |
ยุคเจ็ด | เพลย์สเตชัน 3 - วี - เอกซ์บอกซ์ 360 |