คอรันดัม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอรันดัม | |
---|---|
การจำแนก | |
ประเภท | สารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์ |
สูตรเคมี | Al2O3 |
คุณสมบัติ | |
สี | ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร |
รูปแบบผลึก | รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม |
ระบบแบบผลึก | ระบบเฮกซะโกนอล |
ค่าความแข็ง | 9 |
ความถ่วงจำเพาะ | 3.95-4.1 |
คอรันดัม (Corundum)( Al2O3) เป็นแร่รัตนชาติ ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วย ธาตุอะลูมิเนียม และออกซิเจน
เนื้อหา |
[แก้] คุณสมบัติ
- มีค่าความแข็งที่ 9 ตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)
- มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.95-4.1
- มีลักษณะเป็นระบบเฮกซะโกนอล รูปผลึกหกเหลี่ยม
- สี
- มีหลายสีเช่น ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
- ถ้าเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินเรียกว่าไพลิน
- ถ้าเป็นสีแดงจะเรียกว่าทับทิม
- ถ้าเป็นสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัม
- ถ้าเป็นสีเขียวเรียกว่าเขียวส่อง
- ถ้าเป็นสีชมพูอมส้มเรียกว่าพัดพระราชา
- ถ้าสีไม่สดจะเป็นขี้พลอย หรือเรียกว่ากากกะรุน
[แก้] ประวัติ
มาจากภาษาสันสกฤต (Kuruvinda) หมายถึง Ruby หรือทับทิม
[แก้] การกำเนิด
พบในหินหลายชนิด ในประเทศไทยพบในหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลท์ ต่างประเทศพบในหินแปร หินเปกมาไทต์ หินอัคนีชนิดหินไซอีไนต์ และหินเนฟีลีนไซอีไนต์
[แก้] แหล่งที่พบ
- ในประเทศไทย
- ในต่างประเทศ
- สามารถพบในประเทศ พม่า กัมพูชา ศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา