โรงเรียนวิเชียรมาตุ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวิเชียรมาตุ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำจังหวัดตรัง
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนวิเชียรมาตุถือกำเนิดขึ้นจากพระราชประสงค์ อันกอปรด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากสมุดหมายเหตุรายวันเล่มแรกของโรงเรียน ถูกบันทึกไว้เป็นความสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พุทธศักราช 2455 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสจังหวัดตรัง ประทับพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถ ณ ตำหนักผ่อนกาย ทรงปรารภว่า พื้นภูมิทำเลตำบลทับเที่ยงนี้เหมาะสมดี ควรมีสถานศึกษาไว้เพาะปลูกปัญญาแก่กุลบุตรกุลธิดาสืบไป จึงได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นเงิน 4,000 บาท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สร้างโรงเรียนขึ้น และพระราชทานนามให้ว่า โรงเรียนวิเชียรมาตุ ซึ่งหมายความถึง พระราชชนนีของพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีพุทธศักราช 2458 มหาอำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ตขณะนั้น และรองอำมาตย์โท ขุนเพาะนิสัยชอบ (เชื้อ รัชตรัตน์) ธรรมการจังหวัดตรัง ได้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างทั้งหมด 8,155 บาท เสร็จเรียบร้อยในวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2459
ปีพุทธศักราช 2459 นั้นเอง ทางการได้ย้ายศาลากลางจังหวัด จากอำเภอกันตัง มาตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายครู-นักเรียนจากโรงเรียนตรังคภูมิ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเดิม มาเรียนที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนประจำจังหวัดใหม่ ในวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2459 ซึ่งขณะนั้นกำลังก่อสร้างอาคารบางส่วนอยู่ เมืองตรังที่ตั้งใหม่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนสนใจการศึกษาอย่างมาก ทำให้โรงเรียนวิเชียรมาตุ ไม่สามารถรับนักเรียนได้พอกับความต้องการ จึงต้องตัดจำนวนนักเรียนส่วนหนึ่งออก ความทราบถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระองค์จึงพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวน 2,000 บาท สร้างอาคารเรียนหลังที่สองขึ้น พร้อมพระราชทานนาม อาคารหลังนั้นว่า สภาราชินี
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ทางจังหวัดตรังได้รับโรงเรียนวิเชียรมาตุ เข้าในทะเบียนโรงเรียนของจังหวัดตรัง โดยมีรองอำมาตย์ตรี ซุ่นกิ๊ต สินธวานนท์ เป็นครูใหญ่ อำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน) ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองอำมาตย์โท ขุนเพาะนิสัยชอบ ธรรมการจังหวัดเป็นผู้จัดการ
ปีพุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองปักษ์ใต้ได้ผ่านจังหวัดตรัง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กระทำพิธีเปิดโรงเรียนวิเชียรมาตุเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 มีนายพลโท พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาล กราบบังคมทูลถวายรายงาน มีกระแสพระราชดำรัสตอบ ความว่า
- เรามีความยินดีเป็นอันมากที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมโรงเรียนนี้ ซึ่งเสด็จแม่ของเราได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างขึ้น เป็นสถานที่งดงาม ถือว่าเป็นอนุสาวรีย์อย่างหนึ่งสำหรับพระองค์ สำหรับชาติ และเป็นประโยชน์ในการที่จะเพาะกุลบุตรขึ้นไว้ให้ทำหน้าที่ต่อไป ตามสิทธิที่สมุหเทศาภิบาลได้กล่าวมาแล้ว เราเชื่อว่าถ้าได้นำความกราบทูลให้ทรงทราบ คงจะทรงพระปิติเป็นอันมาก ในการที่กิจการได้ทำแล้วสำเร็จ ไปสมดังพระประสงค์ ตัวเราก็มีความยินดี ที่ได้มาเป็นผู้แทนพระองค์ในการเปิดโรงเรียนนี้ และขอให้พรแก่บรรดาผู้ที่แนะนำหรือผู้กำกับการศึกษา ตลอดจนครูบาอาจารย์และนักเรียนที่ได้ศึกษา ณ สถานที่นี้ ขอจงได้มีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล และส่วนผู้ที่มีหน้าที่ประสิทธิประสาท วิทยาการ ก็ขอให้ได้เห็นผลตามความตั้งใจของตนเองโดยเร็วพลันทันใด และขอให้ผู้ที่ได้ศึกษาวิชาในโรงเรียนนี้ไป ให้ได้วิชาโดยเป็นประโยชน์ แก่ตัว และแก่ชาติบ้านเมืองต่อไปชั่วกาลนาน
เมื่อ ปี พ.ศ. 2475 จังหวัดตรังได้เปิด โรงเรียนสตรีประชาบาล เป็นโรงเรียนสำหรับกุลธิดาของจังหวัดตรัง ได้ใช้อาคารสภาราชินี เปิดดำเนินการสอนนักเรียนฝ่ายสตรีจนกระทั่ง ปีพุทธศักราช 2478 ได้ย้ายนักเรียนสตรีจากอาคารสภาราชินี ไปอยู่ที่โรงเรียนสตรีประชาบาล และต่อมาได้ใช้ชื่อ อาคารสภาราชินี เป็นชื่อ โรงเรียนสภาราชินี จนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรม 90 ปีโรงเรียนวิเชียรมาตุ โดยพลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ซึ่งเป็นบุตรของหลวงบริหารสิกขกิจ ( ซุ่นกิ๊ต สินธวานนท์) ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน เป็นประธานในพิธี
[แก้] ตราโรงเรียน
รูปตราเพชร มีความหมายคือ ลูกแม่แก้วทุกคนต้องมีความแข็งแกร่ง ทรหด อดทน ไม่ย่นย่อต่อความลำบาก มีระเบียบวินัย รู้จักบังคับตนเอง ลูกแม่แก้วจะอยู่แห่งหนตำบลใด ต้องส่องแสงเป็นประกายแวววับจับตาคนประดุจเพชร
[แก้] ปรัชญาของโรงเรียน
นักเรียนวิเชียรมาตุ ต้องทรงภูมิความรู้ และสติปัญญา โดยมีคุณธรรมเป็นรากฐาน ในการคิดการพูดและการกระทำ ให้งดงาม ตรงตามความเป็นจริงทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและในที่สุด
[แก้] สีประจำโรงเรียน
น้ำเงิน-ขาว
น้ำเงิน หมายถึง เป็นสีสูงประดับท้องฟ้า ลูกแม่แก้วทุกคนต้องมีความใฝ่ฝันและสร้างสรรค์สิ่งที่สูงส่ง และ ก้าวหน้าในสิ่งที่ถูกที่ควรเสมอ และน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งลูกแม่แก้วทุกคน มีความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์พระประมุขของประเทศ
ขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ลูกแม่แก้วทุกคนต้องถึงความพร้อมด้วยความมีคุณธรรมประจำใจ ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น เชื่อมั่น และถือปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่นับถือ
[แก้] ข้อมูลอาคารเรียนโรงเรียนวิเชียรมาตุ
ุ
อาคารเรียน
แบบ318
แบบ4248
แบบ426
แบบ324ล หลังคาทรงไทย
โรฝึกงาน
โรงฝึกงาน2แบบพิเศษ
โรงฝึกงาน3แบบ102/27
โรงฝึกงาน4แบบ102/27
โรงฝึกงาน5แบบ102/27
โรงฝึกงาน6แบบGEN-A
โรงอาหาร หอประชุม โรงพลศึกษา ห้องสมุด
แบบ คมภ.
แบบ 101
แบบ คมภ.
แบบพิเศษ
แบบพิเศษ
[แก้] ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- รองอำมาตย์ตรี ซุ่นกิ๊ด สินธวานนท์ ก.ค. 2459 ถึง 28 ก.ค. 2460
- นายจรูญ มัธยมบุรุษ 28 ก.ค. 2460 ถึง 14 พ.ค. 2466
- รองอำมาตย์ตรี ชิต มีปัญญา 14 พ.ค. 2466 ถึง 27 ส.ค. 2467
- รองอำมาตย์ตรี โต๊ะ จุลดิลก ก.พ. 2467 ถึง 19 เม.ย. 2473
- นายจัง จริงจิตร 19 เม.ย. 2473 ถึง 25 มิ.ย. 2474
- นายภู่ สิทธิพงษ์ 25 มิ.ย. 2474 ถึง 7 พ.ค. 2475
- นายป่วน เตียวเดชะ 17 พ.ค. 2475 ถึง 22 ก.ย. 2476
- นายเทพ อินทสุวรรณ 23 ก.ย. 2476 ถึง 15 ส.ค. 2481
- นายพงษ์ แสงทอง 15 ส.ค. 2481 ถึง 22 มิ.ย. 2491
- นายชื้น เรืองเวช 28 มิ.ย. 2491 ถึง 30 ก.ค. 2497
- นายผ่อง รักษจิต 6 ส.ค. 2497 ถึง 14 มิ.ย. 2498
- นายจรัล ประโมจนีย์ 7 ก.ค. 2498 ถึง 12 มิ.ย. 2499
- นายทองเติม นิลโมจน์ 12 มิ.ย. 2499 ถึง 31 พ.ย. 2500
- นายเวศ พิทักษ์ 1 มิ.ย. 2500 ถึง 20 พ.ค. 2503
- นายอมร สาครินทร์ 16 มิ.ย. 2503 ถึง 31 มี.ค. 2525
- นายศุภชัย บุญเรืองขาว 2 มิ.ย. 2525 ถึง 18 พ.ค. 2527
- นายเกษียร ภู่กลาง 30 พ.ค. 2527 ถึง 30 ก.ย. 2533
- นายมิตร ศรีชาย ต.ค. 2533 ถึง 30 ก.ย. 2535
- นายสว่าง โฮฬาริกบุตร 1 ต.ค. 2535 ถึง 30 ก.ย. 2538
- นายแข นนทแก้ว 19 มี.ค. 2539 ถึง 30 ก.ย. 2540
- นายกระจ่าง รอดความทุกข์ 12 พ.ย. 2540 ถึง 11 ธ.ค. 2541
- นายสมพงษ์ พิทยาภา 23 ธ.ค. 2541 ถึง 30 ก.ย. 2546
- นายกระจ่าง รอดความทุกข์ ธ.ค. 2546 ถึง30 ก.ย. 2548
- นายสุชาติ จริงจิตร ปัจจุบัน
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา - อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2528 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สุวัฒน์ วรดิลก ศิลปินแห่งชาติ (ชั้นประถม 3 - มัธยม 1)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
ภาคเหนือ | เชียงราย • เชียงใหม่ (ชาย - หญิง) • น่าน (ชาย - หญิง) • พะเยา • แพร่ (ชาย - หญิง) • แม่ฮ่องสอน • ลำปาง (ชาย - หญิง) • ลำพูน • อุตรดิตถ์ (ชาย - หญิง) |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | กาฬสินธุ์ • ขอนแก่น • ชัยภูมิ (ชาย - หญิง) • นครพนม (แห่งที่ 1 - แห่งที่ 2) • นครราชสีมา (ชาย - หญิง) • บุรีรัมย์ • มหาสารคาม • มุกดาหาร • ยโสธร • ร้อยเอ็ด • เลย • ศรีสะเกษ (ชาย - หญิง) • สกลนคร • สุรินทร์ • หนองคาย • หนองบัวลำภู • อุดรธานี • อุบลราชธานี (ชาย - หญิง) • อำนาจเจริญ |
ภาคกลาง | กำแพงเพชร • ชัยนาท • นครนายก • นครปฐม • นครสวรรค์ (ชาย - หญิง) • นนทบุรี (ชาย - หญิง) • ปทุมธานี • พระนครศรีอยุธยา • พิจิตร • พิษณุโลก (ชาย - หญิง) • เพชรบูรณ์ • ลพบุรี (ชาย - หญิง) • สมุทรปราการ • สมุทรสงคราม (ชาย - หญิง) • สมุทรสาคร • สระบุรี • สิงห์บุรี • สุโขทัย • สุพรรณบุรี • อ่างทอง (ชาย - หญิง) • อุทัยธานี |
ภาคตะวันออก | จันทบุรี (ชาย - หญิง) • ฉะเชิงเทรา (ชาย - หญิง) • ชลบุรี (ชาย - หญิง) • ตราด (ชาย - หญิง) • ปราจีนบุรี (ชาย - หญิง) • ระยอง • สระแก้ว |
ภาคตะวันตก | กาญจนบุรี • ตาก • ประจวบคีรีขันธ์ • เพชรบุรี • ราชบุรี |
ภาคใต้ | กระบี่ • ชุมพร • ตรัง • นครศรีธรรมราช (ชาย - หญิง) • นราธิวาส • ปัตตานี • พังงา (ชาย - หญิง • พัทลุง (ชาย - หญิง) • ภูเก็ต (ชาย - หญิง) • ยะลา (ชาย - หญิง) • ระนอง • สงขลา • สตูล • สุราษฎร์ธานี |
โรงเรียนวิเชียรมาตุ เป็นบทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |