ศิลาจารึก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น หรือเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก
ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีการจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดี เป็นต้น
จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทน คงสภาพอยู่ได้นับพันๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพันๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษร และภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
จารึกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก่
- ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นับเป็นศิลาจารึกภาษาไทยยุคแรกๆ บอกเล่าเหตุการณ์ในสมัยสุโขทัยได้อย่างดี
- จารึก "สฺยํกุก" ที่ระเบียงภาพปราสาทนครวัด อันเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับที่มาและความหมายของคำว่า สยาม
- จารึกโรเซ็ตตาสโตน พบที่เมืองโรเซ็ตตา ประเทศอียิปต์ เป็นจารึก 3 ภาษา นับเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักภาษาศาสตร์สามารถอ่านความหมายของอักษรภาพอียิปต์โบราณได้สมบูรณ์ขึ้นอย่างมาก
ศิลาจารึก เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ศิลาจารึก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |