โคลง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉันทลักษณ์ไทย |
---|
กาพย์ |
กลอน |
โคลง |
ฉันท์ |
ร่าย |
ร้อยกรองไทย รูปแบบใหม่ |
กลวิธีประพันธ์ |
กลบท |
กลอักษร |
โคลงเป็นร้อยกรองรูปแบบหนึ่งซึ่งมีจำนวนคำในวรรค สัมผัส และบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์
เนื้อหา |
[แก้] ความหมายและลักษณะ
โคลงเป็นร้อยกรองรูปแบบหนึ่งซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอก โท และสัมผัส แต่ไม่มีบังคับครุและลหุ[1]
[แก้] กำเนิดและวิวัฒนาการ
...[โคลงนั้น] จะคิดแต่งเมื่อครั้งไรไม่ปรากฏ มีเค้าเงื่อนแต่ว่าโคลงนั้นดูเหมือนจะเป็นของพวกไทยข้างฝ่ายเหนือคิดขึ้น มีกำหนดอักษรนับเป็นบาทสองบาท สามบาท สี่บาท เป็นบทเรียกว่าโคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ โคลงเก่า ๆ มีที่รับสัมผัสและที่กำหนดใช้อักษรสูงต่ำน้อยแห่ง แต่มามีบังคับมากขึ้นภายหลัง เห็นจะเป็นพวกไทยข้างฝ่ายใต้ได้รับอย่างมาแต่งประดิษฐ์เติมขึ้น... | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[2] |
จากพระราชาธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าชาวไทยล้านนาเป็นผู้ประดิษฐ์โคลงขึ้น และชาวไทยทางใต้คือชาวกรุงศรีอยุธยารับไปดัดแปลงจนพิสดารขึ้น
โคลงของชาวล้านนานั้นเรียก “ครรโลง” “คะโลง” หรือ “กะโลง” [3] มีสามประเภทคือ 1) ครรโลงสี่ห้อง 2) ครรโลงสามห้อง และ 3) ครรโลงสองห้อง กับทั้งยังมีกลวิธีแต่งที่ปลีกย่อยมากมาย เช่น โคลงบทหนึ่งว่า “กรนารายณ์ หมายกงรถ บทสังขยา สราสังวาล...” [4]
หลักฐานที่แสดงว่าชาวล้านนาสนใจและนิยมแต่งโคลงมาแต่โบราณแล้วคือ จินดามณีซึ่งกล่าวถึงโคลงลาวประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ 1) พระยาลืมงายโคลงลาว 2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 3) พวนสามชั้นโคลงลาว 4) ไหมยุ่งพันน้ำโคลงลาว และ 5) อินทร์หลงห้องโคลงลาว[5]
คำว่า “ลาว” ข้างต้น หมายถึง ชาวล้านนา ชาวอยุธยาแต่ก่อนเรียกรวมทั้งชาวล้านนาและชาวล้านช้างว่าลาว[6]
วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรงที่ปรากฏโคลงคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็นวรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย[7] ในสมัยต่อมาโคลงก็ได้ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยนานาเรื่องตราบปัจจุบัน อนึ่ง มีข้อสังเกตว่าชาวไทยนิยมโคลงอย่างยิ่ง เนื่องจากโคลงปรากฏในวรรณกรรมไทยส่วนใหญ่
[แก้] ประเภท
โคลงแบ่งเป็นสามประเภทใหญ่และแต่ละประเภทใหญ่ยังแบ่งย่อยลงไปอีกดังต่อไปนี้
1. โคลงโบราณ
|
2. โคลงดั้น
|
3. โคลงสุภาพ
|
หมายเหตุ:- โคลงห้านั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) [8] สิทธา พินิจภูวดล[9] และประทีป วาทิกทินกร[10] จัดให้เป็นโคลงโบราณ แต่กำชัย ทองหล่อ[11] จัดให้เป็นโคลงสุภาพ
[แก้] ฉันทลักษณ์
[แก้] 1. โคลงโบราณ
โคลงโบราณมีเก้าประเภท แปดประเภทแรกดัดแปลงมาจากกาพย์สารวิลาสินี[12] โคลงโบราณไม่บังคับเอกโทเว้นแต่โคลงห้าชนิดเดียว (ในกรณีที่จัดให้โคลงห้าเป็นโคลงโบราณ)
โคลงแปดประเภทที่ดัดแปลงมาจากกาพย์สารวิลาสินีดังกล่าวยังอาจแบ่งได้อีกเป็นสองกลุ่ม ดังต่อไปนี้[13]
กลุ่มที่หนึ่งเป็นโคลงที่มียี่สิบแปดคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ รวมเป็นยี่สิบแปดคำ) ได้แก่ 1) โคลงวิชชุมาลี 2) โคลงจิตรลดา 3) โคลงสินธุมาลี และ 4) โคลงนันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสองคำ
กลุ่มที่สองเป็นโคลงที่มีสามสิบคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายของบทมีสี่คำ รวมเป็นสามสิบคำ) ได้แก่ 1) โคลงมหาวิชชุมาลี 2) โคลงมหาจิตรลดา 3) โคลงมหาสินธุมาลี และ 4) โคลงมหานันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสี่คำ และมีคำ “มหา” นำหน้าชื่อ
[แก้] 1.1 โคลงวิชชุมาลี และ 1.2 โคลงมหาวิชชุมาลี
ตัวอย่างโคลงวิชชุมาลี
|
ตัวอย่างโคลงมหาวิชชุมาลี
|
[แก้] 1.3 โคลงจิตรลดา และ 1.4 โคลงมหาจิตรลดา
ตัวอย่างโคลงจิตรลดา
|
ตัวอย่างโคลงมหาจิตรลดา
|
[แก้] 1.5 โคลงสินธุมาลี และ 1.6 โคลงมหาสินธุมาลี
ตัวอย่างโคลงสินธุมาลี
|
ตัวอย่างโคลงมหาสินธุมาลี
|
[แก้] 1.7 โคลงนันททายี และ 1.8 โคลงมหานันททายี
ตัวอย่างโคลงนันททายี
|
ตัวอย่างโคลงมหานันททายี
|
[แก้] 1.9 โคลงห้า
โคลงห้าปรากฏอยู่ในวรรณกรรมลิลิตโองการแช่งน้ำเพียงเรื่องเดียว บ้างก็เรียกโคลงห้าว่า "โคลงมณฑกคติ" หรือ "โคลงกบเต้น" เนื่องจากลักษณะการสัมผัสกระโดดไปมาข้ามวรรค
จำนวนคำของแต่ละบทมีดังนี้ บทหนึ่งมีสี่บาท บาทหนึ่งมีวรรคหลักวรรคหนึ่ง แต่ละวรรคมีห้าคำ และอาจมีคำสร้อยสองคำต่อบาทไหนก็ได้ ทั้งนี้ คำสร้อยนั้นอาจเป็นคำที่มีความหมายก็ได้ (ในร้อยกรองทั่วไป คำสร้อยเป็นคำที่ไม่มีความหมาย หากเป็นคำอุทานหรือคำเสริมให้ความชัดขึ้น เช่น นะพี่ นะพ่อ เออนั่น นั้นไซร้ ฯลฯ)
สัมผัสนั้นกำหนดให้ 1) คำสุดท้ายของบาทที่หนึ่งสัมผัสกับคำที่หนึ่ง คำที่สอง คำที่สาม หรือคำที่สี่ของบาทที่สาม 2) คำสุดท้ายของบาทที่สองสัมผัสกับคำที่หนึ่ง คำที่สอง คำที่สาม หรือคำที่สี่ของบาทที่สี่ 3) บาทที่สามสัมผัสเช่นเดียวกันกับบาทที่ห้า และ 4) บาทที่สี่ก็สัมผัสเช่นเดียวกันกับบาทแรกของบทใหม่
ในกรณีที่จัดให้โคลงห้าเป็นโคลงโบราณ จะเป็นโคลงประเภทเดียวที่มีกำหนดเอกโท
ตัวอย่างโคลงห้า
|
|
[แก้] อ้างอิง
- ^ กำชัย ทองหล่อ. (2519). หลักภาษา. กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์. หน้า 554.
- ^ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2475, 5 มิถุนายน). ตำนานโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. บันทึกสมาคมวรรณคดี. ม.ป.ท.
- ^ มณี พยอมยงค์. (2513). ประวัติและวรรณคดีล้านนา. มปท. หน้า 196.
- ^ นพดล จันทร์เพ็ญ และคนอื่น ๆ. (2520). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ธเนศวรการพิมพ์. หน้า 41.
- ^ กรมศิลปากร. (2512). จินดามณี เล่ม 1-2 กับบันทึกหนังสือจินดามณี และจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา. หน้า 37-40.
- ^ ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp. (1 พฤษภาคม 2551).
- ^ วราภรณ์ บำรุงกุล. (2542). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ ๑๙๙๙. หน้า 50-51.
- ^ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ). (2514). ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
- ^ สิทธิ พินิจภูวดล และคนอื่น ๆ. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
- ^ ประทีป วาทิกทินกร และสิทธา พินิจภูวดล. (2516). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- ^ กำชัย ทองหล่อ. (2519). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์.
- ^ นพดล จันทร์เพ็ญ และคนอื่น ๆ. (2520). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ธเนศวรการพิมพ์. หน้า 53.
- ^ วราภรณ์ บำรุงกุล. (2542). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ ๑๙๙๙. หน้า 52-53.