เขตภาษีเจริญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
เขตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับและเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี คลองตาม่วง คลองสวนเลียบ คลองวัดโคนอน คลองบางหว้า คลองสวนหลวง คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ ลำประโดง คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัด เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่น เป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ที่มาของชื่อเขต
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้
[แก้] ประวัติศาสตร์
จากนั้นได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองภาษีเจริญมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นในปี พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี และในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และในปี พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค
[แก้] สถานที่สำคัญ
- วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- วัดอัปสรสวรรค์
- วัดนางชีวรวิหาร
- วัดนวลนรดิศวรวิหาร
- ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า
- วัดนิมมานรดี
- วัดทองศาลางาม
- วัดคูหาสวรรค์
- วัดจันทร์ประดิษฐาราม
- มหาวิทยาลัยสยาม
- ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค บางแค
- โรงพยาบาลพญาไท 3
- โรงพยาบาลบางไผ่
- โรงพยาบาลภาษีเจริญ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง 55 หมู่บ้าน คือ
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2550) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2550) |
---|---|---|---|---|---|---|
บางหว้า | Bang Wa |
|
|
|
|
|
บางด้วน | Bang Duan |
|
|
|
|
|
บางจาก | Bang Chak |
|
|
|
|
|
บางแวก | Bang Waek |
|
|
|
|
|
คลองขวาง | Khlong Khwang |
|
|
|
|
|
ปากคลองภาษีเจริญ | Pak Khlong Phasi Charoen |
|
ไม่มีระบบหมู่บ้าน |
|
|
|
คูหาสวรรค์ | Khuha Sawan |
|
ไม่มีระบบหมู่บ้าน |
|
|
|
ทั้งหมด | 17.18 | 55 | 134,407 | 7,823 | 45,243 |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
||
---|---|---|
ฝั่งธนบุรี | คลองสาน • จอมทอง • ตลิ่งชัน • ทวีวัฒนา • ทุ่งครุ • ธนบุรี • บางกอกน้อย • บางกอกใหญ่ • บางขุนเทียน • บางแค • บางบอน • บางพลัด • ภาษีเจริญ • ราษฎร์บูรณะ • หนองแขม | |
ฝั่งพระนคร | คลองเตย • คลองสามวา • คันนายาว • จตุจักร • ดอนเมือง • ดินแดง • ดุสิต • บางกะปิ • บางเขน • บางคอแหลม • บางซื่อ • บางนา • บางรัก • บึงกุ่ม • ปทุมวัน • ประเวศ • ป้อมปราบศัตรูพ่าย • พญาไท • พระโขนง • พระนคร • มีนบุรี • ยานนาวา • ราชเทวี • ลาดกระบัง • ลาดพร้าว • วังทองหลาง • วัฒนา • สวนหลวง • สะพานสูง • สัมพันธวงศ์ • สาทร • สายไหม • หนองจอก • หลักสี่ • ห้วยขวาง |
เขตภาษีเจริญ เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตภาษีเจริญ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |