แรงเสียดทาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แรงเสียดทาน (friction) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่เชิงสัมพัทธ์ หรือแนวโน้มของการเคลื่อนที่ดังกล่าว ของพื้นผิวสองอย่างที่สัมผัสกัน มักจะเกิดตรงข้ามกับแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่เสมอ
เนื้อหา |
[แก้] ชนิดของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) เป็นแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากวัตถุ 2 ชนิดมาสัมผัสกัน พบว่า แรงเสียดทานที่เกิดจะมีค่าไม่คงที่ จะมีปริมาณเท่ากับแรงที่มากระทำและจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่
- แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดกับผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิดในขณะที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่
ค่าของแรงเสียดทานหาได้จาก f = U (mu) N
สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (mu) = f/N = F/W
[แก้] การลดแรงเสียดทาน
- ใช้ล้อ หรือ ตลับลูกปืน
- เลือกใช้ผิวสัมผัสที่ลื่น หรือขรุขระน้อย
- ใช้น้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันหล่อลื่นจะทำให้เกิดแผ่นฟิล์มบางๆ ระหว่างผิวหน้าสัมผัส จึงช่วยลดแรงเสียดทานได้
[แก้] การเพิ่มแรงเสียดทาน
- เพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส โดยออกแบบล้อรถยนต์ให้มีหน้ากว้างพอเหมาะจะทำให้เกาะถนนได้ดี (ถ้าเพิ่มพื้นทีมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสีย)
- ลดความลื่นของผิวสัมผัส โดยทำให้บริเวณผิวสัมผัสมีความฝืดขึ้น เช่น เพิ่มดอกยางของรถยนต์ สำหรับพื้นรองเท้าควรใช้พื้นยางหรือพื้นไม่เรียบจะเกิดความปลอดภัยสูงขณะใช้เคลื่อนที่
[แก้] ประโยชน์ของแรงเสียดทาน
- ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
- ป้องกันการหกล้มจากรองเท้า เป็นต้น
โทษของแรงเสียดทานเช่น
- ถ้าล้อรถยนต์กับพื้นถนนมีแรงเสียดทานมากรถยนต์จะแล่นช้าต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นเพื่อให้รถยนต์มีพลังงานมากพอ ที่จะเอาชนะแรงเสียดทาน
- การเคลื่อนตู้ขนาดใหญ่ ถ้าใช้วิธีผลักตู้ปรากฏว่าตู้เคลื่อนที่ยากเพราะเกิดแรงเสียดทานจะต้องออกแรงผลักมากขึ้นหรือลดแรงเสียดทานโดยใช้ผ้ารองขาตู้ที่ด้วยความเร็ว
คงที่
แรงเสียดทาน เป็นบทความเกี่ยวกับ ฟิสิกส์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ แรงเสียดทาน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ฟิสิกส์ |