สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: William I of England หรือ William the Conqueror หรือ William II of Normandy หรือ William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุคแห่งนอร์มังดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุคแห่งนอร์มังดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609)
หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1066 โดยมิได้ระบุรัชทายาท วิลเลียม ดยุคแห่งนอร์มังดีก็อ้างสิทธิในการเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษและยกทัพจากนอร์มังดีมาโจมตีอังกฤษในปีเดียวกัน ทรงได้รับชัยชนะต่อกองทัพแองโกล-แซ็กซอนที่นำโดยพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน ผู้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพ สงครามครั้งนี้รู้จักกันในนามว่า “ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ” (Norman Conquest)[1]
รัชสมัยของพระองค์เป็นการนำวัฒนธรรมของนอร์มังดีเข้ามาเผยแพร่ในอังกฤษซึ่งทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อวัฒนธรรมอังกฤษในสมัยกลางเป็นอันมาก นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้วก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย การสร้างเสริมป้อมปราการเพื่อป้องกันการรุกรานทั่วอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงทางภาษา และท้ายที่สุดการนำระบบศักดินาเข้ามาใช้ในอังกฤษ
เนื้อหา |
[แก้] ชีวิตเบื้องต้น
พระเจ้าวิลเลียมเกิดที่ฟาเลส์ (Falaise) บริเวณนอร์มังดีเป็นพระโอรสองค์เดียวของ โรเบิร์ตที่ 2 ดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ที่ตั้งให้วิลเลียมเป็นทายาท พระมารดาของวิลเลียมชื่อเฮอร์เลวา (Herleva) ผู้ที่ต่อมามีลูกอีกสองคนจากสามีอึกคนหนึ่ง เฮอร์เลวาอาจจะเป็นลูกสาวของช่างย้อมหนัง เพราะเมื่อวิลเลียมโตขึ้นศัตรูก็มักจะกล่าวว่าวิลเลียมมีกลิ่นเหม็นเหมือนร้านย้อมหนัง และชาวเมืองอาลองซอง (Alençon) จะแขวนหนังไว้บนกำแพงเมืองเพื่อเป็นการเยาะเย้ยพระเจ้าวิลเลียม
ปีที่ทรงพระราชสมภพอาจจะเป็นปีค.ศ. 1027 หรือ 1028 แต่อาจจะเป็นฤดูใบไม้ร่วงของปีหลัง[2] พระเจ้าวิลเลียมทรงเป็นหลานของพระราชืนีเอ็มมาแห่งนอร์มังดีผู้เป็นชายาของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช[3]
[แก้] ดยุคแห่งนอร์มังดี
ตามความประสงค์ของพระราชบิดาวิลเลียมก็ได้รับตำแหน่งดยุคแห่งนอร์มังดีสืบต่อมาเมื่ออายุได้ 8 ปีในปี ค.ศ. 1035 และรู้จักกันในนามว่า “ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดี” (ภาษาฝรั่งเศส: Guillaume, duc de Normandie; ภาษาละติน: Guglielmus Dux Normanniae) แผนการโค่นอำนาจโดยขุนนางนอร์มันทำให้วิลเลียมเสียผู้พิทักษ์ไปสามคนแต่ไม่รวมถึงแอแลนแห่งบริตานีผู้ซึ่งต่อมาเป็นผู้พิทักษ์ของวิลเลียม แต่พระเจ้าอองรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงสนับสนุนวิลเลียมและทรงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางเมื่อวิลเลียมอายุได้ 15 ปี เมื่ออายุได้ 19 ปีวิลเลียมก็มีความสามารถพอที่จะสู้รบกับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้าอองรี วิลเลียมก็สามารถยึดดินแดนนอร์มังดีโดยได้รับชัยชนะต่อขุนนางนอร์มันที่แคนในศึกวาลเลส์ดูนส์ (Battle of Val-ès-Dunes) ในปี ค.ศ. 1047 โดยได้รับ “สัญญาสงบศึกนอร์มังดี” (Truce of God (Normandy)) ที่ไดัรับการสนับสนุนโดยสถาบันคาทอลิก
ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดีแต่งงานกับมาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส ในปี ค.ศ. 1053 ที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอูเมื่อพระชนมายุได้ 24 พรรษาและมาทิลดา 22 พรรษา ซึ่งเป็นการแต่งงานที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากพระสันตะปาปาลีโอที่ 9 กล่าวกันว่าดยุควิลเลียมเป็นสามีที่รักและซึ่อตรงต่อมาทิลดา ดยุควิลเลียมและมาทิลดามีบุตรธิดาด้วยกันสิบคน ชายสี่ หญิงหก เพื่อเป็นการไถ่บาปจากการแต่งงานกับญาติ (consanguine marriage) เพราะดยุควิลเลียมเป็นญาติห่างๆ กับมาทิลดา ดยุควิลเลียมก็ทรงสร้างวัดเซนต์สตีเฟน (Abbaye-aux-Hommes) และมาทิลดาเซนต์ทรินิตี (Abbaye aux Dames)
พระเจ้าอองรีที่ 1 ทรงรู้สึกถึงอันตรายจากอำนาจของดยุควิลเลียมจากการแต่งงานกับมาทิลดา จึงทรงพยายามรุกรานนอร์มังดีสองครั้งในปี ค.ศ. 1054 และ ในปี ค.ศ. 1057 แต่ก็ไม่สำเร็จทั้งสองครั้ง ฝ่ายทางดยุควิลเลียมก็ยิ่งมีอำนาจและมีผู้สนับสนุนมากขึ้นจากภายในนอร์มังดีรวมทั้งจากโอโดแห่งบายูน้องต่างบิดาและจากโรเบิร์ตเคานท์แห่งมอร์แตง (น้องของโอโด) ผู้ที่มามีความสำคัญต่อชีวิตของวิลเลียมต่อมา ต่อมาวิลเลียมได้ประโยชน์จากความอ่อนแอของศัตรูทั้งสองด้าน ทำให้ได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าอองรีที่ 1 และต่อ เจฟฟรีแห่งอองจู ในปี ค.ศ. 1060 ในปี ค.ศ. 1062 ตามลำดับ หลังจากนั้นดยุควิลเลียมก็รุกรานดินแดนเมนซึ่งแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอองจู[4]
[แก้] ปัญหาการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ
เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ผู้ที่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์มีด้วยกันอย่างน้อยสามฝ่าย -- ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดี, ฮาโรลด์ กอดวินสัน เอิร์ลผู้มีอำนาจแห่งเวสเซ็กซ์ และพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์ ดยุควิลเลียมอ้างว่ามีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทางพระปิตุฉาเอ็มมาแห่งนอร์มังดีผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด นอกจากนั้นดยุควิลเลียมยังอ้างว่าขณะที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงลึ้ภัยอยู่ในนอร์มังดีระหว่างการยึดครองของเดนมาร์กในอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงให้สัญญายกราชบัลลังก์ให้เมื่อดยุควิลเลียมเดินทางมาเยึ่ยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1052 และยังอ้างว่าหลังจากที่ได้ช่วยฮาโรลด์ กอดวินสันจากเรือแตกและเคานทแห่งปอยตู ทั้งสองคนก็ได้ร่วมกันต่อสู้โคนันที่ 2 ดยุคแห่งบริตานี จนได้รับชัยชนะ ดยุควิลเลียมจึงแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวิน ฮาโรลด์จึงได้ให้คำปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อดยุควิลเลียมต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1064[5]
ในปี ค.ศ. 1066 ตามที่เข้าใจกันว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและจากมติของสภาวิททัน ฮาโรลด์ กอดวินสันก็ได้รับการสวมมงกุฏเป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน โดยอัครบาทหลวงอัลเดรด หลังจากนั้นพระเจ้าฮาโรลด์ก็ทรงเตรียมกองทัพเตรียมรับผู้ที่จะมารุกรานจากหลายฝ่าย หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อพระอนุชาทอสทิก พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์ หรือ หรือ ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดา ทางด้านเหนือของอังกฤษ พระเจ้าฮาโรลด์ก็ต้องเดินทัพกลับลงมาทางใต้อย่างเร่งด่วนเป็นระยะทางราว 241 ไมล์เพื่อมาเตรียมรับทัพของดยุควิลเลียม สองกองทัพประจันหน้าต่อสู้กันที่ยุทธการเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ซึ่งเชื่อกันว่าพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันทรงถูกยิงทะลุพระเนตรจนสวรรคต
[แก้] อ้างอิง
- ^ Dr. Mike Ibeji (2001-05-01). 1066 (HTML). BBC. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-07-16
- ^ The official web site of the British Monarchy puts his birth at "around 1028", which may reasonably be taken as definitive.
The frequently encountered date of 14 October 1024 is likely spurious. It was promulgated by Thomas Roscoe in his 1846 biography The life of William the Conqueror. The year 1024 is apparently calculated from the fictive deathbed confession of William recounted by Ordericus Vitalis (who was about twelve when the Conqueror died) ; in it William allegedly claimed to be about sixty-three or four years of age at his death in 1087. The birth day and month are suspiciously the same as those of the Battle of Hastings. This date claim, repeated by other Victorian historians (e.g. Jacob Abbott) , has been entered unsourced into the LDS genealogical database, and has found its way thence into countless personal genealogies. Cf. The Conqueror and His Companions by J.R. Planché, Somerset Herald. London: Tinsley Brothers, 1874. - ^ Powell, John, Magill's Guide to Military History, Salem Press, Inc., 2001, p. 226. ISBN 0893560197.
- ^ David Carpenter, The Struggle for Mastery: Britain 1066-1284 (2003).
- ^ Clark, George [1971] (1978). "The Norman Conquest", English History: A Survey. Oxford University Press/Book Club Associates. ISBN 0198223390.
[แก้] ดูเพิ่ม
รัชสมัยก่อนหน้า: ไม่มี |
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ ราชวงศ์นอร์มัน ค.ศ. 1066 — ค.ศ. 1087 |
รัชสมัยถัดไป: สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 |
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |