จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
วิทยา จริยา ปัญญา |
|
|
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาอังกฤษ |
Khon Kaen University |
นายกสภาฯ |
พล.ต.อ.เภา สารสิน |
อธิการบดี |
รศ.ดร. สุมนต์ สกลไชย |
เพลงสถาบัน |
มาร์ชมหาวิทยาลัยขอนแก่น,มาร์ชกัลปพฤกษ์ |
สีประจำสถาบัน |
ดินแดง |
ต้นไม้ |
กัลปพฤกษ์ |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 จัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศทางด้านการเรียนการสอน และดีเยี่ยมทางด้านการวิจัย
[แก้] ประวัติ
- ในปี พ.ศ. 2484 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายและโครงการที่จะขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาค สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดอุบลราชธานี แต่ในระหว่างนั้น ได้เกิดสงครามเอเชียบูรพา ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเข้าร่วมกับญี่ปุ่นต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงทำให้การจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยุติลงในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลซึ่งมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทบทวนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้อีกครั้งหนึ่ง
- ปี พ.ศ. 2505 จึงได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ขึ้น ที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า "สถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น" และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Khon Kaen Institute of Technology" มีชื่อย่อว่า K.I.T.
- ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น "มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีหน่วยราชการใด ที่จะรับผิดชอบการดำเนินการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยตรง รัฐบาลจึงได้มีมติให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการหาสถานที่ จัดร่างหลักสูตร ตลอดจนการติดต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- ปี พ.ศ. 2506 คณะอนุกรรมการได้ตกลงเลือกบ้านสีฐานเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยในเนื้อที่ ประมาณ 5,500 ไร่ ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 4 กิโลเมตร
- ปีการศึกษา 2507 สำนักงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ได้รับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรุ่นแรก จำนวนทั้งสิ้น 107 คน โดยแยกเป็นนักศึกษาเกษตรศาสตร์ 49 คน และวิศวกรรมศาสตร์ 58 คนโดยฝากเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
- ปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ตามชื่อเมืองที่ตั้ง และได้โอนกิจการจากสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติไปเป็นของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2509 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็น วันสถาปนามหาวิทยาลัย อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัย จอมพล ถนอม กิตติขจร และนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นในขณะนั้น ได้ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพิจารณาแต่งตั้งให้:
- ฯพณฯ พจน์ สารสิน เป็นอธิการบดี
- ศาสตรจารย์ พิมล กลกิจ เป็นรองอธิการบดี ผู้รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ และผู้รักษาการคณบดีเกษตรศาสตร์
- ดร. วิทยา เพียรวิจิตร เป็นผู้รักษาการคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
และในปีเดียวกันนี้ ได้ย้ายนักศึกษาที่ฝากเรียนไว้ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในสถานที่ปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นรูปเทพยดากระหนาบองค์พระธาตุพนม อัญเชิญมิ่งมงคลประทานแก่สถาบัน สถิตเหนือขอนไม้ ซึ่งสลักเป็นชื่อมหาวิทยาลัย พื้นหลังแบ่งเป็น 3 ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา 3 ประการ ได้แก่
- วิทยา คือ ความรู้ดี
- จริยา คือ ความประพฤติดี
- ปัญญา คือ ความฉลาด เกิดแต่การเรียนดี และคิดดี
[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ สีดินแดง อันมีความหมายโยงไปถึงลักษณะ และภูมินามของพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
[แก้] ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ดอกกัลปพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกพระราชทาน เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510
[แก้] คณะ/วิทยาลัย/วิทยาเขต
[แก้] ศูนย์/สถาบัน/สำนัก
|
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- สถาบันภาษา
- ศูนย์คอมพิวเตอร์
- ศูนย์บริการวิชาการ
|
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น