จังหวัดระนอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศสหภาพพม่า และทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร
ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก เป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร
เนื้อหา |
[แก้] ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง
แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้
- แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
- คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
- คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
- คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
- คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
- คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
[แก้] ภูมิอากาศ
จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน
[แก้] อุทยาน
- อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโกมาชุม (Dendrobium formosum)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุขแท้เมืองระนอง
[แก้] บุคลสำคัญประจำจังหวัด
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
|
||
---|---|---|
เมืองหลวง | กรุงเทพมหานคร | |
ภาคเหนือ | เชียงราย • เชียงใหม่ • น่าน • พะเยา • แพร่ • แม่ฮ่องสอน • ลำปาง • ลำพูน • อุตรดิตถ์ | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | กาฬสินธุ์ • ขอนแก่น • ชัยภูมิ • นครพนม • นครราชสีมา • บุรีรัมย์ • มหาสารคาม • มุกดาหาร • ยโสธร • ร้อยเอ็ด • เลย • ศรีสะเกษ • สกลนคร • สุรินทร์ • หนองคาย • หนองบัวลำภู • อุดรธานี • อุบลราชธานี • อำนาจเจริญ | |
ภาคกลาง | กำแพงเพชร • ชัยนาท • นครนายก • นครปฐม • นครสวรรค์ • นนทบุรี • ปทุมธานี • พระนครศรีอยุธยา • พิจิตร • พิษณุโลก • เพชรบูรณ์ • ลพบุรี • สมุทรปราการ • สมุทรสงคราม • สมุทรสาคร • สระบุรี • สิงห์บุรี • สุโขทัย • สุพรรณบุรี • อ่างทอง • อุทัยธานี | |
ภาคตะวันออก | จันทบุรี • ฉะเชิงเทรา • ชลบุรี • ตราด • ปราจีนบุรี • ระยอง • สระแก้ว | |
ภาคตะวันตก | กาญจนบุรี • ตาก • ประจวบคีรีขันธ์ • เพชรบุรี • ราชบุรี | |
ภาคใต้ | กระบี่ • ชุมพร • ตรัง • นครศรีธรรมราช • นราธิวาส • ปัตตานี • พังงา • พัทลุง • ภูเก็ต • ยะลา • ระนอง • สงขลา • สตูล • สุราษฎร์ธานี |
|
|
---|---|
ก่อน พ.ศ. 2500 | พระนคร • ธนบุรี • มีนบุรี • ธัญบุรี • กระบุรี • ตะกั่วป่า • พระตะบอง • พิบูลสงคราม • นครจำปาศักดิ์ • ลานช้าง • ประจันตคีรีเขต • ศรีโสภณ • หล่มสัก • สวรรคโลก • พระประแดง • หลังสวน • สายบุรี • กบินทร์บุรี • ขุขันธ์ • ไชยา • ไทยใหญ่ (เชียงตุง) • มาลัย (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส) |
เคยได้รับการพิจารณา | ไกลกังวล • สุวรรณภูมิมหานคร • แม่สอด • ฝาง |
รออนุมัติ | ชุมแพ • ทุ่งสง • บึงกาฬ • พระนารายณ์ • นาทวี • สว่างแดนดิน • ไชยปราการ • เทิง |
จังหวัดระนอง เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดระนอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |