สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) คือ แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่างๆกัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่างๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัมตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับ ดังนี้ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
โดยแสงอาทิตย์จะให้ความอบอุ่นแก่โลก พร้อมทั้งให้รังสีต่างๆ และแสงอาทิตย์เดินทางมาโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นมีองค์ประกอบคือ
- ยอดคลื่น ส่วนบนสุดของคลื่น
- ท้องคลื่น ส่วนต่ำสุดของคลื่น
- ส่วนสูงของคลื่น วัดจากแนวระนาบถึงยอดคลื่น
- ความถี่ หรือที่เรียกว่า เฮิร์ตซ์
- ความถี่ สูง ความยาว ต่ำ เสียงจะสูง
- ความถี่ ต่ำ ความยาว สูง เสียงจะทุ้ม
[แก้] แสงขาว
สายตาเราสามารถมองเห็นแสงขาวได้ใน 380-700 นาโนเมตร สมารถแยกเป็น 7 สี เรียกว่า สเปกตรัม โดยมีสี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง โดยสีแดงนั้นจะอยู่ใน650-700 นาโนเมตร สีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุด มีความถี่สูง
สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นบทความเกี่ยวกับ ฟิสิกส์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ฟิสิกส์ |