กาพย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉันทลักษณ์ไทย |
---|
กาพย์ |
กลอน |
โคลง |
ฉันท์ |
ร่าย |
ร้อยกรองไทย รูปแบบใหม่ |
กลวิธีประพันธ์ |
กลบท |
กลอักษร |
กาพย์ หรือ คำกาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีลักษณะวรรคที่ค่อนข้างเคร่งครัด คล้ายกับฉันท์ แต่ไม่บังคับครุ ลหุ วรรคหนึ่งมีคำค่อนข้างน้อย (4-6 คำ) นิยมใช้แต่งร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือแต่งร่วมกับฉันท์ก็ได้
กาพย์เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา มีทั้งที่แต่งเป็นหนังสืออ่านเล่น แต่งเป็นหนังสือสวด หรือเป็นนิทาน กระทั่งเป็นตำราสอนก็มี
กาพย์มีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน โปรดดูรายละเอียดของแต่ละชนิด ตามหัวข้อต่อไปนี้
- กาพย์ฉบัง ๑๖
- กาพย์ฉบังนาคบริพันธ์ ๑๖
- กาพย์ยานี ๑๑
- กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
- กาพย์สุรางคนางค์พิเศษ (กากคติ)
- กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒
- กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ (กาพย์ขับไม้)