ห้องปฏิบัติการเสมือน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำว่า “ห้องเรียนเสมือน” หมายถึง ห้องเรียนที่สนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยและการบริหารงานที่ไม่จำกัดอยู่กับเวลาและสถานที่ แนวความคิดของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนเกิดจากการรวมแนวความคิดของการสอนทางไกล และแนวความคิดชั้นเรียนเสมือนจริงเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบสารสนเทศ เข้าช่วย (Virtual Classroom. 1998) "ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือน"คือห้องปฏิบัติการทดลองที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็น และมีคุณภาพเช่นเดียวกับห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการทดลองจริงทุกประการ แต่ไม่มีอาคาร สถานที่ และไม่มีการพบหน้ากัน (Face to face contact) (The Virtual Campus. 1998)
ความหมายของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือน
ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ได้แก่ Virtual Lab,Cyber Lab, และ Online Lab เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าชื่อเรียกที่แตกต่างกันนี้ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความแตกต่างหรือแบ่งแยกประเภทของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนแต่อย่างใดได้มีผู้ให้คำจำกัดความของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนในลักษณะต่าง ๆ กัน ทั้งจากนักวิชาการ และจากห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนเอง เช่น ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนคือ ห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ นั่นคือใครจะเรียนเวลาใด และเรียนจากที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น ในห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนนั้นไม่ว่าจะเป็นห้องที่ใช้ในการทำการเรียนการสอน ห้องทดลอง ห้องสมุด และห้องพบปะสนทนา ล้วนเปิดตลอดวันละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน นักศึกษาของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนไม่ต้องเดินทางไปห้องเรียนไม่ต้องแต่งเครื่องแบบและถ้าเป็นผู้หญิงก็ไม่ต้องเสียเวลาเลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ไปห้องเรียน บางคนถึงกับกล่าวว่าจะแต่งตัวอย่างไรหรือไม่แต่งอะไรเลยก็เรียนที่ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนได้เพราะเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจอยู่ในห้องนอนหรือที่ไหนในบ้าน หรือที่ทำงานหลังเวลาเลิกงานก็ได้ (ศรีศักดิ์ จามรมาน และ กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน. 2541 : 1) โรงเรียนเสมือนจริง (Virtual school) คือ การศึกษาแนวใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีลักษณะเป็น Knowledge-based learning organization ที่ใครก็ได้ (Anyone) สามารถเรียนรู้จากแหล่งใดก็ได้ (Anywhere) และเวลาใดก็ได้ (Anytime) (ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน. 2541 : 1) ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนเป็นคำอุปมาอุปไมยสำหรับสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และการวิจัยที่สร้างขึ้นจากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ กับเทคโนโลยีการสอนเข้าด้วยกัน (Van. 1997)
จุดมุ่งหมายของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือน 1) จุดมุ่งหมายทั่วไปของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือน ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนมีจุดมุ่งหมายทั่วไปในการกระจายความรู้โดยใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย และเครือข่ายสารสนเทศ ระหว่างนักเรียน นักศึกษาในห้องปฏิบัติการกับผู้สอน เพื่อเตรียมคนสำหรับโลกอิเล็กทรอนิกส์ในวันข้างหน้าและฝึก “การเชื่อมต่อทางปัญญา” ในโครงร่างของสภาพแวดล้อมเสมือนจริง 2) จุดมุ่งหมายเฉพาะของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนได้แก่ 2.1) เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการ “ข้ามชาติ” 2.2) เพื่อออกแบบห้องเรียนสำหรับวันข้างหน้า ที่ผสมผสานระหว่างการปฏิบัติและทฤษฎีโดย (1) การสนับสนุนการเรียนตลอดชีวิต เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีความก้าวหน้ารวดเร็วมาก ประชาชนจะต้องปรับความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในความล้าหลัง (2) การเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการที่คณาจารย์จัดให้ การค้นคว้าจากฐานข้อมูลโดยใช้การจำลองสถานการณ์ชีวิตจริง จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจในวิชาชีพที่จะปฏิบัติในอนาคต นอกจากนั้นยังขยายการเชื่อมต่อทางปัญญาโดย
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความเชี่ยวชาญระหว่างโลกของวิชาการกับโลกของความเป็นจริงในตลาดแรงงาน
(3) การสอนมัลติมีเดียโดยใช้มัลติมีเดีย หมายถึง การสอนสิ่งที่หลากหลาย โดยการใช้สื่อที่หลากหลายเช่นเดียวกัน หลักการของห้องปฏิบัติการทดลองเสมือน ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนยึดหลักการ 4 ประการ คือ 1) การให้การศึกษาที่ทันเวลาการใช้งาน (Just in time education) ห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนมีความคล่องตัวและเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลและแหล่งวิชาการต่าง ๆ ได้ทั่วโลกจึงเป็นแหล่งความรู้ที่ทันสมัยตลอดเวลา สามารถตอบสนองประชาชนที่ต้องการได้ในทันที 2) การเรียนเป็นการแลกเปลี่ยน (Learning is exchange) ในห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจะไม่มีระบบที่มีผู้รู้ทุกเรื่องคนเดียวแล้วสอนคนอื่นๆ แต่จะเป็นลักษณะที่ทุกคนเสมอกันแลกเปลี่ยนความรู้กัน 3) การเรียนคือการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่การรับเพียงอย่างเดียว หลักการนี้เป็นลักษณะของห้องเรียนเปิดที่ครู อาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจสามารถพบปะแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ 4) การจัดสภาพแวดล้อมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (Environment according to user profile) สภาพแวดล้อมทางการเรียนจะเปลี่ยนรูปไปตามลักษณะของผู้เรียน ตั้งแต่เริ่มล็อกอิน (Log in) เข้าเรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดขอบข่ายความสนใจว่าจะเรียนอะไร และในระหว่างเรียนผู้เรียนจะเป็นผู้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการเรียนเอง โดยเป็นผู้เลือกเนื้อหาที่จะเรียนเลือกปรึกษาคนที่ตนเองต้องการ ซึ่งอาจเป็นผู้สอน บุคลากร หรือเพื่อนนักศึกษาเองขณะที่ลงทะเบียนเรียน ผู้เรียนจะให้ชื่อ ที่อยู่ ในอีเมล์ คุณวุฒิในการทำงาน ขอบข่ายความสนใจประสบการณ์ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นกุญแจในการติดต่อกับผู้ที่มีความสนใจและคุณลักษณะคล้ายกัน