อำเภองาว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
อำเภองาวเป็นหนึ่งในบรรดา 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 83 กิโลเมตร อำเภองาวเป็นอำเภอชายแดนติดกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประมาณ 1,815 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำปาง ที่ว่าการอำเภอปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน สายลำปาง-พะเยา บริเวณบ้านหนองเหียง ห่างจากตัวเมืองพะเยาประมาณ 50 กิโลเมตร และจังหวัดแพร่ 89 กิโลเมตร
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติความเป็นมาอำเภองาว
อำเภองาวเดิมมีชื่อว่า เมืองเงิน เป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนาล้านนา มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของเมืองเขลางค์นคร เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าวเป็นอาวุธสำคัญ เมื่อข้าศึกจากเมืองลื้อเมืองเขินเข้ามารุกรานเมืองเขลางค์นครก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าถึงเมืองเขลางค์นครได้ พอถึงเมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยว ที่มารุกรานถึงเมืองเงี้ยว เมืองลื้อ เมืองเขินจนถึงแคว้นสิบสองปันนา ได้รับชัยชนะ จนเป็นที่ร่ำลือ เจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงินเป็นบำเหน็จคุณงามดีและความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง จึงเรียกเจ้าเมืองว่า พระยาง้าวเงิน และเรียกชื่อเมืองว่า เมืองง้าวเงิน กาลเวลาผ่านมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองงาว ตามลำดับ
- อีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมืองงาวเป็นสถานที่ประทับและสวรรตของพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา สหายร่วมน้ำสาบานกับสองมหาราชคือ พ่อขุนเม็งรายมหาราช และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อพ่อขุนงำเมืองได้มอบราชกิจต่างๆ ในการปกครองบ้านเมืองให้พญาคำแดงราชบุตร แล้วเสด็จได้ไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว ปี พ.ศ. 1841 พ่อขุนงำเมืองก็สิ้นพระชนม์ รวมพระชนม์มายุได้ 60 ปี
[แก้] พื้นที่การปกครอง
แบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 10 ตำบล 69 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล 9 องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ได้แก่
- เทศบาลตำบลหลวงเหนือ
- ตำบลหลวงใต้
- ตำบลบ้านแหง
- ตำบลบ้านโป่ง
- ตำบลบ้านหวด
- ตำบลนาแก
- ตำบลบ้านอ้อน
- ตำบลปงเตา
- ตำบลบ้านร้อง
- ตำบลแม่ตีบ
อำเภองาวมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน ในเขตเทศบาลตำบลหลวงเหนือ 5,000 คน อาณาเขตติดต่อ อำเภองาวเป็นอำเภอชุมทางชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่
- ทิศเหนือ ติดกับอำเภอวังเหนือและจังหวัดพะเยา อ.เมืองพะเยา
- ทิศใต้ ติดกับอำเภอแม่เมาะ จ.ลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเชียงม่วน จ.พะเยาและอำเภอสอง จ.แพร่
- ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอแจ้ห่ม จ.ลำปาง
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐใกล้เคียง
- มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา อยู่ถนนสายพะเยา - งาว ตำบลแม่กา อ.เมืองพะเยา ห่างจากอำเภองาวประมาณ 30 กิโลเมตร
[แก้] โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอ
*โรงเรียนประชาราชวิทยา*โรงเรียนดอนไชยวิทยา โรงเรียนไชยชุมพลศึกษา
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้] วัดจองคำ
ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กม. วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่าเป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไว้ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ หลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง วัดจองคำได้รับคัดเลือก ให้เป็น พระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนัก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามว่า พระราชปริยัติโยดม
[แก้] ศาลเจ้าพ่อประตูผา
ตำนานเจ้าพอประตูผา เต่าตี่ปี้หนานฮู้มา เปิ้นเป็นทหารเอกของเจ้าหลวงลิ้นก่าน เจ้าหลวงเวียงหละกอน มีตำแหน่งตี่พญามือเหล็ก เปิ้นได้สร้างวีรกรรมสละจีวิตจ่วยเจ้าหลวงลิ้นก่านจากกองทัพพม่า เมื่อปี๋ใด พ.ศ. ใด จ๋ำบ่าได้แล้ว พม่าได้ยกกองทัพลุกเมืองหละปูนกาว่าเจียงแสนก่บ่าแน่ใจ๋( แต่ปี้หนานกึดว่าน่าจะเป็นเมืองเจียงแสน เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิประเทศแล้ว เพราะตี่ประตูผาเป็นช่องเขาแคบจากเจียงฮายกับพะเยาเพื่อผ่านเข้าไปยังเวียงหละกอน ) เรื่องนี้เป็นตำนานเวียงหละกอน(ลำปาง) ซึ่งในอดีตเป็นรัฐอิสระมีกษัตริย์(เจ้าหลวง)ปกครอง ในรัชสมัยของเจ้าหลวงลิ้นก่าน พม่าต้องขยายอิทธิพลเข้ามาในเขตแดนล้านนาแห่งนี้ จึงยกทัพมาเพื่อรุกรานเวียงหละกอน เจ้าหลวงลิ้นก่านได้ยกทัพออกไปต้านทัพพม่าที่ประตูผา เมื่อกองทัพทั้งสองปะทะกัน ต่างฝ่ายต่างเสียรี้พลเป็นเป็นจำนวนมาก กองทัพเวียงหละกอนเสียที เจ้าหลวงลิ้นก่านถูกทหารพม่าล้อมไว้ตรงถ้ำประตูผา พญามือเหล็กได้พาทหารเข้าสู้รบเพื่อปกป้องเจ้าหลวงของตนจนสุดความสามารถ เพื่อประวิงเวลารอกองทัพหนุนจากเวียงหละกอนมาช่วย จนทหารในกองทัพถูกทหารพม่าฆ่าตายจนหมดสิ้น เหลือแต่พญามือเหล็กเพียงคนเดียว พญามือเหล็กยังคงยืนถืออาวุธขวางปากถ้ำต่อสู้กับทหารพม่าเป็นสามารถ ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น สามารถฆ่าทหารพม่าตายลงเป็นจำนวนมาก จนทหารพม่าไม่สามารถผ่านเข้าไปในถ้ำที่ซ่อนของพระเจ้าลิ้นก่านได้แม้แต่คนเดียว ในที่สุดพญามือเหล็กได้เหนื่อยเจียนจะขาดใจตาย ก่อนจะตายยังมีจิตสำนึกได้ว่าหากตนเองล้มลงเมื่อใดแล้ว ทหารพม่าที่เหลือจะต้องเข้าไปทำร้ายเจ้าหลวงของตนเป็นแน่แท้ จึงไม่ยอมล้มลงเด็ดขาด และต่อสู้กับทหารพม่าต่อไปจนตัวเองขาดใจตายทั้งที่ยังยืนถืออาวุธจังก้าอยู่อย่างนั้น ส่วนทหารพม่าที่เหลืออยู่ก็เข็ดขยาดไม่มีใครกล้าเข้ามาต่อสู้ด้วย ได้แต่ล้อมเอาไว้จนกระทั่งกองทัพหนุนของเวียงหละกอนยกตามมาช่วย พม่าจึงได้ยอมถอยทัพหนีกลับไปเนื่องจากกำลังที่เหลืออยู่ไม่สามารถจะสู้รบได้ เมื่อพม่าเลิกทัพกลับไปแล้วเจ้าหลวงลิ้นก่านได้พบว่า พญามือเหล็กได้เสียชีวิตลงแล้ว โดยที่ยังยืนถืออาวุธยืนจังก้าพิงผนังหน้าปากถ้ำไว้ ทำเวียงหละกอนรอดพ้นจากการรุกรานของพม่าได้ เจ้าหลวงลิ้นก่านได้สรรเสริญยกย่องวีรกรรมของพญามือเหล็ก โดยยกย่องให้เป็นเจ้าพ่อประตูผานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นี่คือวีรกรรมอันกล้าหาญของเจ้าพ่อประตูผา พญามือเหล็กทหารเอกของเจ้าหลวงลิ้นก่านแห่งเวียงหละกอน กระทรวงกลาโหมได้อัญเชิญนาม มาตั้งเป็นค่ายรบพิเศษประตูผา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของทหารตราบจนปัจจุบัน
[แก้] อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกับอำเภองาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กม. ตรงกิโลเมตรที่ 665-666 แยกเข้างทางลูกรังประมาณครึ่งกม. รถยนต์เข้าถึงเชิงถ้ำภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย สวยงามมาก สลับซับซ้อนและมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมายที่มีความสวยงามแตกต่างกันไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไท ในครั้งนั้นได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ปปร. ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม ทางอุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการ รายละเอียดให้ติดต่อฝ่ายจัดการอุทยานแห่งชาติ โทร 579-5734, 579-7223
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอำเภองาว ถ้าหากไม่ต้องการพักในตัวเมืองสามารถพักในอำเภองาวได้ที่ สมพรรีสอร์ท บ้านเป๊าะก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร
- บุคคลสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอ ได้แก่ น.ส.เกษตราภรณ์ สุตา นักกีฬายกน้ำหนักหญิงเหรียญทองแดง จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ปี 2000 ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
นายอำเภอคนปัจจุบัน นายยงยุทธ มฤคทัต
[แก้] การเดินทาง
อำเภองาว ห่างจากกรุงเทพฯ 680 กม.ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง สามารถเดินทางสู่อำเภองาวได้หลายเส้นทาง
- ทางบก ถนนพหลโยธิน สายเหนือ เริ่มจากกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เข้าสู่ตัวเมืองลำปาง 600 กิโลเมตร
ขับรถอีกประมาณ 83 กิโลเมตรก็จะถึงอำเภองาว ถนนสาย ลำปาง-งาว เป็นถนนสี่เส้นทางการจราจรสามารถสัมผัสธรรมชาติสวยงามตลอดสองข้างทาง สายแพร่ ใช้เส้นทางแพร่-สอง-งาว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ
- ทางรถไฟ ลงรถไฟที่สถานีนครลำปาง แล้วต่อรถสู่อำเภองาวอีก 80 กม.
- ทางเครื่องบิน สถานเลือกลงได้ที่ สนามบินลำปางหรือแพร่ก็ได้
|
---|
เมืองลำปาง · แม่เมาะ · เกาะคา · เสริมงาม · งาว · แจ้ห่ม · วังเหนือ · เถิน · แม่พริก · แม่ทะ · สบปราบ · ห้างฉัตร · เมืองปาน |