See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
มหาวิหารเวิมส์ - วิกิพีเดีย

มหาวิหารเวิมส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงก์ข้ามภาษาที่แทรกในบทความนี้ ผู้เขียนอาจใส่ไว้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านและผู้ร่วมปรับปรุงแก้ไขบทความ ให้โยงไปถึงบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาอื่นเพื่อการตรวจสอบหรืออ่านเพิ่มเติม เนื่องจากคำ หรือวลีนั้นๆ ยังไม่มีคำแปลหรือคำอธิบายที่เหมาะสมในภาษาไทย เมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ลิงก์ข้ามภาษาจะถูกตัดออกหรือเปลี่ยนเป็นข้อความที่ไม่มีลิงก์แทน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย
มหาวิหารเวิมส์มองจากด้านหลัง
มหาวิหารเวิมส์มองจากด้านหลัง

มหาวิหารเวิมส์ (ภาษาอังกฤษ: Worms Cathedral; ภาษาเยอรมนี: Wormser Dom) ตั้งอยู่ที่เมืองเวิมส์ ประเทศเยอรมนีเป็นมหาวิหารแบบโรมาเนสก์ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1110 ถึงปี ค.ศ. 1181 ระหว่างมหาวิหารเวิมส์ มหาวิหารสเปเยอร์ (Cathedrals of Speyer) และมหาวิหารไมซ์ (Cathedrals of Mainz) ถือว่าเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดบนฝั่งแม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมนี และมีเอกลักษณ์พิเศษที่แบนนิสเตอร์ เฟล็ทเชอร์ (Banister Fletcher) บรรยายว่าเป็น “ลักษณะที่สวยเหมือนรูป” ลักษณะนี้ต่อมาสถาปัตยกรรมแบบบาโรกนำเอาไปเป็นแบบอย่างในการสร้างวัดแบบบาโรก[1]

มหาวิหารเวิมส์ประกอบด้วยหอสี่หอ สองหอทางหน้าและอีกสองทางด้านหลังของวัด โดมสองโดม และที่สำหรับร้องเพลงสวดด้านทั้งหน้าและด้านหลังของวัด ด้านในมีลักษณะง่ายแต่สง่างามซึ่งเน้นด้วยการใช้สีธรรมชาติสีแดงของหินทรายที่เป็นวัสดุก่อสร้าง สังฆมณฑลคาทอลิกของเวิมส์ยุบเลิกเมื่อค.ศ. 1800

ผังของมหาวิหารและส่วนล่างทางด้านตะวันตกเป็นของเดิมที่สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1110 สิ่งก่อสร้างนอกจากบริเวณนั้นสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1181 แต่บริเวณร้องเพลงสวดและเพดานมาสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประตูด้านใต้มาเพิ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขณะเดียวกับที่สร้างหอกลางใหม่

การตกแต่งบริเวณเก่าเป็นแบบง่ายๆ แต่แม้แต่บริเวณที่ตกแต่งอย่างหรูก็มิได้แสดงถึงความมีฝีมือของช่าง เหนือประตูทางด้านใต้เท่านั้นที่มีรูปสลักยุคกอธิคเรื่องการไถ่บาปที่เด่น อ่างศีลจุ่มมีรูปหินสลักนูน 5 รูปจากคริสต์ศตวรรษที่ 15

แท่นบูชาเอกเป็นศิลปะแบบบาโรกสร้างเมื่อศตวรรษที่ 18 โดยสถาปนิก โยฮันน์ บาลทาซาร์ น็อยมาน (Johann Balthasar Neumann) เป็นแท่นบูชาที่โอ่อ่ามากเป็นแกะด้วยไม้ทาสีทองและหินอ่อน เป็นรูปนักบุญปีเตอร์ และนักบุญพอลและเทวดาสององค์ชี้ไปยังพระแม่มารีและพระบุตร[2] นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยรูปปั้นตกแต่งอย่างอื่นเช่นยุวเทพ

เนื้อหา

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Sir Banister Fletcher, History of Architecture on the Comparative Method
  2. ^ Worms Cathedral

[แก้] ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
มหาวิหารเวิมส์

[แก้] สมุดภาพ

หมายเหตุ: บทความนี้ถอดมาจาก Encyclopædia Britannica Eleventh Edition ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณะสมบัติ


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -