จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีเขตตอนเหนือติดกับจังหวัดลพบุรี และอ่างทอง ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดสระบุรี ด้านใต้จรดจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ส่วนทางตะวันตกจรดจังหวัดสุพรรณบุรี เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ในปัจจุบันกลายเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมใกล้กรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง แต่มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาแทน ซึ่งมีชื่อเหมือนกับจังหวัด ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ดูเพิ่มเติมที่ กรุงศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่า กลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"
เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
[แก้] ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อ | ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. เจ้าพระยาชัยวิชิตสิทธิสงคราม | สมัยรัชกาลที่ 1 |
2. พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชสุรชาติเสนาบดี | สมัยรัชกาลที่ 3 |
3. พระยามหาสิริธรรมพโลปถัมภ์เทพทราวดีศรีรัตนธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ | สมัยรัชกาลที่ 4 |
4. พระยาสีหราชฤทธิไกรยุตินัเนติธรรมธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ | สมัยรัชกาลที่ 4 |
5. พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ | สมัยรัชกาลที่ 4 |
6. พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาปเทศาธิบดี (สิงห์โต) | สมัยรัชกาลที่ 5 |
7. พระยาเพชรชฎา (นาค ณ ป้องเพชร) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ |
สมัยรัชกาลที่ 5 |
8. หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (พร เดชะคุปต์) ภายหลังเลื่อนเป็น พระอนุรักษ์ภูเบศร์ และพระยาโบราณบุรานุรักษ์ ตามลำดับ |
สมัยรัชกาลที่ 5 |
9. พระยาพิทักษ์เทพธานี (ชุ่ม อรรถจินดา) | สมัยรัชกาลที่ 6 |
10. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร คเนจร | สมัยรัชกาลที่ 6 |
11. พระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี่ บุญนาค) | พ.ศ. 2454–2455 |
12. หลวงพิทักษ์ฤทธิรงค์ (บุญ บุญอารักษ์) | พ.ศ. 2455 |
13. พระพิทักษ์เทพธานี (พร พิมพะสุต) | พ.ศ. 2456–2459 |
14. พระพิทักษ์เทพธานี (ปุ่น อาสนจินดา) | พ.ศ. 2459–2462 |
15. พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุญนาค) | พ.ศ. 2462–2465 |
16. พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) | พ.ศ. 2465 |
17. พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิชูโต) | พ.ศ. 2465–2468 |
- พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) ครั้งที่ 2 | พ.ศ. 2468–2472 |
18. พระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ) | พ.ศ. 2472–2474 |
19. พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิชูโต) | พ.ศ. 2474–2476 |
20. พระณรงค์ฤทธิ์ (ชาย ดิฐานนท์) | พ.ศ. 2476–2479 |
21. พระชาติตระการ (ม.ร.ว. จิตร คเนจร) | พ.ศ. 2479–2482 |
22. หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตรย์) | พ.ศ. 2482–2484 |
23. หลวงประสิทธิบุรีรักษ์ (ประยงค์ สุขะปิยังคุ) | พ.ศ. 2484–2489 |
24. ขุนปฐมประชากร (สมบูรณ์ จันทรประทีป) | พ.ศ. 2489–2490 |
25. พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุญนาค) | พ.ศ. 2490–2495 |
26. ถนอม วิบูลษ์มงคล | พ.ศ. 2495–2495 |
27. ขุนธรรมรัฐูธุราทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร) | พ.ศ. 2495–2496 |
28. เกียรติ ธนกุล | พ.ศ. 2496–2497 |
29. สง่า ศุขรัตน์ | พ.ศ. 2497–2498 |
30. สุทัศน์ สิริสวย | พ.ศ. 2498–2502 |
31. พ.ต.อ. เนื่อง รายะนาค | พ.ศ. 2502–2510 |
32. จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา | พ.ศ. 2510–2514 |
33. วรวิทย์ รังสิโยทัย | พ.ศ. 2514–2516 |
34. ร.ต.ท. ระดม มหาศรานนท์ | พ.ศ. 2516–2517 |
35. วิทยา เกษรเสาวภาค | พ.ศ. 2517–2519 |
36. สมพร ธนสถิตย์ | พ.ศ. 2519–2520 |
37. วิเชียร เวชสวรรค์ | พ.ศ. 2520–2521 |
38. สุชาติ พัววิไล | พ.ศ. 2521–2523 |
39. ฉลอง วงษา | พ.ศ. 2523–2524 |
40. ร.ต. กิติ ประทุมแก้ว | พ.ศ. 2524–2529 |
41. ชัยวัฒน์ หุตะเจริญ | พ.ศ. 2529–2534 |
42. ปรีดี ตันติพงศ์ | พ.ศ. 2534–2537 |
43. บรรจง กันตวิรุฒ | พ.ศ. 2537–2540 |
44. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี | พ.ศ. 2540–2542 |
45. ฐิระวัตร กุลละวณิชย์ | พ.ศ. 2542–2545 |
46. สุรพล กาญจนะจิตรา | พ.ศ. 2545–2546 |
47. สมศักดิ์ แก้วสุทธิ | พ.ศ. 2546–2548 |
48. สมชาย ชุ่มรัตน์ | พ.ศ. 2548–2549 |
49. เชิดพันธ์ ณ สงขลา | พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน |
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอได้แก่
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า ภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ซึ่งนับถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์อันประเสริฐ
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโสน (Sesbania aculeata)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมัน (Cordia dichotoma)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
|
||
---|---|---|
เมืองหลวง | กรุงเทพมหานคร | |
ภาคเหนือ | เชียงราย • เชียงใหม่ • น่าน • พะเยา • แพร่ • แม่ฮ่องสอน • ลำปาง • ลำพูน • อุตรดิตถ์ | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | กาฬสินธุ์ • ขอนแก่น • ชัยภูมิ • นครพนม • นครราชสีมา • บุรีรัมย์ • มหาสารคาม • มุกดาหาร • ยโสธร • ร้อยเอ็ด • เลย • ศรีสะเกษ • สกลนคร • สุรินทร์ • หนองคาย • หนองบัวลำภู • อุดรธานี • อุบลราชธานี • อำนาจเจริญ | |
ภาคกลาง | กำแพงเพชร • ชัยนาท • นครนายก • นครปฐม • นครสวรรค์ • นนทบุรี • ปทุมธานี • พระนครศรีอยุธยา • พิจิตร • พิษณุโลก • เพชรบูรณ์ • ลพบุรี • สมุทรปราการ • สมุทรสงคราม • สมุทรสาคร • สระบุรี • สิงห์บุรี • สุโขทัย • สุพรรณบุรี • อ่างทอง • อุทัยธานี | |
ภาคตะวันออก | จันทบุรี • ฉะเชิงเทรา • ชลบุรี • ตราด • ปราจีนบุรี • ระยอง • สระแก้ว | |
ภาคตะวันตก | กาญจนบุรี • ตาก • ประจวบคีรีขันธ์ • เพชรบุรี • ราชบุรี | |
ภาคใต้ | กระบี่ • ชุมพร • ตรัง • นครศรีธรรมราช • นราธิวาส • ปัตตานี • พังงา • พัทลุง • ภูเก็ต • ยะลา • ระนอง • สงขลา • สตูล • สุราษฎร์ธานี |
|
|
---|---|
ก่อน พ.ศ. 2500 | พระนคร • ธนบุรี • มีนบุรี • ธัญบุรี • กระบุรี • ตะกั่วป่า • พระตะบอง • พิบูลสงคราม • นครจำปาศักดิ์ • ลานช้าง • ประจันตคีรีเขต • ศรีโสภณ • หล่มสัก • สวรรคโลก • พระประแดง • หลังสวน • สายบุรี • กบินทร์บุรี • ขุขันธ์ • ไชยา • ไทยใหญ่ (เชียงตุง) • มาลัย (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส) |
เคยได้รับการพิจารณา | ไกลกังวล • สุวรรณภูมิมหานคร • แม่สอด • ฝาง |
รออนุมัติ | ชุมแพ • ทุ่งสง • บึงกาฬ • พระนารายณ์ • นาทวี • สว่างแดนดิน • ไชยปราการ • เทิง |