Kola Superdeep Borehole
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
Kola Superdeep Borehole (KSDB) เป็นผลของโครงการการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียตในอดีต โครงการนี้ได้พยายามเจาะลงไปในเปลือกโลกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การเจาะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1970 ที่ คาบสมุทร Kola โดยใช้เครื่องเจาะ Uralmash-4E และภายหลังได้เปลี่ยนเป็นเครื่องเจาะ Uralmash-15000 การเจาะได้แตกแขนงออกเป็นหลายช่องจากช่องกลาง แขนงที่มีความลึกที่สุดคือ SG-3 ได้เจาะเสร็จสิ้นเมื่อปีค.ศ. 1989 มีความลึก 12,262 เมตร (7.6 ไมล์)[1] และได้กลายเป็นหลุมที่มีความลึกมากที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์
เนื้อหา |
[แก้] การขุดเจาะ
โครงการนี้ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 1962 และดูแลรับผิดชอบโดย Interdepartmental Scientific Council for the Study of the Earth's Interior and Superdeep Drilling (ภาษารัสเซีย:Межведомственный научный совет по проблемам изучения недр Земли и сверхглубокого бурения) สถานที่ขุดเจาะได้ถูกเลือกในปีค.ศ. 1965 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหภาพโซเวียต ห่างจากเมือง Zapolyarny ไปทางตะวันตกเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร (6 ไมล์) หรือประมาณ
ในตอนแรกได้กำหนดความลึกเป้าหมายไว้ที่ 15,000 เมตร (49,210 ฟุต) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1979 ก็ได้ทำลายสถิติโลกที่เป็นของหลุม Bertha Rogers ใน เคาน์ตีวาชิตา รัฐโอคลาโฮมา (9,583 เมตร (31,440 ฟุต))[2] ในปีค.ศ. 1983 ก็ได้เจาะผ่านระดับความลึก 12,000 เมตร (39,370 ฟุต) แล้วการขุดเจาะก็หยุดลงประมาณ 1 ปีเพื่อเฉลิมฉลอง[3] ซึ่งช่วงการหยุดนี้อาจมีส่วนในเหตุการณ์ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1984 หลังจากที่เจาะไปได้ 12,066 เมตร (39,587 ฟุต) ท่อเจาะความยาว 5,000 เมตร (16,400 ฟุต) ก็ได้ขาดออกจึงถูกทิ้งเอาไว้ใต้ดิน แล้วตัดสินใจเริ่มต้นเจาะใหม่จากความลึก 7,000 เมตร (22,970 ฟุต)[3] หลุมได้ไปถึงความลึก 12,262 เมตร (40,230 ฟุต) ในปีค.ศ. 1989 และในปีนั้นได้คาดการณ์ไว้ว่าจะไปถึงความลึก 13,500 เมตร (44,290 ฟุต) ภายในสิ้นปีค.ศ. 1990 และ 15,000 เมตร (49,210 ฟุต) ในปีค.ศ. 1993[4] อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริเวณและความลึกที่เจาะไปถึงมีอุณหภูมิสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ คือ 180°C (356°) แทนที่จะเป็น 100°C (212°F) จึงคิดว่าการเจาะลึกลงไปกว่านี้คงเป็นไปไม่ได้และการขุดเจาะก็ได้หยุดลงในปีค.ศ. 1992[3] จากอุณหภูมิที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามความลึกที่เพิ่มขึ้น การเจาะไปถึงความลึก 15,000 เมตร (49,210 ฟุต) หมายถึงการต้องทำงานที่อุณหภูมิที่อาจจะสูงถึง 300°C (572°F) ซึ่งที่อุณหภูมิสูงระดับนั้น หัวเจาะจะไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป
[แก้] การวิจัย
หลุมที่ Kola ได้เจาะลึกเข้าไปในแผ่นทวีป Baltic ประมาณ 1/3 ของความหนาทั้งหมดที่คาดว่าหนาประมาณ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) ทำให้พบหินที่มีอายุ 2.7 พันล้านปีที่ก้นหลุม โครงการนี้ได้กลายเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาเรื่องธรณีฟิสิกส์อย่างกว้างขวาง รวมถึงการศึกษาโครงสร้างของ Baltic Shield, seismic discontinuities และ thermal regime ในเปลือกโลก, ส่วนประกอบทางฟิสิกส์และเคมีของเปลือกโลกในระดับลึกและการเปลี่ยนแปลงจากเปลือกโลกชั้นบนไปสู่เปลือกโลกชั้นล่าง, lithospheric geophysics และเพื่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการศึกษาด้านธรณีฟิสิกส์ในระดับลึก
สำหรับนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในการค้นพบที่น่าตื่นเต้นจากหลุมนี้คือการพบว่าการเปลี่ยนแปลงของ seismic velocities ไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณที่เปลี่ยนจากหิน แกรนิต เป็นหิน บะซอลต์ ตามที่ Jeffreys ได้ตั้งสมมติฐานไว้ แต่เกิดขึ้นที่บริเวณล่างสุดของชั้น metamorphic rock ที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 5 ถึง 10 กิโลเมตรจากพื้นผิว หินในบริเวณนั้นมีรอยแตกมากมายและชุ่มไปด้วยน้ำ ซึ่งน่าประหลาดใจ เนื่องจากน้ำที่พบนี้ไม่เหมือนน้ำที่พื้นผิวโลกและต้องมาจากแร่ธาตุที่อยู่ลึกลงไปในเปลือกโลกและไม่สามารถขึ้นไปถึงพื้นผิวโลกได้เนื่องจากถูกกั้นโดยชั้นของหินที่ไม่ยอมให้น้ำผ่านไปได้
การค้นพบที่ไม่คาดคิดอีกอย่างหนึ่งคือก๊าซไฮโดรเจนปริมาณมาก และมีโคลนไหลออกมาจากช่องซึ่งถูกอธิบายว่าการเดือดด้วยไฮโดรเจน[5]
[แก้] สถานะปัจจุบัน
ปัจจุบันสถานที่ขุดเจาะนี้ถูกควบคุมโดย State Scientific Enterprise on Superdeep Drilling and Complex Investigations in the Earth's Interior (GNPP Nedra) เรียกว่า Deep Geolaboratory ปัจจุบันหลุมที่ยังมีกิจกรรมและลึกที่สุดคือ SG-5 มีความลึก 8,578 เมตร (28,143 ฟุต) และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 214 มิลลิเมตร (8.425 นิ้ว)
[แก้] โครงการอื่น ๆ
สหรัฐอเมริกาได้เริ่มโครงการที่คล้ายกันในปีค.ศ. 1957 เรียกว่าโครงการ Mohole ซึ่งตั้งใจจะเจาะเปลือกโลกที่ตื้นที่อยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งเม็กซิโก อย่างไรก็ตาม หลังจากเริ่มเจาะไปได้ไม่นาน โครงการนี้ก็ถูกยกเลิกในปีค.ศ. 1966 เนื่องจากขาดงบประมาณ "ความล้มเหลว"ครั้งนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจของความสำเร็จของ Deep Sea Drilling Project, Ocean Drilling Program, และ Integrated Ocean Drilling Program ซึ่งเป็นโครงการในปัจจุบัน
[แก้] อ้างอิง
- ^ Kola Superdeep Borehole (KSDB). ICDP - Information Network. เรียกข้อมูลวันที่ July 14, 2006
- ^ The KTB Borehole—Germany’s Superdeep Telescope into the Earth’s Crust. Oilfield Review. เรียกข้อมูลวันที่ July 14, 2006
- ^ 3.0 3.1 3.2 Legendary Kola Superdeep, Nauka i Zhizn, 2002, no. 5 (รัสเซีย)
- ^ Kola Superdeep is in the Guinness Book of World Records, Zemlya i Vselennaya, 1989, no. 3, p.9 (รัสเซีย)
- ^ G.J. MacDonald (1988). "Major Questions About Deep Continental Structures". A. Bodén and K.G. Eriksson Deep drilling in crystalline bedrock, v. 1: 28-48, Berlin: Springer-Verlag. ISBN 3-540-18995-5