ทางสู่กางเขน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางสู่กางเขน(ภาษาอังกฤษ: Stations of the Cross (ที่หมายสู่กางเขน) ; ภาษาละติน: Via Crucis (ทางสู่กางเขน) หรือ Via Dolorosa (ทางแห่งความเศร้า) หรือ เรียกง่ายๆ ว่า The Way (ทาง) ทางสู่กางเขนคือเหตุการณ์ของคริสต์ศาสนาที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของชีวิตพระเยซู เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นำไปสู่การตรึงกางเขนและหลังการตรึงกางเขนหรือที่เรียกกันว่า “ทุกขกิริยาพระเยซู” (ภาษาอังกฤษ: Christ’s Passion) ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงความทรมานและความเสียสละของพระองค์[1] ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายอังกลิคัน และ นิกายลูเธอรัน ทางสู่กางเขนจะปฏิบัติเมื่อใดก็ได้แต่มักจะทำกันระหว่างช่วงเวลา “เล็นท์” (Lent) โดยเฉพาะทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างช่วงเวลานี้ และ “วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์” (Good Friday) ก่อนเทศกาลอีสเตอร์
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
วัตถุประสงค์ของการตั้งทางสู่กางเขนก็เพื่อให้ผู้มีศรัทธาได้เดินวิปัสนา/สวดมนต์ตามรอยพระบาทของพระเยซูจนสิ้นพระชนม์ พิธีนี้เป็นที่นิยมกันในบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ เฉพาะกลุ่มที่ปฏิบัติตามพิธีตะวันตก (Western Rite)
ที่หมายต่างของทางสู่กางเขนเป็นความพยายามที่จะสร้างเหตุการณ์วันที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนจากถนนสายที่เชื่อกันว่าเป็นถนนที่พระเยซูเดินไปสู่ที่การถูกตรึงกางเขนที่กรุงเยรูซาเลม ปัจจุบันเรียกว่าถนนกางเขน (Via Crucis) หรือ ถนนโดโลโรซา พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 การตั้งที่ทางสู่กางเขนก็เริ่มเผยแพร่ไปสู่วัดนิกายคาธอลิกในยุโรปตะวันตกแต่ก็ไม่ได้สร้างกันเต็มที่จนมาถึงทางสู่วัดแบบสำนักสงฆ์หรืออาราม การติดตั้งที่หมายเหล่านี้มิได้ทำกันจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17
ทางสู่กางเขน บางครั้งจะใช้ติดตั้งภายในวัด เป็นงานศิลปะสิ่งหนึ่งที่มักจะมองข้ามเมื่อเข้าชมวัด ส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปขนาดประมาณหนึ่งตารางฟุตติดตั้งเป็นระยะๆบนผนังสองด้านที่นำไปสู่แท่นบูชาเอก (high altar) แต่ละวัดก็จะมีรูปแบบแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ทำ หรือแบบศิลปะที่ใช้ทำ บางชุดจะเป็นงานที่มีฝีมือดีและคุณค่าสูง นอกจะติดตั้งภายในวัดแล้วบางครั้งก็จะตั้งเหมือนศาลเป็นระยะๆก่อนจะถึงตัววิหารซึ่งมักจะเห็นได้จากทางสู่วัดแบบสำนักสงฆ์หรืออาราม การติดตั้งที่หมายเหล่านี้มิได้ทำกันจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17[2] นอกจากนั้นฉากจากทางสู่กางเขนก็ยังใช้เป็นหัวข้อที่ใช้อย่างแพร่หลายในงานจิตรกรรมและประติมากรรม
[แก้] แบบทางสู่กางเขน
ภาพหรือสิ่งก่อสร้างในชุดทางสู่กางเขนจะประกอบด้วยฉาก หรือ ที่หมาย 14 จุด แต่ละชุดจะคล้ายๆกัน มีแตกต่างกันบ้างก็เล็กน้อย การจะเลือกอะไรที่หมายในชุดก็แล้วแต่ศรัทธาของผู้ใช้ ชุดทางสู่กางเขนที่นิยมกันก็มี
ชุดแรก
|
อีกชุดหนึ่ง
|
[แก้] แบบทางสู่กางเขนในปัจจุบัน
สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2เคยนำขบวนคริสต์ศาสนิกชนบนทางสู่กางเขนทุก“วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์”ที่โคลอสเซียมเป็นประจำทุกปี แต่เดิมพระองค์เองจะเป็นผู้แบกไม้กางเขนจากที่หมายหนึ่งไปที่หมายหนึ่ง แต่ระยะหลังพระองค์ได้แต่นั่งเป็นประธานพิธีที่เนินปาเลไทน์ (Palatine Hill) ขณะที่ผู้ร่วมทำพิธีคนอื่นแบกไม้กางเขนแทน ว่ากันว่าเมื่อไม่กี่วันก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ก็ได้นั่งดูทางสู่กางเขนจากชาเปลส่วนพระองค์ที่วังวาติกัน
ทุกปีสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 จะทรงเชิญให้คนเขียนบทภาวนา (meditation texts) สำหรับที่หมายแต่ละที่หมายบนทางสู่กางเขน ผู้เขียนหลายคนที่ทรงเชิญมิได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และบางปีทีหมายที่ทรงเลือกในเส้นทางก็จะเปลี่ยนไปตามพระทัยซึ่งทำให้มีคาดกันว่าพระองค์จะเปลี่ยนทางสู่กางเขนใหม่ เมื่อปีค.ศ. 2000 ทรงเขียนบทภาวนาด้วยพระองค์เองและใช้ทางสู่กางเขนตามประเพณีเดิม ทางสู่กางเขนของพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ประกอบด้วย
|
8. ไซมอน แห่ง ไซรีนช่วยพระเยซูแบกไม้กางเขน |
[แก้] การฉลองทางสู่กางเขน
การฉลองทางสู่กางเขนมักจะทำกันทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างเทศกาลเล็นท์ โดยเฉพาะ “วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์” ก่อนเทศกาลอีสเตอร์ การฉลองประกอบด้วยการร้องเพลงสวดและการสวดมนต์ เพลงสวดที่นิยมกันมากคือเพลงสวด (sequence) แบบที่เรียกกันว่า “Stabat Mater Dolorosa” ซึ่งเชื่อกันว่าริเริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดย สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 และ จาร์คคาโพเน ดา โทดี (Jacopone da Todi) หลวงพ่อจากรัฐอุมเบรีย (Umbria) ในประเทศอิตาลี Stabat Mater Dolorosa เป็นเพลงสวดที่บรรยายความโศกเศร้าของพระแม่มารีตอนที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน เมื่อถึงที่หมายแต่ละจุดบางทีก็จะมีการร้องเพลงสวดที่เรียกว่า “Adoramus Te” สรรเสริญพระเยซู หรือบางทีก็ร้อง “Alleluia”
ในปัจจุบันมีผู้สนับสนุนให้เพิ่มฉากพระเยซูฟี้นจากความตายเป็นที่หมายที่ 15 เพราะถ้าพระเยซูไม่ฟี้นจากความตายพระองค์ก็ไม่สามารถทำภาระกิจในการเป็นผู้ไถ่บาปของมวลมนุษย์ได้สำเร็จ เหตุผลอันเดียวกันนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้มีการฉลอง “อีสเตอร์ ทริดุม” (Easter Triduum หรือ Holy Triduum หรือ Paschal Triduum) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ค่ำ“วันพฤหัสบดึศักดิ์สิทธิ์” (Holy Thursday) และไปจบเอาค่ำวันอาทิตย์อีสเตอร์ (Easter Sunday) บางครั้งการฉลองทางสู่กางเขนก็จะทำเพื่อให้ระลึกถึงเวลาที่พระเยซูทรงฟื้นขึ้นจากความตายและเมื่อทรงขึ้นสวรรค์
ภาพยนตร์เรื่อง The Passion of the Christ สร้างโดย เมล กิบสัน ใช้ทางสู่กางเขนเป็นโครงเรื่อง แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับที่หมายที่ 14 และที่หมายสุดท้ายการฝังพระเยซูเมื่อเทียบกับที่หมายอีก 13 ที่ ซึ่งอาจจะตีความหมายได้ว่าพระเยซูกำลังออกจากที่ฝังศพและจะฟี้นจากความในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Way of the Cross (Catholic Encyclopedia) - ทางสู่กางเขน
- รายการการฉลองทางสู่กางเขนของกรุงวาติกัน
- ทางสู่กางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 19) (College of the resurrection) - ภาพและบทสวดมนต์
- ทางสู่กางเขน (Via Cruis: The Way of The Cross) - คำบรรยาย ภาพจากเยรูซาเล็มและบทสวดมนต์
- ทางสู่กางเขนของพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ปี 1991 (New American Bible)
- งานภาพพิมพ์ทางสู่กางเขนโดย Albrecht Dürer และ Adrian Wiszniewski
- ทุกขกิริยาของพระเยซูในศิลปะ (The Passion of Christ in Art)
- ทางสู่กางเขน (Anglican Church of St. Martin's (โตรอนโต ประเทศคานาดา)) - ภาพ
[แก้] ประมวลภาพ
ที่หมายที่ 1 และ 2 (คริสต์ศตวรรษที่ 19) ที่มหาวิหาร Sacré-Cœur ที่ปารีส |
||||
พระเยซูบนกางเขนที่นครนิวยอร์ก |