เขตจอมทอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
เขตจอมทอง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีคลองตาฉ่ำ คลองรางบัว คลองสวนหลวง คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน คลองสวนเลียบ คลองตาม่วง คลองวัดนางชี คลองบางหลวงน้อย และคลองวัดใหม่ยายนุ้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำปี คลองตาสุก และคลองบัวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียนและเขตบางบอน มีคลองวัดกก คลองสนามชัย ลำประโดง และคลองวัดสิงห์เป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ประวัติศาสตร์
บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้น เนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508 ซึ่ง ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยโอนพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา
ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง
ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ท้องที่สำนักงานเขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. | บางขุนเทียน | (Bang Khun Thian) | |
2. | บางค้อ | (Bang Kho) | |
3. | บางมด | (Bang Mot) | |
4. | จอมทอง | (Chom Thong) |
[แก้] การคมนาคม
ในพื้นที่เขตจอมทองมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 2
- ถนนเอกชัย
- ถนนวุฒากาศ
- ถนนจอมทอง
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
- ถนนกำนันแม้น
- ถนนพุทธบูชา
- ถนนจอมทองบูรณะ
- ถนนรัตนกวี พระรามที่ 2 ซอย 28 (วัดสีสุก) และซอยจอมทอง 19 (วัจนะ)
- พระรามที่ 2 ซอย 33 (วัดยายร่ม)
- พระรามที่ 2 ซอย 47 (อนามัยงามเจริญ)
- ซอยสุขสวัสดิ์ 14 (สถานีตำรวจบางมด)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
||
---|---|---|
ฝั่งธนบุรี | คลองสาน • จอมทอง • ตลิ่งชัน • ทวีวัฒนา • ทุ่งครุ • ธนบุรี • บางกอกน้อย • บางกอกใหญ่ • บางขุนเทียน • บางแค • บางบอน • บางพลัด • ภาษีเจริญ • ราษฎร์บูรณะ • หนองแขม | |
ฝั่งพระนคร | คลองเตย • คลองสามวา • คันนายาว • จตุจักร • ดอนเมือง • ดินแดง • ดุสิต • บางกะปิ • บางเขน • บางคอแหลม • บางซื่อ • บางนา • บางรัก • บึงกุ่ม • ปทุมวัน • ประเวศ • ป้อมปราบศัตรูพ่าย • พญาไท • พระโขนง • พระนคร • มีนบุรี • ยานนาวา • ราชเทวี • ลาดกระบัง • ลาดพร้าว • วังทองหลาง • วัฒนา • สวนหลวง • สะพานสูง • สัมพันธวงศ์ • สาทร • สายไหม • หนองจอก • หลักสี่ • ห้วยขวาง |
เขตจอมทอง เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตจอมทอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |