ทองใบ ทองเปาด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทองใบ ทองเปาด์ | |
นามแฝง: | ศรีสารคาม, ธิดา ประชารักษ์, รังสรรค์ ภพไพบูลย์ |
---|---|
เกิด: | 12 เมษายน พ.ศ. 2469 (อายุ 82 ปี) อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม |
อาชีพ: | นักหนังสือพิมพ์ ทนายความ |
ทองใบ ทองเปาด์ (12 เมษายน พ.ศ. 2469 - ) ทนายความ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ
ทองใบ ทองเปาด์ เกิดที่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 6 คนของ นายหนู และนางเหง่า มีอาชีพทำนา จบชั้นมัธยม 6 ที่จังหวัดมหาสารคาม และมาเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้าเรียนที่คณะสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วลาออกมาเรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างศึกษาในกรุงเทพ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน จึงอาศัยเป็นเด็กวัด อยู่วัดชนะสงครามมาตลอด
หลังจบมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ได้เริ่มทำงานเป็นทนายความ ว่าความให้กับนักหนังสือพิมพ์ในคดีกบฏสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2496 พร้อมกับทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ ที่หนังสือพิมพ์ "ไทยใหม่" ร่วมกับ สุภา ศิริมานนท์ ต่อมาย้ายไปหนังสือพิมพ์ "พิมพ์ไทย" ร่วมกับ ทวีป วรดิลก ย้ายไป "สยามนิกร" "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" และ "ข่าวภาพ" โดยมีหน้าที่เขียนข่าวการเมือง มีฉายาว่า "บ๊อบการเมือง" (เนื่องจากขณะนั้น ทองใบไว้ผมยาว ทรงบ๊อบ) [1]
ในปี พ.ศ. 2501 ได้เกินทางร่วมคณะหนังสือพิมพ์ไปประเทศจีน ร่วมกับกุหลาบ สายประดิษฐ์ สุวัฒน์ วรดิลก และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี เมื่อกลับมาจึงถูกจับขังคุกหลายปีโดยไม่มีความผิด ได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ. 2509 ออกมาทำงานเป็นทนายความ และนักข่าวหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
ทองใบ ทองเปาด์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2527 - 2529 [2] และได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2527 แต่ทองใบปฏิเสธที่จะเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากต้องรับรางวัลจากประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ซึ่งในขณะนั้นมีภาพของผู้นำเผด็จการ และละเมิดสิทธิมนุษยชน จากกรณีลอบสังหารนายเบนีโย อากีโน (สามีของนางคอราซอน อากีโน) เมื่อ พ.ศ. 2526 [1]
[แก้] อ้างอิง
- ^ 1.0 1.1 แถมสิน รัตนพันธุ์. ตำนาน "ลึก(ไม่)ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์ -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. (ISBN 974-9785-33-9)
- ^ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. เสี้ยวศตวรรษ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย -- กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า), พ.ศ. 2539. (ISBN 974-89658-0-5)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
พ.ศ. 2544 |
กรุณา กุศลาสัย · จิตต์ ไตรปิ่น · ชนิด สายประดิษฐ์ · ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ · โชติศรี ท่าราบ · นิลวรรณ ปิ่นทอง · ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา · ประหยัด ศ. นาคะนาท · เรืองอุไร กุศลาสัย · ศักดิชัย บำรุงพงศ์ · ศรี ชัยพฤกษ์ · สลวย โรจนสโรจ · หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร · เสาว์ บุญเสนอ |
พ.ศ. 2545 |
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · จันทร์แจ่ม บุนนาค · ฐะปะนีย์ นาครทรรพ · ถาวร ช่วยประสิทธิ์ · นงไฉน ปริญญาธวัช · บุศย์ สิมะเสถียร · ประกาศ วัชราภรณ์ · สมพ้อง ศิริวงศ์ · สมภพ ภิรมย์ · สมศรี สุกุมลนันท์ · สรรพสิริ วิรยศิริ · สละ ลิขิตกุล · สุรพงษ์ บุนนาค · เสนอ อินทรสุขศรี · อาจิณ จันทรัมพร |
พ.ศ. 2546 |
ชอุ่ม ปััญจพรรค์ · ธนู ปิยะรัตน์ · หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ · ไพศาล มาลาพันธ์ · หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย · แม้นมาส ชวลิต · รัญจวน อินทรกำแหง · สรศัลย์ แพ่งสภา · สุวัฒน์ วรดิลก · หะริน หงสกุล |
พ.ศ. 2547 |
ชิต กันภัย · เต็มสิริ บุณยสิงห์ · ผ่อง พันธุโรทัย · ระพี สาคริก · ศรีนาถ สุริยะ · สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ · สังวรณ์ ไกรฤกษ์ |
พ.ศ. 2548 |
สุรีพันธุ์ มณีวัต · ชาลี อินทรวิจิตร · ชัยเจริญ ดวงพัตรา · ฉลอง ธาราพรรค์ · สังคีต จันทนะโพธิ · สุคนธ์ จันทรางศุ · ใหญ่ นภายน · สุริยา นวลศรี |
พ.ศ. 2549 |
เกียรติพงศ์ กาญจนภี · จำเนียร สรฉัตร · หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์ · หม่อมหลวงจินตนา นพวงศ์ · เฉก ธนะสิริ · ชัยยะ ปั้นสุวรรณ · ทองใบ ทองเปาด์ · ถาวร สุวรรณ · ไพฑูรย์ สุนทร · วิชัย สนธิชัย · วาทิน ปิ่นเฉลียว · สมบูรณ์ วรพงษ์ · สาทิส อินทรกำแหง · อังคาร กัลยาณพงศ์ · อัตถ์ พึ่งประยูร |
พ.ศ. 2550 |
กมลพันธ์ สันติธาดา · กุหลาบ มัลลิกะมาส · จินดา ศิริมานนท์ · ดอกดิน กัญญามาลย์ · เดโช บุญช่วย · ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา · หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ · นพพร บุณยฤทธิ์ · ประเสริฐ ณ นคร · พยงค์ มุกดา · ระวี ภาวิไล · สมสุข กัลย์จาฤก · สุนทร จันทรัมพร · อาจินต์ ปัญจพรรค์ |
ทองใบ ทองเปาด์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ทองใบ ทองเปาด์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |