ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นฝ่ายของ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี บัลแกเรีย ตุรกีในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นฝ่ายแพ้สงคราม
เนื้อหา |
[แก้] การก่อตัว
เยอรมันเริ่มเป็นพันธมิตรกับออสเตรียฯตั้งแต่ พ.ศ. 2422 และดำเนินนโยบายทางการเมืองในทางตรงข้ามกับอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียที่รวมตัวเป็นไตรพันธมิตร
การประกาศสงครามโลกเริ่มจากออสเตรียฯยื่นคำขาดต่อเซอร์เบียเกี่ยวกับคดีลอบปลงพระชนม์มกุฏราชกุมารแต่เซอร์เบียปฏิเสธ ออสเตรียฯจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าช่วยออสเตรียฯ ส่วยรัสเซียเข้าข้างเซอร์เบีย การประกาศสงครามกับฝรั่งเศสของเยอรมนีและบุกฝรั่งเศสโดยผ่านเบลเยียมทำให้อังกฤษเข้าร่วมสงครามโดยประกาศสงครามกับเยอรมนีและทำให้สงครามขยายตัวจนเป็นสงครามโลก
นอกจากเยอรมนีกับออสเตรียฯแล้ว ฝ่ายมหาอำนาจกลางมีชาติอื่นเข้ารวมเพียง 2 ชาติคือ ตุรกีกับบัลแกเรีย ชาติอื่นประกาศสงครามร่วมกับฝายไตรพันธมิตรทั้งหมดรวมทั้งประเทศไทย
[แก้] การรบ
ประเทศที่เป็นกำลังหลักของฝ่ายนี้คือเยอรมนีที่เปิดแนวรบทั้ง 2 ด้านกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ตุรกีทำการรบด้านเทือกเขาคอเคซัสและทะเลดำ ออสเตรียฯกับบัลแกเรียทำการรบในแหลมบอลข่าน เมื่อการรบยืดเยื้อมากขึ้น ฝ่ายมหาอำนาจกลางถูกปิดล้อมทางทะเลโดยราชนาวีอังกฤษและการร่วมสงครามกับฝ่ายไตรพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในท่สุด
[แก้] การยอมแพ้
บัลแกเรียเป็นชาติแรกที่ยอมแพ้เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2461 หลังจากถูกบุกโดยอังกฤษ ฝรั่งเศสและเซอร์เบียพร้อมกัน และเยอรมนีไม่อาจช่วยเหลือได้ ตุรกียอมแพ้เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ออสเตรียฯยอมแพ้เมื่อ 3 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เยอรมนียอมแพ้เป็นชาติสุดท้ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
สนธิสัญญาที่ฝ่ายแพ้สงครามถูกบังคับให้ลงนามตามลำดับ
- เยอรมนี ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)
- ออสเตรีย ลงนามในสนธิสัญญาแซง - แชร์แมง (Treaty of Saint - Germain)
- บัลแกเรีย ลงนามในสนธิสัญญาเนยยี (Treaty of Neuilly)
- ฮังการี ลงนามในสนธิสัญญาตรียานง (Treaty of Trianon)
- ตุรกี ลงนามในสนธิสัญญาแซฟวร์ (Treaty of Sevres) ต่อมาเจรจาต่อรองทำสนธิสัญญาโลซาน (Treaty of Lausanne)
[แก้] หลังสงคราม
- เยอรมนี เสียอาณานิคมในทวีปอื่นทั้งหมด เสียแคว้นกาลิเซีย ปรัสเซียตะวันตก โปเซน ไปตั้งเป็นประเทศโปแลนด์ เสียแคว้นอัลซาสและลอร์เรนให้ฝรั่งเศส
- ออสเตรีย-ฮังการี ถูกแบ่งเป็นประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี โดยแยกแคว้นโบฮีเมีย และไซลิเซียไปตั้งเป็นประเทศเชโกสโลวะเกีย เสียดินแดนทรานซิลเวเนียให้โรมาเนีย ส่วนแคว้นสลาโวเนีย บอสเนีย เฮอร์เซโกวินา นำไปรวมกับเซอร์เบียและตั้งเป็นประเทศใหม่คือยูโกสลาเวีย
- บัลแกเรีย เสียแคว้นเทรซให้กรีซ เสียแคว้นโดบรูจาให้โรมาเนีย
- ตุรกี หมดอำนาจในอิรัก ปาเลสไตน์และซีเรีย
[แก้] อ้างอิง
- ปรีชา ศรีวาลัย. สงครามโลกครั้งที่ 1. โอเดียนสโตร์. 2542
- สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. สารานุกรมประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับราชบัณทิตยสถาน เล่ม C-D