สุภาส จันทรโภส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุภาส จันทรโภส (Subhash Chandra Bose) 23 มกราคม ค.ศ. 1897-18 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ดูหมายเหตุ รู้จักกันในชื่อเนตาจี ผู้นำของกลุ่มอิสระชาวอินเดีย ที่ต้องการการปลดปล่อยประเทศอินเดียให้เป็นอิสระ จากการปกครองของอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้] ชีวิตในฐานะผู้นำ
สุภาส จันทรโภส ได้เข้ากับฝ่ายอักษะ และการที่ท่านเคยจับมือกับฮิตเลอร์ ทำให้มีข้อกล่าวหาว่าท่านเป็นพวกฟาสซิส นิยมนาซีและคอมมิวนิสต์ ครั้งเมื่อเยอรมันประกาศสงครามกับรัสเซียนั้น ในตอนแรกเยอรมันดูจะเป็นฝ่ายได้เปรียบโดยตลอด จนสามารถบุกไปถึงเมืองเลนินกราดของรัสเซีย แต่แล้วสถานการณ์กลับพลิกผัน รัสเซียกลับเป็นฝ่ายรุกไล่เยอรมันจนถึงเมืองเบอร์ลิน(เมืองหลวง)ได้ในเวลาไม่นาน มีผู้วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ว่าความพ่ายแพ้ของเยอรมันเป็นเพราะนโยบายการรบศึกสองด้าน กล่าวคือรบทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกาที่อยู่ด้านตะวันตกของประเทศและรบในด้านตะวันออกคือรัสเซียทำให้สุดท้ายต้องล่มจมในที่สุด ก่อนที่เยอรมันจะแตกนั้น เพื่อนสนิทของสุภาสได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้โดยสาร ไปในเรือดำน้ำของเยอรมันแล้วไปเปลี่ยนเรือที่กลางมหาสมุทรซึ่งมีเรือดำน้ำของญี่ปุ่นรออยู่ ท่านได้เข้าร่วมกองทัพกับญี่ปุ่นจนเมื่อทางญี่ปุ่นสามารถตีสิงคโปร์จนแตกได้ก็ยกให้เป็นฐานทัพของสุภาส
ในช่วงนี้สุภาสเดินทางวนไปวนมาในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย ท่านได้ย้ายฐานทัพไปที่พม่าเพื่อเตรียมตัวจะตีประเทศอินเดียในความปกครองของอังกฤษให้แตก เมื่อสงครามสิ้นสุด และธงของกองทัพอินเดียอิสระปักอยู่ ณ เมือง เดลลีแล้ว สุภาสไม่ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีหรือตำแหน่งใดๆทางการเมือง
ความพยายามที่จะตีอินเดียจากทางพม่านั้นล้มเหลวแต่กองทัพอินเดียอิสระก็ยังพยายามต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่น ถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิทำให้สงครามโลกครั้งที่สองจบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายอักษะ สุภาสได้ออกจากพม่าเตรียมจะเดินทางเข้ารัสเซียเพื่อขอความช่วยเหลือในการปราบปรามอังกฤษให้หมดไปจากอินเดีย แต่โชคร้ายที่เครื่องบินโดยสารที่ทางญี่ปุ่นจัดหาให้เกิดตกเสียก่อน ทำให้ท่านสุภาสเสียชีวิตลงในที่สุด
[แก้] สุภาส จันทรโภส กับ มหาตมะ คานธี
สุภาส จันทรโภสเป็นบุคคลร่วมสมัยกับมหาตมะ คานธี แต่สุภาสมีความคิดที่ต่างจากมหาตมะอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือต้องด้วยหลักหิงสาหรือการใช้ความรุนแรงเข้าจัดการปัญหาในขณะที่มหาตมะยึดถือหลักอหิงสาหรือการไม่ใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้
สุภาสเคยเป็นประธานพรรคคองเกรสของอินเดียแต่ภายหลังลาออกเพราะโดนกดดันจากพวกนิยมอหิงสาของมหาตมะ สุภาสต้องติดคุกถึง 11 ครั้งเพื่อร่วมขบวนการกู้ชาติด้วยความไม่รุนแรง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น สุภาสจึงหลบหนีออกจากคุกด้วยการอดอาหารจนทหารกลัวว่าท่านจะตายในคุกจึงให้ไปรักษาตัวข้างนอก ได้โอกาสหลบหนีไปเยอรมันเพื่อไปจัดตั้งกองทัพอินเดียอิสระเพื่อจะประกาศสงครามโดยตรงกับอังกฤษ
[แก้] การเสียชีวิต
ได้มีข่าวว่าสุภาสเสียชีวิตเพราะเครื่องบินระเบิดโดยอุบัติเหตุ ขณะบินไปโตเกียวผ่านน่านน้ำไต้หวัน แต่บ้างก็ว่าท่านโดนลอบสังหาร อย่างไรก็ตามไม่มีการค้นพบศพและเชื่อว่ายังคงมีชีวิตอยู่ แต่มีหลักฐานอื่นว่า สุภาสได้เสียชีวิตในไซบีเรีย ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
สุภาส จันทรโภส เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สุภาส จันทรโภส ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |