เอริก กองโตนา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมูลส่วนตัว | ||
---|---|---|
ชื่อเต็ม | Éric Daniel Pierre Cantona | |
วันเกิด | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1966 | |
สถานที่เกิด | มาร์กเซย ประเทศฝรั่งเศส | |
ส่วนสูง | 188 ซ.ม. (6 ฟุต 2 นิ้ว) | |
ฉายา | Eric the King | |
ตำแหน่ง | กองหน้า | |
สโมสรเยาวชน | ||
1981-1983 | โอแซร์ | |
สโมสรอาชีพ* | ||
ปี | สโมสร | ลงเล่น (ประตู) |
1983-1985 1985-1986 1986-1988 1988-1989 1989 1989-1990 1990-1991 1991 1992 1992-1997 |
โอแซร์ มาร์ตีกส์ โอแซร์ โอลิมปิกมาร์กเซย บอร์กโดช์ มงเปลลิเยร์ โอลิมปิกมาร์กเซย นีมส์ ลีดส์ยูไนเต็ด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
--- --- 82 (23) --- 11 (6) 33 (10) 40 (13) 16 (2) 28 (9) 144 (64) |
ทีมชาติ | ||
1987-1994 | ฝรั่งเศส | 43 (19) |
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้ทีมสโมสร |
เอริก แดเนียล ปิแอร์ กองโตนา (Éric Daniel Pierre Cantona) (เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) ที่เมือง มาร์กเซย์ ประเทศฝรั่งเศส) เล่นฟุตบอลอาชีพกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นสโมสรสุดท้าย ซึ่ง คันโตนา ประสบความสำเร็จได้แชมป์พรีเมียร์ลีก ถึง 4 สมัย ภายในเวลา 5 ปี รวมไปถึงการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกและฟุตบอลถ้วย เอฟเอคัพ ภายในฤดูกาลเดียวกันอีกสองสมัย
ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ได้รับการโหวตจากแฟนๆ ของทีม ให้เป็นนักฟุตบอลแห่งศตวรรษ แฟนๆ ยังคงกล่าวถึงคันโตนา โดยเรียกเขาว่า "เอริก เดอะ คิง" จนถึงทุกวันนี้
เนื้อหา |
[แก้] การเล่นฟุตบอลในฝรั่งเศส
คันโตนา เริ่มเล่นฟุตบอลกับสโมสรโอลิมปิกมาร์กเซย(โอ'แอม) เป็นคนที่ค่อนข้างหัวเสียง่าย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ในขณะที่ลงแข่งขันนัดกระชับมิตร กับ ทีมตอร์ปิโด มอสโก เขาถูกเปลี่ยนตัวออก แล้วได้แสดงอาการไม่พอใจ ด้วยการ ฉีกเสื้อและขว้างมันทิ้ง เขาถูกลงโทษห้ามลงแข่งเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้น สองถึงสามสัปดาห์ เขาก็ได้ออกมากล่าวโจมตี โค้ชทีมชาติฝรั่งเศสทางทีวีอีกด้วย
กองโตนาย้ายสู่ บอร์กโดซ์ ด้วยสัญญายืมตัว หลัง จากนั้นก็ได้ย้ายไปเล่นให้กับ มงเปลลิเย่ร์ ซึ่งเขาได้สัมผัสกับถ้วยแชมป์ เฟร้นช์ คัพ เป็นครั้งแรก ก่อนจะถูก มาร์กเซย์ดึงตัวกลับมา แต่ เขาก็ยังถูกขายให้กับ นีมส์
เขาถูกห้ามลงแข่งขันอีกครั้งเป็นเวลา 1 เดือน จากการขว้างบอลใส่ผู้ตัดสิน และกองโตนาก็ให้สัมภาษณ์วิจารณ์คำตัดสิน จึงถูกลงโทษเพิ่มเป็น 2 เดือน และนี่เองเปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้ายของคันโตนา เขาจึงตัดสินใจ แขวนสตั๊ด
ต้องขอบคุณแฟนฟุตบอลพันธ์แท้รายหนึ่ง ที่ชักจูงให้คันโตนากลับมาเริ่มต้นเล่นฟุตบอลอีกครั้ง ที่ประเทศอังกฤษ
[แก้] การเล่นฟุตบอลในอังกฤษ
หลังจากมาทดสอบฝีเท้ากับสโมสร เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ คันโตนา ก็ได้ย้ายเข้าสู่สโมสร ลีดส์ ยูไนเต็ด ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) คันโตนาพายูงทองเถลิงบัลลังก์แชมป์ดิวิชั่น 1(เดิม)ได้ทันทีในฤดูกาลนั้นเอง (1991-1992)เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น คันโตนาก็ย้ายสโมสรอีกครั้งหนึ่ง เข้าสังกัดทีมปีศาจแดง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัวที่ปีศาจแดงจ่ายให้กับลีดส์เพียงแค่ 1.2 ล้านปอนด์ เท่านั้น
ขณะนั้นทีมปีศาจแดงกำลังประสบกับปัญหาปืนฝืด ไม่สามารถทำประตูคู่แข่งได้เนื่องมาจากการที่สโมสรขาย มาร์ค โรบิน และ ดิออน ดับลิน ประสบปัญหาการบาดเจ็บ
อย่างไรก็ตาม คันโตนาปรับตัวเข้ากับสโมสรแห่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเขาสามารถทำประตูและส่งให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
2 ฤดูกาลต่อมา ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง คว้าแชมป์ลีกในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)และ ดับเบิ้ลแชมป์ในปี พ.ศ. 2537(ค.ศ. 1994)ซึ่งคันโตนาทำประตูจากลูกจุดโทษสองประตูถล่ม เชลซี ในนัดชิงชนะเลิศ เอฟเอคัพ 4-0
คันโตนาก่อเรื่องน่าอายขึ้นในเกมเยือน คริสตัลพาเลซ เดือนมกราคม ฤดูกาลถัดมา(พ.ศ. 2538)(ค.ศ. 1995) เมื่อกระโดดถีบใส่ แมทธิว ซิมม่อนส์ แฟนบอลทีมเจ้าบ้าน หลังจากโดนผู้ตัดสินไล่ออกจากสนาม
ในงานแถลงข่าวภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มนักข่าวพากันมารอสัมภาษณ์คันโตนา ซึ่งคันโตนาได้เดินเข้ามานั่ง ก่อนจะกล่าวว่า "เมื่อนกนางนวลบินตามเรือประมง...ก็เพราะพวกมันคิดว่าปลาซาร์ดีนจะถูกโยนลงมาในทะเล" เพียงเท่านี้เขาก็ลุกออกจากห้องไป สร้างความงุนงงให้กับกองทัพนักข่าวทั้งหลาย
คันโตนาถูกศาลชั้นต้นสั่งลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนบทลงโทษให้เป็นทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 120 ชั่วโมงแทน นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลอังกฤษยังสั่งลงโทษคันโตนาห้ามลงสนามจนกว่าจะถึงเดือนตุลาคมอีกด้วย
มีการคาดการณ์กันไปต่างๆ นานา ว่าคันโตนาอาจจะยุติการค้าแข้งที่อังกฤษหลังจากพ้นโทษแบน แต่ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เป็นผู้ที่ชักจูงให้คันโตนาอยู่กับทีมต่อไป ซึ่งในช่วงต้นฤดูกาลนั้นสโมสรได้ขายผู้เล่นสำคัญบางคนออกไปและเลื่อนชั้นนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาแทน ทำให้ความหวังในการคว้าแชมป์ไม่สู้จะดีนักเช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
คันโตนายิงประตูจากลูกจุดโทษในเกมพบกับ ลิเวอร์พูลได้ในนัดประเดิมสนามหลังจากพ้นโทษ และประตูของเขาก็ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้หลังจากต้องเป็นฝ่ายไล่ตามหลัง 10 คะแนนตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา และเป็นทีมแรกที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้สองสมัยติดต่อกันหลังจากคันโตนาทำประตูชัยได้ในนัดชิงชนะเลิศ เอฟเอคัพ
ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ได้อีกครั้งในฤดูกาล 1996/1997 ทำให้คันโตนาได้แชมป์ลีกไปแล้วถึง 6 ครั้งในรอบ 7 ปี ยก เว้นเพียงปีที่เขาโดนแบนเท่านั้น หลังฤดูกาลจบลง คันโตนา ก็สร้างความประหลาดใจให้กับแฟนบอล ด้วยการประกาศเลิกเล่น ในขณะที่อายุเพิ่งจะ 30 ปีเท่านั้น ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานได้หันเหไปเล่นฟุตบอลชายหาดให้กับทีมชาติฝรั่งเศส โดยเป็นกัปตันทีมด้วย
ในปี พ.ศ. 2547(ค.ศ. 2004) คันโตนาได้ให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยได้กล่าวว่า "ผมภูมิใจที่แฟนๆ ยังคงร้องเรียกชื่อผม แต่ผมกลัวว่าพรุ่งนี้พวกเขาอาจจะไม่ทำเช่นนั้น ผมกลัวเพราะผมรักมัน และทุกๆ สิ่งที่คุณรัก คุณก็ต้องกลัวที่จะเสียมันไป" คำพูดนี้ได้ถูกนำมาประกอบลงไปใน วอลเปเปอร์ของสโมสรที่ให้แฟนๆ เข้าไปโหลดได้ที่เว็บไซต์ [1]
[แก้] การเล่นให้กับทีมชาติฝรั่งเศส
คันโตนาเป็นที่ชื่นชอบของ มิเชล พลาตินี่ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมชาติในขณะนั้น ซึ่งพลาตินี่พูดถึงคันโตนาว่า เขาจะต้องเลือกคันโตนาเป็นหนึ่งในขุนพล เลอ เบลอส์ อย่างแน่นอน ถ้ายังเล่นได้อย่างสุดยอด พลาตินี่เป็นอีกคนหนึ่งที่ริเริ่มความคิดการเล่นฟุตบอลในอังกฤษให้กับคันโตนา
ภายหลังล้มเหลวจากศึกยูโร92 ที่ประเทศสวีเดน พลาตินี่ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งขณะนั้นฝรั่งเศสมีคู่ศูนย์หน้า คือ คันโตนา และ ฌอง-ปิแอร์ ปาแปง ผู้ที่เข้ามารับงานต่อจากพลาตินี่ก็คือ เชราร์ อุลลิเย่ร์
ฝรั่งเศสไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกไปเล่นฟุตบอลโลกที่ สหรัฐอเมริกาได้ในอีกสองปีต่อมา หลังจากที่แพ้บัลแกเรียคาบ้าน 2 ต่อ 1 ซึ่งฝรั่งเศสต้องการเพียงแค่ผลเสมอ ในเกมนั้น ดาวิด ชิโนล่าทำบอลเสียนำไปสู่การได้ประตูชัยของบัลแกเรียโดย เอมิล คอสตาดินอฟ ทำให้คันโตนาโกรธ ชิโนล่า มาก หลังเกมนั้น อุลลิเย่ร์ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ ไอเม่ ฌักเก้ต์ เข้ามาสานงานต่อ
สองปีต่อมาฝรั่งเศสผ่านเข้าไปเล่นในยูโร 96 ที่อังกฤษได้สำเร็จ ซึ่ง ฌักเก้ต้ ได้ทำการปรับปรุงทีม โดยใช้ผู้เล่นสายเลือดใหม่สองสามคน หนึ่งในนั้นก็คือ มิดฟิลด์จอมทัพซึ่งมีลีลาการเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจและมีความเป็นผู้นำสูงอย่าง ซีเนดีน ซีดานโดย คันโตนาถูกหมางเมิน
หลายฝ่ายต่างคาดการณ์กันว่า กองโตนาคงจะหลุดจากทีมชาติชุดลุยบอลโลกที่ประเทศตัวเองอย่างแน่นอน และมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า คันโตนา ประกาศเลิกเล่นตอนสิ้นปี พ.ศ. 2542(ค.ศ. 1997)ก็เพราะว่า ต้องการหลีกเลี่ยงแรงกดดันที่ ฌักเก้ต์ และ ทีมชาติฝรั่งเศสต้องเผชิญจากการที่ไม่เลือกเขาร่วมทีม
ฝรั่งเศสสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกที่ประเทศตัวเองได้สำเร็จ โดย ซีดานทำสองประตูในนัดชิงชนะเลิศกับ บราซิล
[แก้] ชีวิตหลังเลิกค้าแข้ง
หลังจากแขวนสตั๊ดแล้วคันโตนา หันเหไปเป็นนักแสดงในประเทศฝรั่งเศส นอกจากเป็นนักแสดงแล้ว เขายังเป็น ผู้กำกับภาพยนตร์ขนาดสั้นด้วย คันโตนาเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง เอลิซาเบ็ท ที่เขาเล่นเป็นทูตชาวฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาก็ยังรับจ๊อบเป็นนายแบบโฆษณาให้กับบริษัทไนกี้ด้วย
ในช่วงก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002(พ.ศ. 2545)คันโตนาก็เล่นภาพยนตร์โฆษณาให้กับไนกี้ร่วมกับ เธียร์รี่ อองรี โรเบอร์โต้ คาร์ลอส โรนัลโด้และหลุยส์ ฟิโก้ โดยก่อนหน้านี้ เขาก็เคยเล่นภาพยนตร์โฆษณาให้กับไนกี้ในประเทศอังกฤษ ในการปรากฏตัวร่วมกับ เอียน ไรท์ สตีฟ แม็คมานามาน และ ร้อบบี้ ฟาวเลอร์ด้วย
สมัยก่อนหน้า: พอล แม็คกรัธ |
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ พ.ศ. 2537 |
สมัยถัดไป: อลัน เชียเรอร์ |
สมัยก่อนหน้า: เจอร์เก้น คลิ้นส์มันส์ |
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ พ.ศ. 2539 |
สมัยถัดไป: จิอันฟรังโก้ โซล่า |