ภาษาเซอร์เบีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเซอร์เบีย српски เซิรพสกี |
||
---|---|---|
พูดใน: | เซอร์เบีย มอนเตเนโกร โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และอื่น ๆ | |
จำนวนผู้พูด: | 11,144,758 | |
อันดับ: | ประมาณ 75 | |
ตระกูลภาษา: | อินโด-ยูโรเปียน สลาวิก สลาวิกใต้ สลาวิกใต้ตะวันตก ภาษาเซอร์เบีย |
|
สถานะทางการ | ||
ภาษาทางการใน: | เซอร์เบีย มอนเตเนโกร โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และในบางเขตเทศบาลของมาซิโดเนีย | |
องค์กรควบคุม: | คณะกรรมาธิการมาตรฐานภาษาเซอร์เบีย | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | sr | |
ISO 639-2: | scc (B) | srp (T) |
ISO 639-3: | srp | |
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษาเซอร์เบีย (Serbian) เป็นหนึ่งในหลายมาตรฐานของภาษาถิ่นชทอคาเวีย (Štokavian dialect) ภาษาเซอร์เบียใช้มากในเซอร์เบีย มอนเตเนโกร โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และชาวเซิร์บในทุก ๆ ที่ มาตรฐานเดิมของภาษานี้คือ ภาษาเซิร์บ-โครแอต (Serbo-Croatian language) ปัจจุบันแตกออกเป็นมาตรฐานภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย และภาษาบอสเนีย
ภาษาเซอร์เบียมีคุณสมบัติเฉพาะที่ภาษาอื่นส่วนใหญ่ไม่มี คือ ทุกคำสะกดตามที่อ่านตรง ๆ และทุกตัวอักษรแทนหนึ่งเสียง หลักการนี้เป็นไปตามสุภาษิตที่ว่า "เขียนตามที่พูดและอ่านตามที่เขียน" ("Write as you speak and read as it is written") ซึ่งเป้นหลักการที่ใช้โดย วุค สเตฟานอวิช คาราดจิช (Vuk Stefanović Karadžić) ตอนที่ปฏิรูปการสะกดภาษาเซอร์เบียด้วยอักษรซีริลลิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19
อีกคุณสมบัติเฉพาะของภาษาเซอร์เบีย คือการใช้อักษร 2 แบบ คือ อักษรซีริลลิกและอักษรละติน ซึ่งแทบจะเหมือนกัน ยกเว้นในรูปอักษรที่ใช้ ที่เป้นเช่นนี้เนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากส่วนหนึ่งของประชากรที่พูดภาษาเซอร์เบียอยู่ภายใต้อิทธิพลทางตะวันตก (ที่ใหม่กว่า) ของออสเตรีย-ฮังการี และส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้อิทธิพลทางตะวันออก (ที่เก่ากว่า) ของ จักรวรรดิไบแซนไทน์ ผู้มีการศึกษาทุกคนจะมีความรู้ในทั้ง 2 อักษร
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ภาษาเซอร์เบีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษาเซอร์เบีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |