See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พูดคุย:พระสงฆ์ - วิกิพีเดีย

พูดคุย:พระสงฆ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงพระธรรมจักร  ธงพระพุทธศาสนาสากล
พระสงฆ์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
โครง บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เนื้อหา

[แก้] รวม พระสงฆ์ สงฆ์ ภิกษุ

เนื้อหาใกล้เคียงเกี่ยวเนื่องกัน (ถ้าไม่เหมือนกัน) และแต่ละหัวข้อก็มีเนื้อหาน้อยมาก น่าจะรวมกันได้ -- 172.173.66.36 11:48, 25 กรกฎาคม 2006 (UTC)


สงฆ์ แปลว่า "หมู่" ใช้คู่กับ พระ คือพระสงฆ์ แปลว่าหมู่ของพระ
ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอโดยสงบ ผู้เห็นภายในสังสารวัฏ ผู้ใช้ผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ภิกษุหลายองค์เรียกว่า ภิกษุสงฆ์
ดังนั้นคำหลักจึงน่าจะเป็น ภิกษุ คำว่าสงฆ์เป็นคำขยายความสำหรับเอ่ยถึงพระหรือภิกษุโดยทั่วไปที่มีหลายองค์เท่านั้น เรียกต่อๆ กันมานานเข้าก็เหลือแต่สงฆ์
เสนอว่าควรใช้คำว่า ภิกษุ เป็นหลักสำหรับโยงเข้าหาครับ
-- Heuristics 12:09, 25 กรกฎาคม 2006 (UTC)


เช่นนี้ เราน่าจะสรุปได้ว่า ภิกษุ คือ พระในพุทธศาสนา ? ... ดังนั้น น่าจะมีจำนวนบทความ 2 อัน คือ

  • พระ - สำหรับพระ/นักบวชทั่วไป ไม่เจาะจงศาสนา
  • ภิกษุ - สำหรับพระในพุทธศาสนา -- เนื้อหานำมาจากเนื้อหาปัจจุบันของ พระสงฆ์ สงฆ์ และภิกษุ รวมกัน

ดีหรือไม่ครับ ? -- 172.173.66.36 14:12, 25 กรกฎาคม 2006 (UTC)


ไม่น่าจะถูกนะครับ เพราะผมเห็นว่า พระ หากใช้เดี่ยวๆ สำหรับคนไทยแล้ว มันเจาะจงหมายถึงภิกษุ หรือผู้ออกบวชในพระพุทธศาสนา เท่านั้นครับ ไม่ได้หมายถึงนักบวชทั่วไป ไม่เจาะจงศาสนานะครับ หากเป็นศาสนาอื่น หรือพุทธนิกายอื่น หรือใช้เรียกขุนนาง ก็มีชื่อไทยเรียกอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น บาทหลวง, พระจีน, พระญี่ปุ่น, พระเกาหลี, พระฝรั่ง, คุณพระ เป็นต้น คำภาษาอื่นจะเป็นอย่างไร ก็ตามสบายครับ แต่คำไทย เพราะผมไม่ค่อยคุ้นหรือเคยรู้ว่ามีการเรียกนักบวช ศาสนาอื่น ว่า พระ ด้วย (ยกเว้นศาสนาพุทธนิกายอื่น หรือศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดียครับ) ยกตัวอย่างนะครับ สมมติมีบาทหลวงเดินคู่มากับพระ และคุณพ่อผมบอกให้ไหว้พระก่อน ผมก็จะไหว้ "พระ" ก่อนนะครับ สรุปคือ ไม่ควรรวมบทความ และความหมายของพระ ที่คุณ 172.173.66.36 ว่าไว้ ก็ไม่น่าจะถูกครับ (แต่เห็นด้วยที่ให้แยก พระ ออกมาเพิ่มด้วย) -- chinvudh 22.42, 06 มีนาคม 2550 (UTC)

[แก้] พระ/สงฆ์/ภิกษุในศาสนาอื่น

ในศาสนาอื่นก็มีพระเหมือนกัน เรียกเหมือน/ต่างกันอย่างไร ? -- 172.173.66.36 11:48, 25 กรกฎาคม 2006 (UTC)


เหมือนข้างต้นนะครับ คำว่า พระ/สงฆ์/ภิกษุ น่าจะเป็นคำไทย ที่มีความหมายเฉพาะสำหรับนักบวชในพระุพุทธศาสนา หากศาสนาอื่น จะมีนักบวชเหมือนกัน (ไม่ใช่มี พระ เหมือนกัน) ก็น่าจะมีคำเรียกแตกต่างกันไป หากจะแปลเป็นไทยหรือใช้คำไทย ผมคิดว่าน่าจะมีคำไทยอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับเรียกนักบวช จากศาสนาอื่นนะครับ

หรือหากกรณีจะใช้ พระ เป็นคำขยายในเชิงยกย่อง ก็ต้องใช้คู่กันครับเช่น พระอินทร์ พระเยซู พระพรหม พระคริสต์ อย่างนี้พอได้ แต่เมื่อไรใช้เดี่ยวๆ ก็จะเป็นอย่างย่อหน้าบนละครับ

คำว่า สงฆ์ นั้นหากศาสนาอื่นจะมีใช้ ก็คงต้องใช้ที่ความหมายของคำที่แปลว่า หมู่ ละครับ ใช้โดดๆ ก็จะไม่ได้ความหมายที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับคนไทยครับ (รวมถึงคำว่า เณร ด้วย)

ส่วนคำว่า ภิกษุ นั้นชัดเจนที่สุด ดังนั้นหากศาสนอื่นจะนำไปใช้ ก็คงต้องใช้ที่ตัวความหมายที่มีคนกล่าวไว้แล้ว หากไม่ตรงก็ ไม่ควรครับ

 -- chinvudh 22.42, 06 มีนาคม 2550 (UTC)


[แก้] พระภิกษุสงฆ์

ใช้คำว่า พระภิกษุสงฆ์

อาจจะงงๆ นะครับ เพราะจริงๆ ควรเรียกแยกเป็น พระภิกษุ (ไม่ครบ 4 รูป) หรือ พระสงฆ์ (ไม่ครบ 4 รูป ตามความหมาย/การรับรู้ที่เพี้ยนไปของคนไทยและเข้าใจว่าตอนนี้ทำหน้าที่เป็นนามอย่างเดียว จำเป็นต้องมีการระบุจำนวนกำักับไว้ด้วยแล้ว เช่น พระภิกษุ 2 รูป, 6 รูป หรือ พระสงฆ์ 3 รูป เป็นต้น - จริงๆ ควรเป็นหมู่ภิกษุอย่างน้อย 4 รูป) หรือภิกษุสงฆ์ (หมู่ภิกษุอย่างน้อย 4 รูป) ส่วน พระภิกษุสงฆ์ ผมเข้าใจว่า พระเป็นคำที่ไทยเราเติมข้างหน้าเพื่อยกย่องมากกว่าจะมีความหมายอย่างอื่นนะครับ -- chinvudh 22.42, 06 มีนาคม 2550 (UTC)

[แก้] ควรแยก ภิกษุ และ ภิกษุณี ออกจากกัน

ภิกษุณี ควรแยกไปเป็นบทความต่างหากจาก ภิกษุ เพราะความหมายและข้อปฏิบัติในพระวินัยแตกต่างกันชัดเจน และเพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาปลีกย่อยลงไปได้โดยไม่สับสนในอนาคต

พระภิกษุ และ พระภิกษุณี ควรทำหน้าเปลี่ยนทางไปที่ ภิกษุ และ ภิกษุณี ตามลำดับ เหมือนใน en:wikipedia

--Tmd 14:02, 5 เมษายน 2007 (UTC)

[แก้] รวมบทความ

ผมเสนอว่าน่าจะมีการจัดเนื้อหาดังนี้ครับ

  • รวมสงฆ์กับพระสงฆ์ เข้าด้วยกัน เน้นในฐานะหนึ่งในสามของพระรัตนตรัย โดยอธิบายความหมายที่แตกต่างกันไว้ในบทความด้วย
  • คงภิกษุไว้ ในฐานะที่หมายถึงนักบวชชายในพุทธศาสนา แยกภิกษุณีออกมาในฐานะนักบวชหญิง ทั้งสองบทความชี้ให้ไปอ่านเพิ่มที่พระสงฆ์
  • บทความที่ให้ความหมายสากลของนักบวชในทุกศาสนา ควรใช้ชื่อบทความ นักบวช ซึ่งควรอธิบายความหมายกว้างๆของนักบวชที่รวมทุกศาสนา แล้วแยกว่าแต่ละศาสนาเรียกนักบวชอย่างไร
  • พระ เปลี่ยนทางไปที่พระสงฆ์ สร้าง พระ (แก้ความกำกวม) ในกรณีที่พระหมายถึงอย่างอื่นที่ไม่ใช่พระสงฆ์

มีใครมีความเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ--Saeng Petchchai 11:35, 18 ธันวาคม 2007 (ICT)


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -