คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 -)
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
เนื้อหา |
[แก้] รายชื่อคณะรัฐมนตรี
- นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายสหัส บัณฑิตกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายจักรภพ เพ็ญแข เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง
- นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- นายสุธา ชันแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายธีระชัย แสนแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอนุรักษ์ จุรีมาศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นายมั่น พัธโนทัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสุพล ฟองงาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- นายบุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายพงศกร อรรณนพพร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายไชยา สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
[แก้] การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
- วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายสุธา ชันแสง ขอลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล พ้นจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [1]
- วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - นายจักรภพ เพ็ญแข ขอลาออกจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
[แก้] ข้อวิพากษ์วิจารณ์
นายสมัครยอมรับว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ "ขี้เหร่นิดหน่อย" เพราะพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยให้โอกาส แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะเชิญมาร่วมรัฐบาลแล้ว[2] เช่นกรณีที่ไม่อาจดันน้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้ เหตุเพราะพรรคเพื่อแผ่นดินไม่ยอม[3]
ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทยและวิพากษ์รัฐบาล โดยกล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่ตัวจริง เป็นรัฐบาลนอมินีที่ควรเรียกว่ารัฐบาลลูกกรอก ที่เกิดจากการปลุกเสกของผู้มีอำนาจ ทำให้รัฐบาลนี้ซื่อสัตย์และจงรักภักดี โดยมี "รักเลี๊ยบและยมมิ่ง"เป็นผู้นำ (รักเลี๊ยบ หมายถึง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ส่วนยมมิ่ง หมายถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์) ขณะเดียวกันก็มีหัวหน้าคณะลูกกรอกอยู่ 2 ตนเป็นกุมารทองคะนองฤทธิ์ ตนแรกเป็นกุมารทองคะนองปาก (หมายถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี) คอยทะเลาะสร้างศัตรูไปทั่วทุกกล่ม ส่วนกุมารทองตนที่สองคือ กุมารทองคะนองอำนาจ (หมายถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย) ชอบอยู่กระทรวงที่มีอำนาจ เชื่อมั่นว่าอำนาจจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใคร[4]
ข้อวิพากษ์ดังกล่าวทำให้ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการวิจารณ์รัฐบาลของนายธีรยุทธว่ามีคุณค่าทางวิชาการน้อยมาก เป็นแค่การโชว์ความสามารถในการคิดถ้อยคำเท่านั้น และนายธีรยุทธ มักจะมองการเมืองในแง่ร้ายเสมอ[4]
[แก้] การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล
ดูบทความหลักที่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย |
สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กล่าวหาว่าทางรัฐบาลขาดคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารชาติบ้านเมือง เป็นรัฐบาลตัวแทนของระบอบทักษิณ ที่เน้นบริหารชาติบ้านเมืองเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยการชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมครั้งสุดท้าย พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนมาเข้าร่วมให้มากที่สุด [5]
25 พฤษภาคม 15.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นเคลื่อนย้ายไปที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนราชดำเนินนอก เมื่อเวลา 21.20 น. ขณะที่พันธมิตรฯกำลังมุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาลนั้น [6] ทางตำรวจได้พยายามสกัดกั้นไม่ให้เคลื่อนผ่านไปได้ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรเองก็มีวิธีการรับมือกับตำรวจ [7] ขณะที่เดินขบวนไปนั้น ได้มีฝ่ายตรงข้าม ตั้งเวทีย่อยบนรถ 6 ล้อ ด่าทอพันธมิตรฯ และขว้างปาสิ่งของไปมาเป็นระยะๆ [8] ส่งให้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย [9] จนกระทั่ง ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรของเอเอสทีวี ถูกกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตก จนต้องหามส่งไปยังโรงพยาบาลกรุงเทพ[10]
26 พฤษภาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าชื่อร่วมถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงชื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา [11]
30 พฤษภาคม เป็นวันชุมนุมใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศที่จะยกระดับการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่อยู่ 12 ประการ[12] [13] หลังจากนั้น สมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศัยแล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมทุกคนปักหลักชุมนุมต่อไป [14]
1 มิถุนายน 15.50 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาย้ำจุดยืนบนเวทีพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป ซึ่ง พล.ต.จำลองกล่าวว่า
"เราอยู่ตรงนี้ดีแล้ว เราจะกินนอนที่นี่ ภูมิประเทศแถวนี้ผมรู้ดีกว่าตำรวจ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเดินไปเดินมาบริเวณนี้ตั้ง 5 ปี ส่วนที่ทำเนียบก็เคยทำงานการเมืองมาหลายสมัย จึงรู้ทำเลดีกว่าตำรวจแน่" [15]
[แก้] อ้างอิง
- ^ ผู้จัดการอนนไลน์, “ในหลวง”ทรงแนะรมต.ใหม่ ทำให้ได้อย่างคำปฏิญาณ, 19 มิถุนายน 2551
- ^ MCOT New,สมัคร ยอมรับ ครม.ชุดใหม่ขี้เหร่นิดหน่อย, 2 กุมภาพันธ์ 2551
- ^ กรุงเทพธุรกิจ, สมัครยอมรับโฉมหน้าครม.ขี้เหร่, 3 กุมภาพันธ์ 2551
- ^ 4.0 4.1 แนวหน้า, ธีรยุทธสับเละรบ.ลูกกรอก1 ชั่วครองเมือง ชี้แก้รธน.เพื่อตัวเองพังแน่ , 2 พฤษภาคม 2551
- ^ ผู้จัดการออนไลน์,ยามเฝ้าแผ่นดิน : “สนธิ” ลั่น “25 พ.ค.” สงครามครั้งสุดท้าย! 24 พฤษภาคม 2551
- ^ https://news.myfirstinfo.com/viewnews.asp?newsID=1432115
- ^ ผู้จัดการออนไลน์, คู่มือรับมือกับการ “สลายการชุมนุม” ของตำรวจ 28 พฤษภาคม 2551
- ^ แก๊งป่วนปฏิบัติการยั่วยุ เคลื่อนจ่อพันธมิตรฯ ด่าทอ-ปาขวดน้ำใส่
- ^ ผู้จัดการออนไลน์หน้าพิเศษ
- ^ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000061484&Keyword=%cb%d1%c7%e1%b5%a1
- ^ ตร.แห่คุมสภาเข้ม! รับ “พันธมิตรฯ” ยื่นหนังสือไล่ถอด ส.ส.-ส.ว.
- ^ [1]
- ^ มติชน,[2] 31 พฤษภาคม 2551
- ^ ผู้จัดการออนไลน์ “สมศักดิ์” รัวกลองรบ! ขับไล่ “หมัก-รบ.นอมินี” ไร้ความชอบธรรม
- ^ ผู้จัดการออนไลน์,“จำลอง” ย้ำจุดยืนชุมนุมจนกว่าชนะ!! ยันไม่เคลื่อนย้ายไปทำเนียบ1 มิถุยายน 2551
|
|
---|---|
พ.ศ. 2475 - 2500 | |
พ.ศ. 2500 - 2523 | |
พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน |