สโมสรฟุตบอลราชวิถี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวิถี | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลราชวิถี | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉายา | ทหารเสือราชินี, ชาววัง | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2511 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สนาม | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ความจุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ประธาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้จัดการ | พล.ต.หม่อมเจ้า จุลเจิม ยุคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ลีก | ลีก ดิวิชั่น 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2550 | สาย A อันดับ 5 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สโมสรฟุตบอลราชวิถี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ปัจจุบันเล่นใน ลีก ดิวิชั่น 1
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติสโมสร
สโมสรฟุตบอลราชวิถี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยพี่น้อง สำเริง ไชยยงค์ และ เสนอ ไชยยงค์ ก่อนปี พ.ศ. 2511 สองพี่น้องตระกูลไชยยงค์ซึ่งเคยเป็นผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ เอฟซี มาก่อนและได้ลาออกในปี พ.ศ. 2508 ได้รวบรวมเด็กๆ และเยาวชน ที่มีความสนใจในเกมลูกหนัง นำมาฝึกสอนทักษะสูกหนัง บริเวณสนามอัฒจันทร์ ศาลต้นโพธิ์ สนามกีฬาแห่งชาติ (ศุภชลาศัยฯ)จากจุดเริ่มต้นที่มีเยาวชนเพียงน้อยนิด 10 กว่าคน จนกระทั่งมีจำนวนกว่า 100 ชีวิตในเวลาไม่นาน เมื่อมีเยาวชนและผู้ปกครองนำเยาวชนมาเรียนรู้ศาสตร์ลูกหนังเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเตะที่ได้ฝึกสอนอยู่มีโอกาสได้ลงสนามแข่งขันอย่างเป็นทางการและเป็นการพัฒนาฝีมือในขั้นสูง
ในปี พ.ศ. 2511 สำเริง ไชยยงค์ จึงได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งสโมสรฟุตบอลต่อกรมตำรวจ ในขณะนั้น (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) โดยใช้ชื่อทีมว่า "สโมสรฟุตบอลราชวิถี" และเป็นชื่อทีมที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทีมสโมสรฟุตบอลราชวิถี ถือเป็นสโมสรแรกๆ ของทีมฟุตบอลในเมืองไทยที่มีระบบการเล่นฟุตบอลแบบ "โททัลฟุตบอล" อันสวยงามและเร้าใจ ทีมราชวิถีประสบความสำเร็จกับการสร้างนักเตะระดับเยาวชนเป็นอย่างมาก โดยสามารถคว้าแชมป์ลูกหนังระดับเยาวชนชิงชนะเลิสแห่งประเทศไทย ถึง 6 ปีซ้อน สำหรับทีมในระดับชุดใหญ่ก็มีผลงานไม่น้อยหน้ากว่าทีมเยาวชน โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมณ์ สามารถความแชมป์ฟุตบอลฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (ถ้วย ค.) ได้ในปี พ.ศ. 2515 โดยในปี พ.ศ. 2514 ทีมราชวิถีสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยใหญ่หรือฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) ซึ่งถือว่าเป็นถ้วยฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ ได้เป็นครั้งแรก และทีมราชวิถี ยังสามารถกลับมาความแชมป์ถ้วย ก. ได้ อีก 3 ครั้งในปี ปี พ.ศ. 2516 (คว้าแชมป์ร่วมกับสโมสรฟุตบอลราชประชา) ปี พ.ศ. 2518 และ ปี พ.ศ 2520 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองในปีท้ายๆ ของทีมราชวิถีรวมแล้วทีมราชวิถี คว้าแชมป์ระดับสูงสุดของประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง
นอกจากนี้สโมสรฟุตบอลราชวิถียังเป็นสมาชิกภาคีควีนส์คัพ ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นเป็นรายการฟุตบอลที่มีถ้วยรางวัลใหญ่ที่สุดในโลก โดยถ้วยรางวัลนี้ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยทีมราชวิถี สามารถคว้ามแชมป์มาได้หนึ่งครั้งในปี พ.ศ. 2516
ในปี พ.ศ. 2538 ทีมราชวิถี เริ่มกลับเข้าสู่ความสำเร็จอีกครั้ง เมื่อสามารถชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (ถ้วย ข.) และได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.)ในปี พ.ศ. 2539 แต่เนื่องจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยใหม่ในปี พ.ศ. 2539 โดยจัดการแข่งขันในระบบลีกใช้ชื่อการแข่งขันว่า ไทยลีก โดยให้ทีมที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) ในปี พ.ศ. 2539 เข้าร่วมการแข่งขันไทยลีก และจัดให้ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดก่อนเปิดฤดูกาลของฟุตบอลไทยลีกแทนคล้ายกับฟุตบอลคอมมูนิตี้ ชิลด์ ของประเทศอังกฤษ ปีแรกที่ทีมราชวิถีเข้าแข่งขันในระบบลีก เนื่องจากเป็นทีมน้องใหม่ของการแข่งขันระดับลีกทำให้ทนต่อแรงเสียดทานของทีมอื่นๆไม่ไหว เมื่อลงแข่งขันจึงแพ้มากกว่าชนะเมื่อจบฤดูกาล ทำอันดับได้ที่ 16 จาก 18 สโมสร ทำให้ต้องตกชั้นลงไปเล่นในระดับ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 จวบจนปัจจุบัน
ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลราชวิถี อยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการบริหารทีมภายใต้การนำของประธานสโมสร พล.ต.หม่อมเจ้า จุลเจิม ยุคล ที่ต้องการเห็นสโมสรกลับไปโลดแล่นในระดับไทยลีกอีกครั้ง
[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
ผู้เล่นชุด 2550 ไทยลีกดิวิชัน 1 [1]
|
|
[แก้] อดีตผู้เล่นที่โดดเด่น
- นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์
- อารมณ์ จันทร์กระจ่าง
- ภาณุวัฒน์ ร่วมฤดีกูล
- สิทธิพร ผ่องศรี
- อำนาจ เฉลิมชวลิต
- จุฑา ติงศภัทิย์
- ทรงไทย สหวัชรินทร์
- เอกชัย สนธิขัณธ์
- วีระยุทธ สวัสดี
- ปรีชา กิจบุญ
- แก้ว โตอดิเทพ
- สุรินทร์ เข็มเงิน
- เชิดศักดิ์ ชัยบุตร
- โรจนะ สมุลไพร
- ไพบูลย์ ขันธรักษา
- เทพพิทักษ์ จันทร์สุเทพ
[แก้] ผลงาน
- ควีนส์คัพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2516
- ถ้วย ก - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 2514, 2516, 2518, 2520
- ถ้วย ข - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2538
- ถ้วย ค - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2515
[แก้] ผลงานตามฤดูกาล
- 2539 - ไทยลีก - อันดับ 16 (ตกชั้น)
- 2540 - ไทยลีกดิวิชัน 1
- 2541 -
- 2542 -
- 2543 -
- 2544/45 -
- 2545/46 -
- 2546/47 -
- 2547/48 -
- 2549 -
- 2550 - ไทยลีกดิวิชัน 1 - สาย A อันดับ 5
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลสโมสรฟุตบอลราชวิถี จากเว็บไทยลีกดิวิชัน 1
ลีก ดิวิชั่น 1 (ฤดูกาล 2551) | |
การบินไทย | ขอนแก่น | จันทบุรี | นครสวรรค์ | ปตท | ตำรวจ | ทหารอากาศ | ไทยฮอนด้า | พิษณุโลก | เมืองทอง ยูไนเต็ด | รัตนบัณฑิต-หลักทรัพย์ | ราชนาวีสโมสร | ราชวิถี | ศรีราชา-สันนิบาตฯ | สุพรรณบุรี | สุราษฎร์ธานี |
|
ฤดูกาลก่อนหน้า |