ยัสเซอร์ อาราฟัต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ياسر عرفات ยัสเซอร์ อาราฟัต |
|
---|---|
อดีตผู้นำองค์การ ปลดปล่อยแห่งชาติปาเลสไตน์ คนแรก |
|
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่: | 20 มกราคม พ.ศ. 2539 - |
ชาตะ: | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 |
มรณะ: | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 |
พรรคการเมือง: | ฟาตาห์ |
คู่สมรส: | ซูฮา อาราฟัต |
ยัสเซอร์ อาราฟัต (ياسر عرفات ยาซิร อะรอฟาต) (ชาตะ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงไคโร - มรณะ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ที่เมือง กลามาร์ท ประเทศฝรั่งเศส) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (ابو عمّار) ชื่อจริงคือ มุฮัมมัด อับดุลรออูฟ อะรอฟาต อัลกุดวะหฺ อัลฮุซัยนีย์ (محمد عبد الرؤوف القدوة الحسيني) เป็นนักการเมืองชาวปาเลสไตน์ อดีตผู้นำองค์การปลดปล่อยแห่งชาติปาเลสไตน์ หรือ PLO ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีค.ศ. 2537
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
อาราฟัตเกิดเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ในครอบครัวชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอียิปต์ ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา ได้ไปใช้ชีวิตวัยเด็ก และวัยรุ่นที่กรุงไคโร กับพี่น้องชายหญิงอีกหกคน ทำให้สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับครอบครัวที่อาศัยในอียิปต์ไว้ได้ เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมฟารุก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง
บิดาของอาราฟัตเป็นพ่อค้า และมีบุตรชายบุตรสาวรวมทั้งสิ้นเจ็ดคน สถานที่เกิด รวมทั้งวันเกิดของอาราฟัตยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน คาดว่าเขาเกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ แต่ก็มีบางฝ่าย ที่บอกว่าอาราฟัตเกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่นครเยรูซาเล็ม การค้นพบสูติบัติและเอกสารอื่นๆเกี่ยวกับอาราฟัต ของมหาวิทยาลัยแห่งกรุงไคโร ทำให้ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสถานที่เกิดและวันเกิดของอาราฟัตเป็นอันยุติลง (อลัน ฮาร์ท ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตก็ยอมรับแล้วว่าอาราฟัตเกิดที่กรุงไคโร)
ชื่อที่บิดามารดาของอาราฟัตตั้งให้เมื่อแรกเกิด ได้แก่ มุฮัมมัด อับดุลรออูฟ อะรอฟาต อัลกุดวะหฺ อัลฮุซัยนีย์ นายสะอีด เค. อะบูรีช ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตชาวปาเลสไตน์ได้อธิบาย (ในหนังสือ อาราฟัต: จากผู้พิทักษ์สู่เผด็จการ, สำนักพิมพ์บลูมสเบอรรี, พ.ศ. 2541, หน้า 7) ไว้ว่า "มุฮัมมัด อับดุลรอห์มาน เป็นชื่อต้นของเขา อับดุลรออูฟ เป็นชื่อของบิดา อะรอฟาตเป็นชื่อของปู่ อัลกุดวะหฺเป็นนามสกุล และอัลฮุซัยนีย์เป็นชื่อของชนเผ่าที่ครอบครัวของเขาเป็นสมาชิกอยู่" บางคนบอกว่าเขาสืบเชื้อสายชนเผ่าฮุซัยนีย์สายเยรูซาเล็มจากมารดา (โดยใช้ชื่อว่าอาบุซซาอูด) แต่ชื่อดังกล่าวก็จะขัดแย้งกับชื่อที่สืบเชื้อสายจากทางสายบิดา
อาราฟัตใช้ชีวิตส่วนใหญ่ช่วงวัยเยาว์ในกรุงไคโร ยกเว้นช่วงเวลาสี่ปีหลังการเสียชีวิตของมารดา ระหว่างอายุห้าถึงเก้าขวบ ที่เขาไปอาศัยอยู่กับอาในเยรูซาเล็ม ในปีพ.ศ. 2492 เขาได้เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ในกรุงไคโร ที่สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิศวกรรมโยธา เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา เขาได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มพี่น้องมุสลิม และ สมาคมนักศึกษาปาเลสไตน์ จนได้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรในปีพ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2499 ในปีพ.ศ. 2499 เขาได้เป็นทหารในกองทัพอียิปต์ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ อาราฟัตแต่งงานเมื่ออายุค่อนข้างมากแล้วกับซูฮา อาราฟัตเลขานุการของเขา ผู้มีวัยอ่อนกว่าถึง 34 ปี และได้ให้กำเนิดบุตรสาวชื่อ ซาห์วา เมื่อปีพ.ศ. 2538 ภริยาของเขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงที่สองของนโยบายอินติฟาเฎาะหฺ (การรณรงค์เพื่อต่อต้านการยึดครองของทหารอิสราเอล) ในปีพ.ศ. 2543 อาราฟัตถูกกองกำลังอิสราเอลกักอยู่ในเมืองรอมัลเลาะห์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เขาป่วยหนักในปีพ.ศ. 2547 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่เมืองคลามาร์ท ประเทศฝรั่งเศส
[แก้] ช่วงแรกเริ่มของพรรคแนวร่วมฟาตาห์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ผู้นำองค์การปลดปล่อยแห่งชาติปาเลสไตน์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ในเลบานอน
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ในตูนิเซีย
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] สนธิสัญญาสันติภาพออสโล
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] รัฐบาลปาเลสไตน์
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ถึงแก่อสัญกรรม
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับอาราฟัต
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] คำคม
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
|
|
---|---|
พ.ศ.2444-2468 (ค.ศ.1901-1925) |
อังรี ดูนังต์ / ปาสซี (1901) • ดูกอมมูน / โกบัต (1902) • เครเมอร์ (1903) • สถาบันกฎหมายนานาชาติ (IDI) (1904) • ซุทเนอร์ (1905) • รูสเวลต์ (1906) • โมเนตา / เรอโนล์ (1907) • อาร์โนลสัน / บาเยอร์ (1908) • เบอร์แนร์ / เดตูร์เนล เดอ กองสตอง (1909) • International Peace Bureau (IPB) (1910) • แอสเซอร์ / ไฟรด์ (1911) • รูต (1912) • ลา ฟองแตง (1913) • กาชาดสากล (ICRC) (1917) • วิลสัน (1919) • บูร์เกอัว (1920) • แบรนติง / แลงจ์ (1921) • นันเซน (1922) • แชมเบอร์เลน / ดอวส์ (1925) |
พ.ศ.2469-2493 (ค.ศ.1926-1950) |
ไบรอันด์ / สเตรสมันน์ (1926) • บุยซอง / ควิดด์ (1927) • เคลล็อก (1929) • โซเดอร์บลอม (1930) • อัดดัมส์ / บัตเลอร์ (1931) • อังเจลล์ (1933) • เฮนเดอร์สัน (1934) • ออสซิเอ็ดซกี (1935) • ลามัส (1936) • เซซิล (1937) • Nansen Office (1938) • กาชาดสากล (ICRC) (1944) • ฮุล (1945) • บัลช์ / มอตต์ (1946) • (Quaker Peace and Social Witness) QPSW / American Friends Service Committee (AFSC) (1947) • มหาตมะ คานธี * (1948) • บอยด์ ออร์ (1949) • บุนเช (1950) - * (ในปี 1948 มหาตมะ คานธี ได้รับคัดเลือก แต่ถูกลอบสังหารก่อนจะได้รับรางวัล) |
พ.ศ.2494-2518 (ค.ศ.1951-1975) |
ชูโอ (1951) • ชไวท์เซอร์ (1952) • มาร์แชลล์ (1953) • ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) (1954) • เพียร์สัน (1957) • ปิเร (1958) • เบเคอร์ (1959) • ลูตูลิ (1960) • ฮัมมาโชลด์ (1961) • พอลลิง (1962) • กาชาดสากล (1963) • ลูเทอร์ คิง (1964) • กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) (1965) • กาแซง (1968) • International Labour Organization (ILO) (1969) • บอร์ลอก (1970) • แบรนด์ (1971) • คิสซิงเจอร์ / เล ดึค โท (1973) • แมกไบรด์ / ซะโตะ (1974) • ซาคารอฟ (1975) |
พ.ศ.2519-2543 (ค.ศ.1976-2000) |
วิลเลียมส์ / คอร์ริแกน (1976) • องค์การนิรโทษกรรมสากล (AI) (1977) • ซาดัต / เบกิน (1978) • แม่ชีเทเรซา (1979) • เอสกุยเวล (1980) • ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) (1981) • ไมร์ดาล / การ์เซีย โรเบลส (1982) • วาเลซา (1983) • ตูตู (1984) • International Physicians for the Prevention of Nuclear War (IPPNW) (1985) • วีเซล (1986) • อริอัส (1987) • กองกำลังรักษาสันติภาพ (1988) • ทะไลลามะ (1989) • กอร์บาชอฟ (1990) • ซูจี (1991) • เมนชู (1992) • มันเดลา / เดอ เคลิร์ก (1993) • อาราฟัต / เปเรส / ราบิน (1994) • Pugwash Conferences / รอตแบลต (1995) • เบโล / ออร์ตา (1996) • กลุ่มรณรงค์ต่อต้านการใช้กับระเบิดสากล (ICBL) / วิลเลียมส์ (1997) • ฮูม / ทริมเบิล (1998) • องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) (1999) • คิมแดจุง (2000) |
พ.ศ.2544-2568 (ค.ศ.2001-ปัจจุบัน) |
สหประชาชาติ (UN) / อันนัน (2001) • คาร์เตอร์ (2002) • เอบาดี (2003) • มาไท (2004) • สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) / เอลบาราดาย (2005) • ยูนูส / ธนาคารกรามีน (2006) • อัล กอร์ / คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ (IPCC) (2550) |
ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ยัสเซอร์ อาราฟัต ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |