คาร์บอนไดออกไซด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์บอนไดออกไซด์ | |
---|---|
ชื่ออื่น | คาร์บอนิก แอซิด ก๊าซ, คาร์บอนิก แอนไฮไดรด์, น้ำแข็งแห้ง (ของแข็ง) |
สูตรเคมี | CO2 |
โมลาร์ แมสส์ | 44.01 g/mol |
สถานะของแข็ง | น้ำแข็งแห้ง |
ลักษณะทั่วไป | ก๊าชไม่มีสี |
เลขทะเบียน CAS | [124-38-9] |
คุณสมบัติ | |
ความหนาแน่น and สถานะ | 1600 kg/m³, ของแข็ง 1.98 kg/m³, ก๊าซ ที่อุณหภูมิ 298 K |
การละลาย ใน น้ำ | 1.45 kg/m³ |
Latent heat of vaporization |
571.08 kJ/kg |
จุดหลอมเหลว | -57 °C (216 K), ถูกกดดัน |
จุดเดือด | -78 °C (195 K), ระเหิด |
ความเป็นกรด (pKa) | 6.35 and 10.33 |
ความหนืด | 0.07 cP at -78 °C |
โครงสร้าง | |
Molecular shape | linear |
โครงสร้างผลึก | quartz-like |
โมเมนต์ขั้วคู่ | zero |
วัตถุอันตราย | |
MSDS | External MSDS |
ผลข้างเคียง | ทำให้หายใจไม่ออก, ระคายเคือง |
NFPA 704 | (ของเหลว) |
R/S statement | R: As, Fb S: 9, 23, 36a (liquid) |
RTECS number | FF6400000 |
ข้อมูลเพิ่มเติม | |
Structure & properties | n, εr, etc. |
Spectral data | UV, IR, NMR, MS |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง | |
ออกไซด์ที่เกี่ยวข้อง | เมทานอล ไอร์ออน(III)ออกไซด์ |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง | คาร์บอน มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ |
หากมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ให้ไว้นี้ เป็นข้อมูลของสารในสถานะมาตรฐาน (ที่ 25 °C และ 100 kPa |
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุล. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในสารประกอบเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักเรียกด้วยสูตรเคมี CO2 เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง มักจะเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (dry ice)
เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 3 ในอากาศ รองจากไนโตรเจน และออกซิเจน
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ภูเขาไฟระเบิด การหายใจของสิ่งมีชีวิต หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ ก๊าซนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อใช้คาร์บอนและออกซิเจนในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ พืชจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศ ทำให้สัตว์ได้ใช้ออกซิเจนนี้ในการหายใจ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ของพืชนี้เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซหนึ่งที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก
[แก้] คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน
คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O=C=O) ไม่ติดไฟและไม่ทำปฏิกิริยา
คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวอุณหภูมิ -78 องศาเซลเซียส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน หากต้องการทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลว ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 5.1 บรรยากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์สามารถละลายน้ำได้ 1 เปอร์เซนต์ของสารละลายนั้นจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็นไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตในภายหลัง
การทดสอบก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- 1. นำธูปที่ติดไฟอยู่เข้าไปในหลอดทดลองที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ไฟจะดับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ช่วยในการติดไฟของสาร จึงนำมาใช้เป็นก๊าซดับเพลิงได้
- 2. ผ่านก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) น้ำปูนใสจะขุ่น เนื่องจากเกิดแคลเซียมคาร์บอเนตขึ้น
[แก้] การใช้
คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของแข็งและของเหลวถูกใช้ในการแช่แข็ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารขณะขนส่งไอศกรีมหรืออาหารแช่แข็ง นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์แข็งที่เรียกกันว่าน้ำแข็งแห้ง ยังสามารถใช้เป็นห่อบรรจุเพื่อขนส่งได้เมื่ออุปกรณ์ในการแช่แข็งไม่พร้อมมากนัก
คาร์บอนไดออกไซด์ยังใช้สำหรับการผลิตน้ำอัดลมหรือโซดา และยังมีผสมในเบียร์ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เบียร์บางยี่ห้อได้มีการใส่คาร์บอนไดออกไซด์โดยเจตนาด้วย
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ คาร์บอนไดออกไซด์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |