See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ - วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คู่มือในการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
คู่มือพื้นฐาน
หลักการตั้งชื่อบทความ
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
เขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เขียนให้เป็นกลาง
วิธีใช้
การแก้ไขหน้า
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
การอัปโหลดภาพ
การใส่ภาพ
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การใส่ลิงก์
การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
การทับศัพท์
คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
อ่าน/เขียน คำทับศัพท์
ถอดเสียงอังกฤษเป็นไทย
ถอดอักษรไทยเป็นโรมัน
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ศัพท์บัญญัติ
พจนานุกรม
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
โครง
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
บทความเฉพาะทาง
บทความฝรั่งเศส
บทความพฤกษา

หลักการตั้งชื่อหัวข้อ เป็นการรวบรวมแนวทางในการตั้งชื่อบทความที่เหมาะสม

พึงนึกเสมอว่า หลักการตั้งชื่อนี้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเพื่อให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่กฎเหล็ก โดยเมื่อวิกิพีเดียโตได้ระดับหนึ่ง ข้อแนะนำต่างๆ ที่ไม่เป็นที่นิยม อาจจะลดหายไป เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งชื่อ ให้ตั้งตามบทความต่อไปนี้

เนื้อหา

[แก้] หลักการทั่วไป

[แก้] ชื่อหัวข้อควรเป็นคำนาม

ใช้ชื่อบทความเป็นคำนาม สำหรับคำกริยาหรือคำคุณศัพท์อื่นๆ ให้ใส่ "การ" หรือ "ความ" ตามความเหมาะสม

[แก้] วิสามานยนาม

วิสามานยนาม หรือชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อเครื่องหมายการค้า ชื่อภาพยนตร์ ชื่อหนังสือ และชื่อเฉพาะอื่น ๆ ให้คงชื่อและตัวสะกดตามต้นฉบับ หรือตามลิขสิทธิ์ แม้ว่าจะขัดกับนโยบายอื่น

[แก้] ชื่อหัวข้อควรเป็นอักษรไทย

ในการสะกดถ้าชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทย ไม่ตรงกับหลักการทับศัพท์ ให้ถือชื่ออย่างเป็นทางการเป็นหลัก เช่น

สำหรับคำที่ยังไม่มีการบัญญัติสามารถเขียนทับศัพท์ ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ หรือเขียนชื่อในภาษาอังกฤษไว้ พร้อมกับ ติดป้ายไว้บนส่วนหัว ว่า

{{ชื่ออังกฤษ}}
หรือ
{{ชื่ออังกฤษ|เหตุผล}}

เพื่อให้ผู้อื่นช่วยหาคำทับศัพท์ที่เหมาะสม


[แก้] ตัวเลข

ตัวเลขที่ปรากฏในชื่อบทความให้ใช้เลขอารบิก

ยกเว้นเมื่อต้องการคงชื่อไว้ตามต้นฉบับ

[แก้] การใช้เครื่องหมายในชื่อบทความ

พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ วงเล็บ หรือเครื่องหมายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับชื่อบทความ ถ้าไม่จำเป็น

การใช้วงเล็บ ใช้ต่อเมื่อป้องกันการสับสน บาท (สกุลเงิน) กับ บาท (ร้อยกรอง) และในการเขียนให้เว้นวรรคระหว่างคำและวงเล็บ เช่น บาท (สกุลเงิน) ไม่ใช่ บาท(สกุลเงิน)

[แก้] ข้อจำกัดทางเทคนิค

เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถใช้ตัวอักษรเหล่านี้ในชื่อบทความได้

# < > [ ] | { }

โดยให้ใช้ {{ชื่อผิด|_ชื่อบทความที่ถูก_}} แทน

[แก้] ตั้งชื่อให้สั้นกระชับ

พยายามตั้งชื่อให้กระชับและได้ใจความ

[แก้] การเว้นวรรคระหว่างคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ

ถ้าเป็นคำเดียวกันหลายพยางค์ของคำภาษาอังกฤษให้เขียนติดกันไม่เว้นวรรค เช่น เซาท์พาร์ก (South Park) หรือ วินโดวส์วิสตา (Windows Vista)

ยกเว้นอาจจะทำการเว้นวรรคระหว่างชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ และรุ่นผลิตภัณฑ์ เพื่อแยกให้เห็นชื่อเด่นชัด เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, ฮอนด้า แอคคอร์ด, โตโยต้า เซลิก้า

[แก้] บทความที่เป็นการรวบรวมรายชื่อ

ใช้คำว่า "รายชื่อ" สำหรับสิ่งที่มิใช่บุคคล และใช้ "รายนาม" หรือ "รายพระนาม" สำหรับบุคคล ตามด้วยเรื่องที่ต้องการรวบรวม

[แก้] ชื่อบริษัท หรือหน่วยงาน

ให้ใช้ชื่อสามัญของบริษัท โดยไม่ต้องมีคำนำหน้า หรือลงท้ายซึ่งรวมถึง บริษัท/จำกัด/มหาชน

[แก้] ชื่อบุคคล

หลักการทั่วไปคือให้ใช้ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ รวมทั้ง นาย/นาง/นางสาว ยศ ตำแหน่งวิชาการ

[แก้] ชื่อที่มีจุดหลังชื่อ

ชื่อที่มีจุดหลังชื่อ ให้เว้นวรรคหนึ่งครั้ง

[แก้] ชื่อบุคคลจากภาษาอังกฤษที่ใช้ชื่อต้นตามด้วยนามสกุล

  • ในหัวข้อให้เขียนทับศัพท์ โดยเว้นวรรคระหว่างชื่อและนามสกุล ส่วนในบทความให้เขียนชื่อเดิมในวงเล็บ เช่น
  • สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ ให้อ้างอิงการทับศัพท์จากบทความ การเขียนคำทับศัพท์

[แก้] ชื่อบุคคลชาวจีน ที่นามสกุลนำหน้า

ชื่อบุคคลชาวจีน มักจะมี 2-5 คำ (หนึ่งคำหมายถึงอักษรจีนหนึ่งตัว) โดยใช้นามสกุล (แซ่) 1-3 คำ ขึ้นต้นก่อนชื่อตัว สำหรับการตั้งชื่อบทความให้ทำดังนี้

  1. เริ่มต้นด้วยนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อ เช่น โจว เหวินฟะ โดยเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกัน
  2. ไม่แยกคำยกย่องออกจากนามสกุล เช่น ขงจื๊อ (คำว่า จื๊อ แปลว่า อาจารย์ ซึ่งหมายถึง อาจารย์ขง)
  3. ใช้หลักการทับศัพท์ภาษาจีนของราชบัณฑิตยสถานสำหรับภาษาจีนกลาง
  4. ใช้คำอ่านแบบไทยที่ใกล้เคียงที่สุดของภาษาจีนสำเนียงอื่น เช่น ภาษาจีนกวางตุ้ง สำเนียงแต้จิ๋ว หากคำอ่านนั้นเป็นที่นิยมกว่า ไม่นำพินอินที่อ่านเป็นภาษาอังกฤษมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น ziyi พินอินต้องอ่านเป็น จืออี (อาจต่างวรรณยุกต์) แต่ภาษาอังกฤษอ่านเป็น ซิยี่
  5. หากอ่านไม่ออก หรือไม่แน่ใจว่าทับศัพท์อย่างไร ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือพินอินไปก่อน

[แก้] ชื่อบุคคลชาวญี่ปุ่น ที่นามสกุลนำหน้า

ดูเพิ่มได้ที่ วิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น

ชื่อบุคคลญี่ปุ่นในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันนิยมเขียนนามสกุลนำหน้าชื่อซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทย แต่ในประเทศไทยที่ปรากฏตามเอกสารราชการและหนังสือต่างๆ นิยมเขียนชื่อนำหน้านามสกุล และเพื่อป้องกันการสับสนให้เขียนชื่อภาษาญี่ปุ่นและคำอ่านเป็นโรมะจิในวงเล็บต่อท้าย ยกเว้นชื่อตัวละครในการ์ตูนหรือวรรณกรรมให้ใช้ชื่อเดิม เพื่อใช้ในการอ้างอิง และความสละสลวยของบทความเดิมรวมถึงชื่อในทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

  • ชื่อบุคคลจริง ให้เขียน ชื่อ นำหน้านามสกุล และวงเล็บชื่อภาษาญี่ปุ่นพร้อมทั้งคำอ่าน เช่น จุนอิชิโร โคะอิซุมิ (「小泉 純一郎」 Ko'izumi Jun'ichirō?)
  • ชื่อตัวละครเขียนอ้างอิงตามต้นฉบับ โดยตัวละครญี่ปุ่นมักจะเป็นนามสกุลนำหน้าชื่อ เช่น อุจิวะ ซาสึเกะ (「後に抜け忍」 Uchiha Sasuke?) และตัวละครจากประเทศอื่นมักจะเป็นชื่อนำหน้านามสกุล เช่น เนกิ สปริงฟีลด์ (「ネギ・スプリングフィールド」 Negi Supringufīrudo – ทับศัพท์จาก Negi Springfield?)
  • ชื่อในทางประวัติศาสตร์เขียนตามต้นฉบับเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง เช่น อิชิคาวา โกเอมอน (「石川五右衛門」 Ishikawa Gôemon?)

[แก้] ชื่อบุคคลชาวเกาหลี โดยนามสกุลนำหน้า

เริ่มต้นด้วยนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อ เช่น โช ซึงฮึย โดยเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกัน

[แก้] ชื่อบุคคลเวียดนาม โดยนามสกุลนำหน้า

  • สำหรับชื่อสามส่วน (นามสกุล นามสกุลรอง ชื่อ) เริ่มต้นด้วยนามสกุลเขียนนามสกุลนำหน้า และตามด้วยนามสกุลรอง และตามด้วยชื่อ โดยแต่ละส่วนเว้นวรรคจากกัน เช่น เหวียน มินห์ เจียต
  • สำหรับชื่อสองส่วน (นามสกุล ชื่อ) เริ่มต้นด้วยนามสกุล และเว้นวรรคตามด้วยชื่อ

[แก้] ยศหรือตำแหน่ง

แต่ถึงอย่างไรท่านสามารถทำหน้าเปลี่ยนทางที่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้

[แก้] สัตว์

  • ตั้งชื่อบทความโดยใช้ชื่อสามัญ ถ้าไม่มีชื่อสามัญจึงใช้ชื่อวิทยาศาสตร์แทน
  • ก่อนเขียนบทความเรื่องสัตว์ ควรตรวจสอบก่อนว่า เป็น "สปีชีส์" หรือเป็น "สายพันธุ์" แล้วตั้งชื่อบทความตามเงื่อนไขต่อไปนี้

[แก้] พืช

  • ตรวจสอบว่าบทความนั้นกล่าวถึง ชนิดพันธุ์ (species) หรือ สายพันธุ์ (variety) สำหรับชนิดพันธุ์ ให้ใช้หลักการต่อไปนี้
    • ตั้งชื่อบทความพืช จะไม่ใช้คำว่า "ต้น", "ไม้", "ต้นไม้", "ดอก", "ผล" นำหน้า โดยการตั้งชื่อบทความให้พิจารณาตามลำดับดังนี้
      • ใช้ชื่อสามัญภาษาไทย โดยอ้างอิงจากฐาน ชื่อพรรณไม้้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ของสำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
      • หากไม่มีชื่อสามัญในภาษาไทย ให้ใช้ชื่อท้องถิ่นก่อน
      • หากไม่มีชื่อท้องถิ่น ให้ใช้ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
        • หากไม่มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์
      • กรณีชื่อภาษาไทยซ้ำกัน แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ต่างกัน ให้ย้อนกลับไปดูฐานข้อมูล และยึดฐานข้อมูลเป็นหลัก ส่วนชนิดพันธุ์อื่นที่มีชื่อมาพ้องกัน ให้ใช้ชื่อพ้องอื่นตามลำดับพิจารณา
      • กรณีชื่อพ้องอื่นไม่มี ให้วงเล็บต่อท้ายด้วยชื่อภาษาอังกฤษ หรือชื่อวิทยาศาสตร์ ตามลำดับการพิจารณา
    • สำหรับดอกไม้และผลไม้ของพืชนั้น ไม่ต้องสร้างเป็นบทความใหม่ แต่ให้เขียนรวมกันในบทความพืชเป็นหัวข้อย่อย เช่น ชัยพฤกษ์ บัวหลวง จำปา กุหลาบ ฯลฯ
    • ถ้าชื่อของพืชอย่างเดียวมีความหมายอื่น ให้ใส่วงเล็บต่อท้ายชื่อบทความเพื่อแก้ความกำกวม เช่น กรวย (พืช) โดยวงเล็บเป็นคำว่าพืช ไม่ใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียง (นโยบายเก่าเป็นคำว่า พรรณไม้)
    • ใช้คำนำหน้าตามความเหมาะสมเช่น บัวศรีวิชัย แทนที่ ศรีวิชัย (พันธุ์บัว)
  • สำหรับสายพันธุ์บางชนิด ใช้แตกต่างกับสัตว์ คือต้องเอ่ยถึงชื่อชนิดพันธุ์เป็นคำนำหน้าตามความจำเป็น เช่น ท้อไม่มีขน (ถ้าเขียนว่า ไม่มีขน จะไม่รู้ว่าท้อ หรือแมว) ส้มวาเลนเซีย ส้มสายน้ำผึ้ง (ถ้าเขียนว่า วาเลนเซีย จะเป็นชื่อเมือง และ สายน้ำผึ้งจะเป็นชื่อพรรณไม้อีกวงศ์หนึ่ง)
  • พืชสวน/ไร่/นา ส่วนใหญ่สามารถใช้ชื่อสายพันธุ์ได้ลอยๆ เช่น ข้าว มะพร้าว กล้วยไม้ สามารถใช้ สวีลูกผสม 1 แทน มะพร้าวสวีลูกผสม 1 หรือ ขาวดอกมะลิ 105 แทน ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กะเรกะร่อนปากเป็ด แทน กล้วยไม้กะเรกะร่อนปากเป็ด

[แก้] สถานที่

ใช้เฉพาะชื่อสถานที่ ถ้าชื่อนั้น สื่อถึง สถานที่นั้นๆอยู่แล้วเช่น สยามพารากอน ส่วนชื่อที่อาจกำกวมให้มีคำนำหน้าเช่น ถนนสุขุมวิท น้ำตกทีลอซู ดูชื่อที่บัญญัติไว้โดยราชบัณฑิตยสถาน


[แก้] เมือง

ใช้เฉพาะชื่อเมือง ส่วนเมืองหลวงที่มีคำว่า กรุง นำหน้า ทำเป็นหน้าเปลี่ยนทาง ยกเว้น กรุงเทพมหานคร เช่น ลอนดอน และ กรุงลอนดอน

[แก้] ตำบล อำเภอ จังหวัด มณฑล รัฐ มลรัฐ

ให้มีคำว่า ตำบล อำเภอ จังหวัด มณฑล รัฐ มลรัฐ กำกับด้วย เช่น อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลหูหนาน รัฐแทสเมเนีย มลรัฐฮาวาย

[แก้] ประเทศ

[แก้] การทับศัพท์ชื่อ

หลักการทับศัพท์ชื่อ เรียงตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ยึดราชบัณฑิตเป็นหลัก ถ้าได้มีการบัญญัติไว้
  2. ถ้าราชบัณฑิตไม่ได้บัญญัติไว้ ให้ใช้คำที่คุ้นเคย ถ้าคำนั้นไม่ผิดจากคำเดิม
  3. ถ้าไม่มีคำที่คุ้น ให้ถอดเสียงอ่านจากภาษาเดิม โดยอาศัยการเขียนคำทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน
  4. ถ้าไม่มีหลักออกเสียงเดิม ให้ว่าไปตามเสียง โดยอาศัยอักขรวิธีของไทย
  5. ถ้าอ่านภาษาเดิมไม่ออก ให้อ่านจากภาษาอังกฤษ หรือภาษาไหนก็ได้ ที่ใกล้เคียง หรือให้คงอักษรเดิมไว้ก่อน

ซึ่งปัญหาในปัจจุบัน คำจากภาษาอื่นมักจะถูกอ่านตามภาษาอังกฤษทำให้ชื่อที่ถูกต้องเพี้ยนไป เช่น الجماعة الاسلامية อ่านว่า อัลญะมาอะหฺ อัลอิสลามียะหฺ เขียนในภาษาอังกฤษว่า al-jemaah al-Islamiya ย่อเป็น JI (เจไอ) พอไทยอ่านกลายไป เจมาห์ อิสลาเมีย ทำให้ผิดไปจากเดิม หรือ Michelangelo ในภาษาอิตาลีอ่านว่า มีเกลันเจโล แต่มักจะอ่านเพี้ยนเป็น ไมเคิล แองเจโล

[แก้] ชื่อปี

การเขียนปีศักราช ให้ใช้ปีพุทธศักราชเป็นหลัก และใช้ตัวเลขอารบิกโดยเขียนในรูปแบบ — พ.ศ. 2547 — โดยเว้นวรรคระหว่าง พ.ศ. และ ตัวเลข ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี

[แก้] ดูเพิ่ม


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -