โก้วเล้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โก้วเล้ง (ภาษาจีน : กู่หลง/古龙) มีชื่อจริงว่า เอี้ยวฮั้ว แซ่ฮิ้ม เกิด เมื่อ พ.ศ. 2480 เสียชีวิต 21 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลซันจวิน กรุงไทเป ด้วยโรคตับแข็งเพราะการดื่มสุราหนัก จนมีฉายาว่า "ปีศาจสุรา" รวมอายุ 48 ปี มีภรรยา 3 คน มีบุตร 2 คน
เนื้อหา |
[แก้] การศึกษา
ศึกษาชั้นประถมที่ฮ่ฮงกง จนกระทั่งอายุ 14 ปี จึงไปเรียนต่อที่ไต้หวัน และจบคณะอักษรศาสตร์ แผนกภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต้ากัง
[แก้] ชีวิตการงาน
เข้าทำงานแรกเป็นบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดของคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันในกรุงไทเป ทำให้มีโอกาสหาความรู้ด้านวรรณกรรมและนวนิยายตะวันตก
[แก้] ชีวิตส่วนตัว
เป็นคนที่คบหาคนทุกระดับ ติดเพื่อน สุรา นารี ทำให้เขาไม่ค่อยมีทรัพย์สินที่มั่นคง ถึงแม้มีรายได้จากการเขียนหนังสือ ก็ใช้สอยจนหมดสิ้นไปกับเรื่องอบายมุขต่างๆ
[แก้] ผลงานด้านนวนิยายกำลังภายใน
พ.ศ. 2502 โกวเล้งก็เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องแรกคือเรื่อง"ชังเกียงซึ้งเกี่ยม" เป็นแนวบู๊ล้างแค้นธรรมดา ทำให้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และนิยายส่วนใหญ่ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
พ.ศ. 2506 เขียนเรื่อง"พิฆาตทรชน" ได้รับการตอบรับจากคอนิยาย ทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียง และเป็นการเริ่มต้นใช้นามปากกา"โก้วเล้ง"อย่างจริงจัง
พ.ศ. 2509 โก้วเล้งสร้างแนวการเขียนใหม่ เน้นความรู้สึก ความขัดแย้งทางจิตใจและความคิดของตัวละคร แทรกคติเตือนใจ ปรัชญาชีวิต แบบ"คุณธรรมน้ำมิตร" รวมทั้งการเดินเรื่องแบบบทภาพยนตร์ ซึ่งมีเรื่อง ศึกสายเลือด นักสู้ผู้พิชิต ศึกศรสวาท ธวัชล้ำฟ้า ราชายุทธจักร
ช่วงต่อมานับเป็นยุคทองของโก้วเล้ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะ โก้วเล้งเขียนเรื่อง เซียวฮื่อยี้ ได้รับความนิยมจนกลายเป็นนักเขียนมือหนึ่งของไต้หวัน ผลงานโดดเด่นที่สุดของเขาคือเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- โก้วเล้ง - ทำเนียบผู้ประพันธ์ยุทธจักรนิยาย
- งานเขียนของโก้วเล้ง
- ชีวประวัติของโก้วเล้ง
|
|
---|---|
นิยาย | ฤทธิ์มีดสั้น • เซียวฮื้อยี้ • เซียวจับอิดนึ้ง • ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ • เดชขนนกยูง • ตะขอจำพราก |
ยอดฝีมือ | ลี้คิมฮวง • เซียวฮื้อยี้ • เม่งแชฮุ้น |
โก้วเล้ง เป็นบทความเกี่ยวกับ นักเขียน หรือ นักประพันธ์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ โก้วเล้ง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |