วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภากาแฟ (ทั้งหมด) | ||
---|---|---|
# | โครงการ | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | เทคนิค | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | ภาษา | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | ตรวจสอบ | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | จิปาถะ | เริ่มหัวข้อใหม่ |
หัวข้อเก่าๆ |
หัวข้อเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ และหัวข้อที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเนื้อหาสารานุกรมโดยตรง สำหรับรายการปัญหาที่มีการกล่าวถึงก่อนหน้านี้แต่ยังไม่สามารถหาวิธีแก้ได้ ดูที่ วิกิพีเดีย:ปัญหาในวิกิพีเดียไทย
แก้ไข |
กรุ |
วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)
กรุ 1 - กรุ 2 - กรุ 3 - กรุ 4 - กรุ 5 - กรุ 6 - กรุ 7 - กรุ 8 |
เนื้อหา |
[แก้] การปลดสถานะบทความคัดสรรที่ไม่ได้มาตรฐาน
ขอกล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งครับ เรื่องบทความคัดสรรในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ในปัจจุบัน จริงๆ ก็เห็นมานานแล้ว คิดว่าถึงเวลาเสียที ตอนนี้ก็เป็นช่วงหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนระบบคัดเลือกบทความคัดสรรมาเป็นระบบแบบในปัจจุบันมาได้เกือบปีแล้ว แถมบทความคัดสรรชุดใหม่ๆ ก็มีเนื้อหามากขึ้นกว่าเดิมเยอะ ยิ่งพอมาเปรียบเทียบกับบทความคัดสรรในอดีตหลายๆ บทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานอยู่ อย่างลองเทียบ เพชรพระอุมา หรือ คลองปานามา เทียบกับ ไดโนเสาร์ หรือ พอล แอร์ดิช หรือ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ จะเห็นว่าคุณภาพต่างกันอย่างมาก คิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีผลกระทบต่อมาตรฐานของ FA ในวิกิพีเดียไทยโดยตรงเลย จึงคิดว่าน่าจะมีการดำเนินการเพื่อรักษามาตรฐานไว้ ขอเปรียบเทียบให้เห็นตามนี้
- จริงๆ แล้ว ในอดีตเคยมีการกล่าวถึงเรื่องนี้มาก่อนแล้ว (ดูใน วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)/กรุ 4 และ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)/กรุ 5) แต่ตอนนั้นสรุปกันว่าจะไม่ปลด แต่จะติดป้ายให้บทความอยู่ในรายชื่อบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานเอาไว้ ซึ่งก็เนื่องจากว่าตอนที่คุยกันตอนนั้น ระบบการคัดเลือกบทความคัดสรรยังเป็น 1 บทความต่อ 1 เดือนอยู่ ซึ่งก็เลยไม่ปลดด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้เขียนอุตสาห์เขียนมา แล้วเมื่อถูกปลดไปแล้วก็จะเสนอกลับมาเป็น FA อีกได้ยาก เพราะจำกัดเวลาในการเสนอ ซึ่งก็น่าจะเหมาะสมกับระบบในตอนนั้นดี แต่ตอนนี้ระบบการคัดเลือกเปลี่ยนไปเป็นแบบในปัจจุบัน ก็เลยคิดว่าการปลดบทความที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีความเหมาะสมมากขึ้น เพราะถ้าบทความไหนที่ถูกปลดจาก FA แล้วต่อมามีการปรับปรุงจนได้มาตรฐานอีกครั้ง ก็สามารถเสนอเพื่อมาเป็น FA ใหม่ได้ เพราะตอนนี้ทุกคนสามารถเสนอบทความเป็น FA ได้ทุกเมื่อ ไม่มีกำหนดเวลาแบบเมื่อก่อนแล้ว
- บทความคัดสรรในสมัยก่อนได้รับสถานะมาด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างจากในปัจจุบัน บทความเหล่านั้นเพียงแค่ได้รับคัดเลือกว่า "ดีที่สุด" ในบรรดาบทความที่มีการเสนอชื่อในเดือนนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพราะในหนึ่งเดือนอาจจะมีบทความที่ได้มาตรฐานมากกว่าหนึ่งบทความหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ ซึ่งพอเปลี่ยนกระบวนการคัดเลือกมาเป็นเช่นปัจจุบันแล้ว ถ้าหากบทความที่จะได้รับศักดิ์ศรีเท่ากันว่าเป็น FA เหมือนกัน ก็ควรจะผ่านมาตรฐานเดียวกันด้วย คือผ่านตามนโยบายในปัจจุบัน
- บทความที่อยู่ในรายชื่อว่าต้องการปรับปรุง รายชื่อใน บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่ ก็เห็นว่ามีผู้ใช้หลายท่านที่ได้เข้าไปช่วยปรับปรุงจนหลายๆ บทความพัฒนาขึ้นได้อีกมาก แต่ก็ยังมีบทความอีกจำนวนมากที่อยู่ในรายชื่อมาเกือบปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการปรับปรุงมาจนได้มาตรฐาน รวมถึงบางบทความที่มีเนื้อหาจำกัดด้วย อย่างเช่น พอล แอร์ดิช ที่แม้แต่เนื้อหาในวิกิอังกฤษก็ยังไม่ถึงระดับ GA ด้วยซ้ำ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะพัฒนาบทความีที่มีเนื้อหาจำกัดเหล่านี้ให้ได้มาตรฐาน FA ได้
- บทความเหล่านี้หลายบทความที่ทำให้ การจัดระดับบทความยังดูลักลั่นกันอยู่ครับ อย่างใน ไดโนเสาร์ ที่ถูกจัดระดับไว้ที่ระดับพอใช้ ซึ่งดูจากเนื้อหาก็ควรจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่กลับมีป้าย FA ติดอยู่ ซึ่งดูแล้วก็ขัดกับหลักที่ใช้ในวิกิพีเดีย:ระดับการเขียนบทความ ว่าบทความที่เป็น FA จะถูกจัดอยู่ใน "ระดับคัดสรร"
- บทความ FA ในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของวิกิพีเดียไทยโดยตรงเลยครับ อย่างถ้าคนจากวิกิพีเดียภาษาอื่นไปอ่านบทความนี้แล้วเห็นลิงก์ข้ามภาษาโยงเข้ามาว่าบทความนี้เป็น FA ในวิกิพีเดียไทย แล้วมาเห็นบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานแบบนี้ แต่กลับได้ชื่อว่า "หนึ่งในบทความที่ดีที่สุดในวิกิพีเดียไทย" ก็จะกระทบถึงคุณภาพในภาพรวมของวิกิไทยอย่างชัดเจนเลยครับ
- การปลดสถานะบทความคัดสรรไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งมีการเสนอแต่อย่างใด ในวิกิพีเดียภาษาอื่นหลายภาษาก็ให้มีการปลดบทความคัดสรรที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกิอังกฤษที่เน้นมาตรฐานด้านคุณภาพของบทความเป็นอย่างมาก อย่างตอนนี้วิกิอังกฤษมี FA อยู่ ประมาณ 2,000 บทความ แล้วก็มีบทความที่ถูกปลดเป็น former FA ถึง 500 กว่าบทความ เพราะเขารักษามาตรฐานของ FA เอาไว้เคร่งครัดมาก
ก็เลยจะขอเสนอว่า บทความคัดสรรในอดีตที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับการปรับปรุงไปนานๆ ก็ควรจะมีการปลดสถานะบทความคัดสรรได้ เพื่อรักษาคุณภาพของบทความในวิกิพีเดียไทยเอาไว้ครับ -- Portalian 21:40, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วยอย่างแรงครับ เพราะจะได้รักษามาตรฐานบทความวิกิพีเดียไทยไว้ ไม่ให้ใครสามารถดูถูกได้ --Petje Bell • พูดคุย 21:46, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
- เพิ่มเติมให้ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน FA ก็จะดีนะครับ แทนที่จะปลดเฉยๆ --ธวัชชัย 22:02, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- ปลดก็ดีเหมือนกันครับ เพราะก็ไม่มีใครคิดจะเขียนและปรับปรุงบทความอยู่แล้วครับ ปลดง่ายกว่าเขียนเยอะเลยครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิ๊ก" 22:20, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เพิ่มเติมให้ปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน FA ก็จะดีนะครับ แทนที่จะปลดเฉยๆ --ธวัชชัย 22:02, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย เรื่องปรับปรุงบทความคัดสรรคุยกันมานานมากแล้ว บทความที่เหลือยังไม่ได้คุณภาพ ผมว่าปลดออกจากบทความคัดสรรได้ครับ ถ้าปล่อยไว้ก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้คุณภาพครับ --Lerdsuwa 23:05, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย ปลดไว้ก็ดีเหมือนกันนะครับ เพราะจะสะดวกเวลาใช้ในการเป็นบทความตัวอย่าง อันไหนที่เห็นว่าไม่ควรผ่านเกณฑ์ถ้านำออก คนใหม่ที่เข้ามาเขียนจะได้เข้าใจตรงกันว่า มาตรฐานอยู่ตรงจุดไหน ว่าจะสอบถามเรื่องปลด GA ด้วยครับ เพราะเห็นหลายเรื่องผ่านเกณฑ์แล้ว แต่เมื่อมีการปรับแก้เพิ่มเติมคุณภาพดันไม่ได้มาตรฐาน ส่วนเรื่องการดูถูกไม่มีใครมาดูถูกหรอกนะครับ --Manop | พูดคุย 23:47, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เรื่องเหรอไหนของ GA เหรอครับที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะก็ไม่เคยเห็นมีใครไปเสนอแนะที่ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ/เสนอบทความคุณภาพที่ควรปรับปรุงใหม่ เมื่อไม่เสนอแล้วใครจะรับรู้ว่าไม่ได้มาตรฐานตรงไหน มาเสนออีกทีก็จะปลดกันเลยอันนี้คงไม่เหมาะสมนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิ๊ก" 00:34, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย ผมว่าอาจจะมีเวลา 2 อาทิตย์หลังจากแจ้ง แล้วก็ปลด จากนั้นใครก็สามารถนำเสนอใหม่เพื่อเข้าขั้นตอนเป็นบทความคัดสรรได้ครับ ซึ่งปัจจุบันนั้นสามารถเป็นบทความคัดสรรได้เรื่อยๆอยู่แล้ว ไม่น่ามีปัญหาอะไร --Jutiphan | พูดคุย - 02:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย เพื่อให้ผู้เขียนได้ปรับปรุงบทความให้ดีเสียก่อนที่จะไปแก้ไขบทความอื่นๆ (เขียนให้เสร็จทีเดียว) --Horus 08:25, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย น่าจะมีขั้นตอนการแจ้งปลดด้วย เหมือนการแจ้งเสนอ ระยะ 2 อาทิตย์ ก็ดูสมเหตุสมผล --Sry85 12:14, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
-
- ถ้าในวิกิอังกฤษ จะมีหน้า en:Wikipedia:Featured article review ซึ่งในขั้นแรกจะมีการเสนอเพื่อปรับปรุงก่อน หลังจากนั้นถ้ายังไม่ได้ตามมาตรฐานก็จะมีการลงคะแนนว่าจะปลดสถานะหรือไม่ ตอนนี้ก็จะลองเพิ่มหัวข้อการปลดสถานะไปใน วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร/บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่ ดูครับ สำหรับบทความที่เสนอให้ปรับปรุงแล้วแต่ยังไม่มีการปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน -- Portalian 12:45, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
งั้นถ้าเป็นว่า มีการปลด ก็ยังมีเรื่องขั้นตอนที่น่าจะพิจารณากันอีกครับ อย่างเช่น
- จำเป็นต้องมีการเสนอบทความเพื่อปรับปรุงก่อนหรือไม่? หรือจะเสนอเพื่อปลดได้เลย
- ถ้ามีการเสนอปรับปรุง จะมีกำหนดเวลาในการปรับปรุงเท่าไร?
- ถ้าหากบทความไม่ได้รับการปรับปรุง จะปลดเลยหรือไม่? หรือจะมีการพิจารณากันอีกรอบว่าจะปลดหรือไม่ปลด -- Portalian 23:13, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ผมขอเสนอ ขั้นตอนดังนี้นะครับ คือ น่าจะทำเหมือนเสนอชื่อเป็นบทความคัดสรร เลย
- สร้างหน้าใหม่ เสนอบทความคัดสรรที่ควรปรับปรุง แล้วเขียนสาเหตุ เป็นข้อๆ เลยว่า เหตุได้จึงควรปรับปรุง มีอะไรบ้าง
- แปะโค้ด {{เสนอคัดสรรที่ควรปรับปรุง|ชื่อบทความ|วันที่พิจารณา}} ระยะเวลา 2 สัปดาห์
- ใส่ป้ายที่หน้าพูดคุย
ในหน้าพิจารณา นอกจากเหตุผลแล้ว ก็มีให้ลงคะแนน ระหว่าง ปลดจากบทความคัดสรร กับ ยังคงเป็นบทความคัดสรรต่อไป ....หากมีการแก้ไขตามที่ควรปรับปรุงแล้ว ก็ควรอยู่ แต่หากไม่ได้ปรับปรุงก็คงต้องปลด ...เป็นข้อเสนอของผมครับ ส่วนระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก็น่าจะเหมาะสม โดยเน้นการเสนอแนะสิ่งที่ควรปรับปรุงมากกว่าการลงคะแนน --Sry85 23:23, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย กับขั้นตอนการปลด แต่เสนอเพิ่มว่า ควรให้ขั้นตอนกระชับ(เร็ว)กว่า ขั้นตอนการตั้ง (หมายถึงถ้าผ่านขั้นตอนการปรับปรุง(ถ้ามี)แล้วนะ) --Sirius (TeeTaweepo)
- ทำไมโครงการนี้ไม่ดำเนินการอีกละครับ --18:08, 15 พฤษภาคม 2551 (ICT)
[แก้] การใช้งานภาพชอบธรรม
เห็นช่วงนี้สภากาแฟคนเยอะดี เลยอยากเสนอนโยบายการใช้ภาพเพิ่มสองเรื่องครับ เผื่อถ้าเห็นด้วยกันส่วนใหญ่จะได้เพิ่มเข้าไปใน วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ คือตอนนี้คิดว่าภาพที่ใช้งานอย่างชอบธรรม พวกภาพจากหนังสือพิมพ์ ภาพจากข่าว ภาพจากเว็บ ภาพการ์ตูน ภาพจากเกม ที่ใช้ในบทความนอกเหนือจากหน้าโครงการ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teetaweepo (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 21:38, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
คิดว่าถ้ากำหนดไว้ว่าใช้ได้ไม่เกินหนึ่งภาพต่อหนึ่งบทความ ซึ่งอันนี้ไม่รวมภาพสัญลักษณ์และโลโก้ เพราะหลังๆ เห็นมีพวกภาพดารามาตกแต่งบทความเยอะเหมือนกัน เหมือนจะเป็นเว็บแฟนคลับ (และอาจจะมีการแอบโฆษณาไปในตัว)
ซึ่งนอกจากนี้เวลาคนนำภาพชอบธรรม(ที่ละเมิดลิขสิทธิ์)มาลง จะได้เลือกเอาเฉพาะภาพที่มีความหมายจริงๆ และดีสุดมาใช้เพียงภาพเดียว ตอบในกรณีเดิมก็ดีนะครับ {{เห็นด้วย}} {{เป็นกลาง}} {{ไม่เห็นด้วย}} Manop - 03:38, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เป็นกลาง ครับ ไม่ขอเสนอความเห็นใด ๆ --Petje Bell • พูดคุย 10:58, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย บทความบางบทความหาภาพเสรีไม่ได้จริงๆ ครับ จำเป็นต้องใช้ fair use อย่างบทความเกี่ยวกับเกมหรือการ์ตูน หากบทความนั้นยาวก็ควรจะมีภาพประกอบมากตามไปด้วย ดูอย่าง en:Kanon มีภาพ fair use ทั้งหมด 7 ภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวก็ได้เป็น GA ของวิกิอังกฤษด้วย -- Portalian 11:08, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- คิดว่าน่าจะจัดการเป็นกรณีๆ ไปครับ อย่างภาพที่เป็นการโฆษณา ก็แจ้งลบภาพนั้นไป เอาเฉพาะภาพที่จำเป็นต่อบทความใส่ไว้ในบทความ -- Portalian 11:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
-
- แบบนี้หรือครับ รายชื่อตอนของแอร์ เพิ่งรู้ --Manop | พูดคุย 10:02, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
- ไม่เห็นด้วย ผมอาจจะ ideal ไปหน่อย แต่คิดว่าถ้าเป็นกฎไปเลยอาจจะแรงไป จริงๆ ถ้าภาพดารามีชีวิตอยู่และแต่ละภาพไม่ได้แสดงเหตุการณ์อะไรเป็นพิเศษ ภาพที่มีเยอะๆ ก็คงแจ้งลบในฐานะที่ไม่ใช่ fair use ได้เลย เหลือไว้แค่รูปที่ดีที่สุดอย่างที่ว่า (ตกลงว่าตอนนี้ เราบังคับเขียน rationale กันหรือยังครับ?) --KINKKUANANAS 11:21, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- ตอนนี้ที่บังคับมีก็มี เว็บที่มา กับป้ายลิขสิทธิ์ และก็รายละเอียดเล็กน้อย (บางภาพก็ไม่จำเป็นต้องมี) เช่น ภาพ:Love siam poster.png หรือ ภาพ:ไอ้แมงมุม.jpg --Manop | พูดคุย 12:25, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ควรประดับบทความเหมือนแกลเลอรี่ ... อย่างในภาษาอังกฤษ สำหรับบทความที่เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ จะเคร่งครัดไม่ให้ใช้ในกล่องข้อมูลเลย เห็นด้วยรึเปล่า? --Sry85 12:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เป็นกลาง ละกันค่ะ ส่วนหนึ่งในใจคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีภาพ เพราะไปหาภาพดูเอาในแหล่งข้อมูลอื่นก็ได้ แต่อีกส่วนในใจก็คิดว่าหากจะบังคับเป็นกฎเลยก็เกินไปนิด และเห็นด้วยกับคุณ Sry85 ตรงที่ว่ามีภาพประกอบได้ เพียงแต่ไม่ควรใส่เข้าไปมากจนกลายเป็นหน้าแกลเลอรี่ --Piggy 22:48, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เป็นกลาง ไม่มีความเห็นครับ --Tona22 06:55, 6 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไปเพิ่มไว้ใน คำแนะนำในการใช้ภาพ สิครับ ไม่ใช่เพิ่มกฎ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:08, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เป็นกลาง ผมเข้าใจเจตนาของนโนบายใหม่นี้ ซึ่งคิดว่าควรจะมีรูปแบบนี้ เพราะสังเกตว่าบางบทความมีการใส่ภาพมากเกินไป รวมถึงสร้างความไม่เหมาะสมในมุมมองไม่เป็นกลาง แต่ส่วนตัวแล้วนโยบายที่เสนอนั้นรัดกุมเกินไปในหลายกรณีด้วยกัน ผมคิดว่าอาจจะมีการเพิ่มนโยบายโดยรวมประมาณว่า ภาพที่ใช้ควรคงเจตนาความเป็นกลางของบทความโดยรวม อะไรแบบนี้ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 09:07, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
- ขออธิบายเพิ่มละกันครับ ท่าทางจะงงกันหลายฝ่าย คือไอเดียที่ออกมาว่าหนึ่งบทความมีภาพชอบธรรมเพียงหนึ่งรูป มีหลายสาเหตุ
- ถ้าบทความที่มีภาพชอบธรรมเยอะแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะไม่พยายามหาภาพเสรีมาใส่ในบทความ (เว้นแต่เป็นคนในวิกิเอง)
- หลายบทความทำเป็นแกลลอรีภาพซะมากกว่า แทนที่จะเน้นที่ตัวบทความ กลับเน้นที่แต่งภาพในบทความ ตัวอย่างเช่นในหน้า รายชื่อตอนของแอร์ (ที่ผมกล่าวไว้ด้านบน) ภาพทั้งหมดก็ไม่ได้สื่ออะไรมากไปกว่าแต่ละตอน ซึ่งคุณ Portalian เองก็สร้างไว้ แต่ข้อความที่เขียนไว้ด้านบนว่า "เอาเฉพาะภาพที่จำเป็นต่อบทความใส่ไว้ในบทความ" ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าความจำเป็นของแต่ละคนจะเท่ากันแค่ไหน เพราะอย่างในหน้านั้นก็มีภาพชอบธรรม 15 ภาพ หรืออย่าง ตัวละครในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ (เกือบ 100 ภาพได้ ยังกับเว็บแฟนคลับ)
- ตอบคุณออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา คือไม่ได้จะเสนอเป็นการแนะนำนะครับ จะเสนอเป็นนโยบายมากกว่า
- สุดท้ายที่เสนอให้ใช้หนึ่งภาพ แทนที่จะห้ามให้ใช้ภาพเลยเหมือน วิกิพีเดียญี่ปุ่น ก็คิดว่ามีภาพที่ดีย่อมช่วยให้เนื้อหาสื่อความหมาย และมีประโยชน์มากขึ้นกว่าไม่มีภาพ แม้ว่าภาพจะละเมิดลิขสิทธ์มาก็ตาม --Manop | พูดคุย 04:05, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- ขออธิบายเพิ่มละกันครับ ท่าทางจะงงกันหลายฝ่าย คือไอเดียที่ออกมาว่าหนึ่งบทความมีภาพชอบธรรมเพียงหนึ่งรูป มีหลายสาเหตุ
-
-
-
- รายชื่อตอนของแอร์ ผมไม่ได้เป็นคนเขียนเลยครับ แค่เป็นคนแยกเป็นบทความใหม่ออกมาจากบทความหลักเฉยๆ ซึ่งภาพในนั้นก็คิดว่าควรจะลบไปเหมือนกัน เพราะไม่ค่อยช่วยขยายความเนื้อหา และภาพส่วนใหญ่ก็ระบุคำอธิบายไม่ชัดเจนและไม่ระบุแหล่งที่มา
-
-
-
-
-
- ยังไงก็คิดว่าควรจะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปอยู่ดี เพราะถึงจะเป็นภาพเสรี แต่ถ้าใส่มากเกินไปจนดูเหมือนเป็นการโฆษณา ก็ควรจะเอาออกเหมือนกันไม่ใช่หรือ? -- Portalian 10:22, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
-
-
-
-
-
- ป.ล. รายชื่อตอนของแอร์ ผมปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วครับผม เอาภาพออกตามที่คุณ Manop แนะนำ เพราะภาพก็ไม่ค่อยจำเป็นจริงๆ ด้วย -- Portalian 15:34, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
-
-
- คือเรื่องภาพหน่ะครับ โดยปกติแล้ว ในการเขียนบทความเชิงวิชาการในประเทศตะวันตกนั้น เอาภาพจากแหล่งอื่นมาแปะใช้ได้เลย แต่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาท้ายภาพด้วย ซึ่งนอกจากภาพแล้ว ยังรวมไปถึงตารางและแผนภูมิต่างๆด้วย ซึ่งตรงนี้ ผมเลยไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องยุ่งยากกันด้วย แต่ถ้าผมเข้าใจอะไรผิด ขอทราบข้อมูลด้วย เพราะอาจจะได้ใช้ในการปรับปรุงหน้า อ้างอิง ต่อไปอ่ะครับ --ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:11, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วย เห็นด้วยในหลักการ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ hi5 รู้สึกจะทำเป็นแกลลอรี จริงๆ ด้วย ไม่เหมาะๆ กำหนดดีกว่า แต่ก็กำหนดเป็นแนวทางอย่างที่ว่านั่นแหละครับ (ไม่ใช่กฎ)
- อย่างไรก็ตามที่ว่า 1 รูป แลจะน้อยไป เอาทางสายกลางครับ คือกำหนดตามเหมาะสมตามประเภทบทความ ซึ่งผมเสนอกำหนดจำนวน พร้อมวิธีคิด เป็นตัวอย่างๆ ดังนี้
- จำพวกบุคคล ผ่อนให้ไม่ควรเกิน 6 รูป.. เผื่อว่า รูปวัยเด็ก รูปก่อนเข้าวงการ รูปขณะรุ่งๆ รูปปัจจุบัน (ถ้าคนนั้นอยู่ในวัยชราหรือตายแล้วก็จะหมายถงรูปวัยชรา) และรูปที่คนรู้จักที่สุด (ถ้ามี, ประมาณรูปที่ใครเห็นก็ต้องอ๋อคนนี้นี่เอง อาจมาจากผลงานที่โดดเด่นที่สุดหรือแจ้งเกิดในวงการหรือเป็นข่าว เช่น มิตร ชัยบัญชา ก็เป็นรูปในหนังเรื่องอินทรีแดง หรือ ไอน์สไตน์ก็ตอนเขียน E=mc2 หรือ เลโอนาโด ดิคาปิโอ ก็ต้องฉากไททานิค เป็นต้น)
- การ์ตูน ขึ้นอยู่กับประเภทของการ์ตูน (แต่ไม่เกินเท่านี้ๆ) เนื่องจากไม่ถนัดจึงขอยังไม่เสนอจำนวน
- อะไรทำนองนี้แหละครับ แค่นี้ก่อนคิดอะไรออกเพิ่มค่อยมาบอกอีก
- ส่วนประเเด็นลิขสิทธิ์คงต้องแยกพิจารณาต่างหากครับ แนวทางของคุณ Brandy Friskey (ขี้เมาฯ) น่าสนใจ คือถ้าหาภาพยากจริงๆ ก็ใช้วิธีเอาจากไหนอย่าลืมให้เครดิต ก็ดีครับนะครับผมว่า --Sirius (TeeTaweepo)
-
-
- ในรายชื่อตอนของการ์ตูนต่างๆ ควรเอาภาพประกอบออกให้หมดเหมือนที่ wiki EN ทำ
- ในรายชื่อตัวละครควรใส่ภาพเฉพาะตัวละครหลักและรองพอ ไม่ต้องใส่ทุกตัว (บางตัวโผล่ฉากเดียว)
- หน้าชีวประวัติบุคคลผมว่าถ้าหากจำกัดภาพไปเลยอาจจะไม่ค่อยดี ผมว่าให้ใส่อย่างมาก 1 ภาพต่อหนึ่งหัวข้อใหญ่ (และภาพต้องมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น) แต่ถ้ามีภาพประกอบด้านอื่น เช่นกราฟหรือผลเลือกตั้งอะไรก็อาจจะอนุโลมใส่เพิ่มเติมได้อีก 1 ภาพ
- ส่วนเรื่องการจำกัดภาพในบทความอื่นๆ ควรดูเรื่องความเหมาะสมและความยาวของบทความเป็นหลักนะครับ -- Prince | พูดคุย 11:09, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
-
-
- ตอนนี้ผมเพิ่มหน้า วิกิพีเดีย:เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม โดยนำเนื้อหาสรุปจากหน้านี้ รวมถึงบางส่วนจากวิกิพีเดียอังกฤษครับ อย่างไรฝากตรวจสอบด้วยละกันครับ กะว่าจะให้คนที่โหลดภาพชอบธรรม (หลายภาพ) ได้อ่านจะได้ไม่ต้องตอบปัญหาไล่ทีละคน ส่วนเรื่องจำนวนผมข้ามไปนะครับ เพราะคิดว่าคงใช้คำว่า "ตามความเหมาะสม" มากกว่า (ความเหมาะสมอีกแล้ว)
-
-
-
- ส่วนเรื่อง การใช้งานของคุณไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรมบอกว่า "บทความเชิงวิชาการในประเทศตะวันตกนั้น เอาภาพจากแหล่งอื่นมาแปะใช้ได้เลย แต่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาท้ายภาพด้วย" ผมอยู่ตะวันตกมาซักหลายปี แล้วก็ยังไม่เห็นเขาจะทำนะครับเขาซีเรียสเรื่องลิขสิทธิ์กว่าทางประเทศไทยอีก (ถ้าไม่ผิด ผมก็คงอยู่ตะวันตก) และที่เห็นเขาใส่ที่มาของภาพเหล่านั้น เขามีการขอลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้วนะครับ ไม่ใช่ว่าอยากแปะก็แปะ แล้วใส่อ้างอิงให้ก็จบ อย่างนั้นเขาไม่มีทำกันนะครับ (บอกไว้เฉยๆ) --Manop | พูดคุย 06:38, 25 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
[แก้] สภาเบียร์
เราก็น่าจะสร้าง "สภาเบียร์" ด้วยนะครับ ต่อจาก วิกิพีเดีย:สภาไวน์ --Voraprachw • พูดคุย 19:28, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)
อย่าสร้างเยอะเดี๋ยวไม่มีคนดูแล หน้าพูดคุยใช้ไปก่อนก็ได้ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:36, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:36, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)
อีกหน่อยคงจะมี สภาบรั่นดี สภาวิสกี้ สภาวอดก้า สภาสาเก สภาสาโท --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 07:17, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- รู้สึกว่าสถานีย่อย:ภาษาน่าจะช่วยเรื่องคำทับศัพท์ให้อยู่แล้วนะครับ --Horus 18:06, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
- สภาเบียร์ ไว้ใช้กับสถานีย่อยเยอรมนี ดีกว่านะ หุหุ แต่ว่า.. สภาราชพฤกษ์ ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นสภาดอกคำฝอย สภาเก็กฮวย หรือสภาหล่อฮังก้วย ไหมล่ะคั --Lv.88 พรรณพฤกษา 2.0 • 18:15, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
[แก้] ขอคิดด้วยคน
ข้าพเจ้านายพิเชษฐ์ สุนทรพจน์สมาชิกใหม่ ใครขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิกิพีเดีย:สภากาแฟ อยากให้สภากาแฟเปิดกว้างในให้สมาชิกทุกคนสามารถแนะนำตัวและธุรกิจของสมาชิกให้สมาชิกได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและขอให้สภาแฟของเรามีแต่ความรักใคร่สามัคคีกันตลอดกาลนาน ด้วยความปราถนาดี --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Jack-chet (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 04:18, 16 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เนื่องจากวิกิพีเดียไม่ใช่เว็บบอร์ด จึงไม่จำเป็นต้องแนะนำตัวในนี้ครับ ถ้าอยากแนะนำตัวหรืออธิบายสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวกับตัวท่านเอง ท่านสามารถเขียนลงในหน้าผู้ใช้ของท่านได้เลยครับ เดี๋ยวก็มีคนที่สนใจเข้าไปอ่านเอง (แต่ห้ามโฆษณา) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:14, 16 พฤษภาคม 2551 (ICT)
-
- ทุกคนสามารถเขียนแนะนำตัวเองได้ในหน้าส่วนตัวครับ โดยหน้านั้นจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "ผู้ใช้:" และตามด้วยชื่อ ซึ่งสามารถแนะนำตัวเอง แนะนำกิจการที่ทำหรือธุรกิจเล็กน้อย แต่ถ้าไม่มีการเขียนแนะนำอะไร นอกจากโฆษณาขายสินค้า หน้านั้นจะถูกลบออกครับ เพราะถ้ามองในทางกลับกันคือ หน้านั้นไม่ได้แนะนำตัวผู้ใช้แต่อย่างไรครับ --Manop | พูดคุย 23:54, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
[แก้] ออกแบบโลโก้
-
- แยกหน้าละกันครับ ดูที่ วิกิพีเดีย:โครงการออกแบบโลโก้วิกิพีเดียไทย
[แก้] แม่แบบ:แก้กำกวม
ย้ายไปที่ คุยเรื่องแม่แบบ:แก้กำกวม