รถไฟฟ้าปารีส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
รถไฟฟ้าปารีส (Métro de Paris) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองก็ว่าได้ เห็นได้ชัดจากอิทธิพลของศิลปะใหม่แบบอาร์ตนูโว มีเส้นทางทั้งหมด 16 สาย ส่วนมากมักจะอยู่ใต้ดินและมีความยาวทั้งสิ้น 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง
รถไฟฟ้าสายแรกเปิดโดยไม่มีพิธีรีตองในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ (Exposition Universelle 1900) หลังจากนั้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2463 ส่วนการขยายออกไปยังชานเมืองได้บรรลุในช่วง 10 กว่าปีต่อมา
ระบบรถไฟฟ้าปารีสได้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งระบบรถไฟฟ้าก็ได้นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้ามาให้บริการเนื่องจากการจราจรอันคับคั่ง ซึ่งการต่อเติมนั้นเป็นไปได้ยากและมีขีดจำกัดจึงได้เกิดรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา
กรุงปารีสเป็นเมืองที่มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่หนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยสถานีกว่า 245 แห่งภายในเนื้อที่กรุงปารีส 41 ตารางกิโลเมตร (16 ตารางไมล์) แต่ละสายจะมีชื่อเป็นหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 14 และมีสายรองอีกสองสายคือ 3bis และ 7bis สายรองทั้งสองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสาย 3 และ 7 แต่แยกตัวออกมาภายหลังในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2510 ตามลำดับ
รถไฟฟ้าปารีสมีสถานีทั้งหมด 298 แห่ง (382 ป้าย) โดยเชื่อมต่อกับสายอื่น 62 ป้าย มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4.5 ล้านคนต่อวัน (1,409 ล้านคนต่อปี) ถือเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ตามหลังมอสโก โตเกียวและเม็กซิโก และอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเดินรถไฟฟ้า ตามหลังนิวยอร์ก โซล โตเกียว มอสโก มาดริด (แต่ถ้ารวมกับแอร์เออแอร์แล้วจะอยู่ในอันดับที่ 1) ส่วนจำนวนสถานีนั้นอยู่ที่ลำดับ 3 ของโลก รองลงมาจากนิวยอร์ก (468 สถานี) และ โซล ทั้งนี้สถานีชาตเลต์-เลส์ อาลส์ยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
แต่ละสายจะมีเลขและสีในการบ่งบอก ส่วนทิศทางในการเดินทางเห็นได้จากสถานีปลายทางของแต่ละสาย
เนื้อหา |
[แก้] การใช้บริการ
[แก้] เวลาเปิดบริการ
รถไฟฟ้าปารีสจะเปิดให้ใช้บริการในเวลา 05.00 น. จนถึง 01.00 น. ทุกวันและทุกสถานี รถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายมักจะถูกเรียกว่า "balai" (ไม้กวาด) เนื่องจากได้กวาดผู้โดยสารชุดสุดท้ายของวันไปยังสถานีในเวลา 01.15 น. ทั้งนี้ในวันเสาร์และวันก่อนถึงวันหยุดเทศกาลจะเลื่อนเวลาปิดให้บริการไปอีก 1 ชั่วโมง และตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา รถไฟฟ้าปารีสได้เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมงในคืนวันศุกร์
รถไฟฟ้าปารีสยังเปิดตลอดเวลาในวันสิ้นปี วันดนตรีสากล วันนุยต์บล็องช์ และเทศกาลอื่นๆ อีกด้วย
[แก้] การใช้บริการ
บัตรรถไฟสามารถซื้อได้จากแผงขายบัตรหรือเครื่องขายอัตโนมัติบริเวณทางเข้าสถานีรถไฟ เมื่อสอดบัตรบริเวณประตูทางเข้าอัตโนมัติแล้ว มันจะเปิดให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางต่อไปยังชานชาลา หลังจากนั้นเครื่องจะให้บัตรรถไฟคืน
[แก้] บัตรรถไฟ
บัตรรถไฟมาตรฐานของรถไฟฟ้าปารีสคือ "บัตรรถไฟฟ้า t+" ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะเวลา 90 นาทีหลังจากเข้าชานชาลาและเดินทางได้เพียงรอบเดียว บัตรนี้สามารถใช้ได้ทั้งระบบรถไฟฟ้าปารีส รถเมล์ รถราง หรือแม้กระทั่งโซน 1 ของรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ (RER) ทำให้เป็นการลดการโดยสารจากระบบการขนส่งแบบเดียวกัน (เช่น รถไฟฟ้า - รถไฟฟ้า, รถเมล์ - รถเมล์ , รถราง - รถราง) ให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นได้ ระหว่างรถเมล์ - รถราง, รถไฟฟ้า - รถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ โซน 1 เป็นต้น ซื่อบัตรดังกล่าวเพียง €1.50 หรือสามารถซื้อ 10 ใบ ซึ่งเรียกว่า "การ์เนต์" (Carnet) ในราคา €11.10
บัตรอื่นๆ :
- บัตรสัปดาห์หรือเดือน (บัตรสีส้ม - Carte orange) หรือ บัตรวัน (Mobilis)
- บัตรปี (Intégrale และ Imagine R สำหรับนักเรียน)
- บัตรหนึ่งวัน สองวัน สามวันหรือห้าวัน (Paris Visite) สำหรับนักท่องเที่ยว
และสุดท้ายคือ บัตรนาวิโก (Passe Navigo) ซึ่งสามารถเติมเงินได้ และเป็นบัตรแบบสมาร์ทการ์ด (บัตรแบบทาบ)
[แก้] ข้อมูลทางเทคนิค
[แก้] โดยรวม
รถไฟฟ้าปารีสมีความยาวกว่า 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง 382 ป้ายจอดและ 62 ตัวเชื่อมระหว่างสาย ในที่นี้ไม่ได้รวมถึงระบบรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ (RER) ความยาวเฉลี่ยในแต่ละสถานีคือ 562 เมตร (1,845 ฟุต) รถไฟฟ้าจะจอดทุกสถานี แต่ละสายจะไม่มีการใช้ชานชาลาร่วมกัน แม้กระทั่งสถานีเชื่อมต่อก็ตาม ซึ่งก็เหมือนกับรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์
ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟฟ้าปารีสคือ 35 กม./ชม. (22 ไมล์/ชม.) และมีความเร็วสูงสุดคือ 70 กม./ชม. (44 ไมล์/ชม.) ยกเว้นรถไฟฟ้าอัตโนมัติ ไร้คนขับของสาย 14 ซึ่งมีความเร็วสูงสุดถึง 80 กม./ชม. รถไฟฟ้าปารีสโดยทั่วไปจะโดยสารทางฝั่งขวาเสมอ รางรถไฟใช้แบบรางมาตรฐานยุโรป ส่วนรางแบบขนส่งจะมีขนาดเล็กกว่าสายหลักของ SNCF ในแต่ละสายอาจจะมีตู้รถไฟฟ้าต่างกันจาก 3 จนถึง 6 ตู้ โดยแต่ละสายจะมีจำนวนตู้เท่ากัน และรับไฟฟ้ากระแสตรงขั้วบวกเพื่อขับเคลื่อนจากรางที่สาม (750v DC) ยกเว้นสายที่ใช้ล้อยาง ซึ่งจะรับพลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนจากรางตรงกลาง (750v DC) ซึ่งมีสาย 1, 4, 6, 11 และ 14 ใช้ล้อยาง
รถไฟฟ้าสายแรกสุดคือ สาย 1 ซึ่งขุดด้วยมือไปตามทางถนนชองป์ เซลิเซ่ส์เป็นเส้นตรง พวกวิศวกรต้องขุดไปตามถนนหรือต้องปะกับสิ่งก่อสร้างใต้ดิน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมบางสถานี (สาย 8 และ สาย 13) มีชานชาลาที่ไม่ได้อยู่แนวเดียวกัน เพราะถนนข้างบนแคบเกินไปในการสร้างชานชาลาให้ตรงข้ามกัน
[แก้] ล้อขับเคลื่อน
ล้อขับเคลื่อนของรถไฟฟ้าปารีสนั้นมี 2 แบบ ได้แก่ ล้อเหล็ก (Matériel fer : MF) และล้อยาง (Matériel pneu : MP) โดยแต่ละรุ่นจะมีชื่อต่างกันโดยตั้งชื่อในปีที่ออกแบบ ไม่ใช่ปีที่ให้บริการเป็นครั้งแรก
- ล้อยาง
- ล้อเหล็ก
- MF 67 : สาย 3 10 12 และแบบ 3 ตอนในสาย 3bis
- MF 77 : สาย 7 8 และ 13
- MF 88 : สาย 7bis
- MF 2000 : สาย 2 5 และ 9
[แก้] สายที่เปิดให้บริการ
รถไฟฟ้าปารีส (Métro de Paris) | |||||||||
สาย | เปิดใช้บริการ | ต่อเติมครั้งสุดท้าย | จำนวน สถานี |
ระยะทาง | ระยะทางเฉลี่ย ระหว่างสถานี (เมตร) |
จำนวนรอบที่วิ่ง (ต่อปี) |
สถานีต้นทาง / ปลายทาง | ||
กม. | ไมล์ | ||||||||
สาย 1 | พ.ศ. 2443 | พ.ศ. 2535 | 25 | 16.6 | 10.3 | 692 | 165,921,408 | • ลา เดฟองซ์ • ชาโต เดอ แวงแซนน์ |
|
สาย 2 | พ.ศ. 2443 | พ.ศ. 2446 | 25 | 12.3 | 7.7 | 513 | 95,945,503 | • ปอร์ต โดฟีน • นาซียง |
|
สาย 3 | พ.ศ. 2447 | พ.ศ. 2514 | 25 | 11.7 | 7.3 | 488 | 91,655,659 | • ปงต์ เดอ เลอวาลลัวส์ • กัลลีนี |
|
สาย 3bis | พ.ศ. 2514 | พ.ศ. 2514 | 4 | 1.3 | 0.8 | 433 | • ปอร์ต เดส์ ลีลาส • กองเบตตา |
||
สาย 4 | พ.ศ. 2451 | พ.ศ. 2453 | 26 | 10.6 | 6.6 | 424 | 155,348,608 | • ปอร์ต เดอ กลีญองกูร์ต • ปอร์ต ดอร์เลอองส์ |
|
สาย 5 | พ.ศ. 2449 | พ.ศ. 2528 | 22 | 14.6 | 9.1 | 695 | 92,778,870 | • โบบิญี • ปลาซ ดิตาลี |
|
สาย 6 | พ.ศ. 2452 | พ.ศ. 2485 | 28 | 13.6 | 8.5 | 504 | 104,102,370 | • ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ - เอตวล • นาซียง |
|
สาย 7 | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2530 | 38 | 22.4 | 13.9 | 605 | 121,341,833 | • ลา กูร์เนิฟ • วีลล์ฌุฟ • เมรี ดีฟรี |
|
สาย 7bis | พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2510 | 8 | 3.1 | 1.9 | 443 | • หลุยส์ บล็องค์ • เพร แซงต์-แชร์เวส์ |
||
สาย 8 | พ.ศ. 2456 | พ.ศ. 2517 | 37 | 22.1 | 13.8 | 614 | 92,041,135 | • บาลาร์ด • เกรแตย |
|
สาย 9 | พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2480 | 37 | 19.6 | 12.2 | 544 | 119,885,878 | • ปงต์ เดอ แซฟร์ส • เมรี เดอ มงเตรย |
|
สาย 10 | พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2524 | 23 | 11.7 | 7.3 | 532 | 40,411,341 | • บูโลญ • การ์ เดาสเตอร์ลิทซ์ |
|
สาย 11 | พ.ศ. 2478 | พ.ศ. 2480 | 13 | 6.3 | 3.9 | 525 | 46,854,797 | • ชาตเลต์ • เมรี เดส์ ลีลาส |
|
สาย 12 | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2477 | 28 | 13.9 | 8.6 | 515 | 81,409,421 | • ปอร์ต เดอ ลา ชาเปลล์ • เมรี ดิซซี |
|
สาย 13 | พ.ศ. 2454 | พ.ศ. 2541 | 30 | 22.5 | 14 | 776 | 114,821,166 | • ชาตียง - มงต์รูช • แซงต์-เดอนีส์ • อัสนีแยร์ส - ชองเนอวีลลีเยร์ |
|
สาย 14 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2550 | 9 | 9 | 5.6 | 1,129 | 62,469,502 | • แซงต์-ลาซาร์ • โอแลงเปียดส์ |
รถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ (RER) | |||||||||
สาย | เปิดใช้บริการ | ต่อเติมครั้งสุดท้าย | จำนวน สถานี |
ระยะทาง | ระยะทางเฉลี่ย ระหว่างสถานี (เมตร) |
จำนวนรอบที่วิ่ง (ต่อปี) |
|||
กม. | ไมล์ | ||||||||
สาย A | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2537 | 46 | 108.5 | 67.5 | 2,411 | 272,800,000 | ||
สาย B | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2524 | 47 | 80 | 49.8 | 1,739 | 165,100,000 | ||
สาย C | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2543 | 85 | 185.6 | 115.5 | 2,184 | 140,000,000 | ||
สาย D | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2538 | 59 | 160 | 99.6 | 2,807 | 145,000,000 | ||
สาย E | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2546 | 21 | 52.3 | 32.5 | 2,615 | 60,000,000 |
[แก้] แหล่งข้อมูล