See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อริยสัจ 4 - วิกิพีเดีย

อริยสัจ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา


ประวัติพุทธศาสนา
ศาสดา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์
ไตรสรณะ

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล · ธรรม
ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมพุทธศาสนา
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
หมวดหมู่พุทธศาสนา
สารานุกรมพระพุทธศาสนา สถานีย่อย

ในทางพุทธศาสนา อริยสัจ 4 เป็นคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประการหนึ่ง ว่าด้วย ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการซึ่งเป็นรากฐานของคำสอนพระองค์ทั้งมวล กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นความจริง 4 ประการที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยบุคคล ความจริงทั้งสี่ประการนั้นมีดังต่อไปนี้

  1. ทุกขสัจจ์ กล่าวว่า ความทุกข์มีอยู่จริง โดยพระพุทธองค์ตรัสว่า การเกิด ความแก่ชรา ความตาย ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ การพบสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความไม่สมปรารถนา นั้นเป็นทุกข์
  2. สมุทัยสัจจ์ กล่าวว่า ความทุกข์ทั้งหลายนั้นมีสาเหตุ พระพุทธองค์ตรัสว่าสาเหตุของความทุกข์นั้นคือ การไปสมมติว่าธรรมชาติซึ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนนั้นมีตัวตน มีแก่นสาร และเที่ยงแท้ ทำให้เกิดตัณหา คือความอยากอันขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ว่าทุกสิ่งไม่สามารถให้ความพึงพอใจได้อย่างเที่ยงแท้ เมื่อธรรมชาติไม่เป็นไปตามที่ต้องการก็เกิดความทุกข์
  3. นิโรธสัจจ์ กล่าวว่า ความดับทุกข์นั้นมีอยู่จริง และความดับทุกนั้นคือภาวะที่ไม่มีความยึดติด ไม่มีความอยาก มีปัญญาเข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ และไม่นำยึดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวเป็นตน อันจะทำให้เป็นสาเหตุแห่งความไม่สบายกายไม่สบายใจ จึงเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งมวล ภาวะนี้เรียกได้อีกอย่างว่านิพพาน
  4. มัคคสัจจ์ กล่าวว่า วิธีปฏิบัติให้บรรลุถึงความดับทุกข์นั้นมีอยู่จริง คือ การรักษาคำพูด การกระทำ การหาเลี้ยงชีพ ความพยายาม สติ สมาธิ ความเห็น และความคิด ให้ถูกต้องดีงามและสอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งวิธีการปฏิบัตินี้สรุปได้เป็นหลักคำสอนที่ชื่อว่า มรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด (ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

[แก้] กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรกำหนดรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

[แก้] อ้างอิง


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -